บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ขยะสังคม

ขยะสังคม (๗)

ขยะสังคม (๗) 

———-

เรื่องนี้เคยโพสต์เป็นเรื่องยาวตอนเดียวจบมาแล้ว 

………………………..

เมื่อ ๒ วันก่อน (๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๒) ผมอ่านโพสต์ของญาติมิตรท่านหนึ่ง ท่านได้รับกระทบเรื่องบางเรื่องตรงกับที่ผมเคยเขียนไว้-คือเรื่องนี้ 

ผมย้อนกลับไปอ่านดู ก็เลยเกิดความคิดเอามาโพสต์ให้อ่านกันอีกที แต่จะขอแบ่งเป็นตอนๆ สั้นๆ เพื่อสะดวกแก่การอ่าน 

——————————————————–

ระบบก็คือ ในพระศาสนาจะมีสมาชิก ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ บรรพชิต ๑ คฤหัสถ์ ๑ 

ถ้าแจกลูกออกไปก็คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อย่างที่เราทราบๆ กัน

สมาชิกประเภทคฤหัสถ์นั้นเป็นพื้นฐานของสังคมอยู่แล้ว การเป็นสมาชิกไม่มีเงื่อนไขมาก เพียงใจศรัทธาเลื่อมใสก็เป็นได้ทันที

หรือส่วนมากเกิดมาก็เป็นได้เลย อย่างที่เราพูดล้อกันว่า “เป็นพุทธตามทะเบียนบ้าน”

ส่วนสมาชิกประเภทบรรพชิตก็มาจากสมาชิกประเภทคฤหัสถ์นั่นเอง แต่การเข้าเป็นสมาชิกมีเงื่อนไขมาก มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่สลับซับซ้อน ทั้งคุณสมบัติก่อนเข้าเป็นสมาชิก การปฏิบัติตนในระหว่างที่เป็นสมาชิกอยู่ ไปจนถึงเงื่อนไขการพ้นจากสมาชิกภาพ

สมาชิกประเภทบรรพชิตท่านนิยมแบ่ง “เกรด” เป็น ๓ ระดับตามระบบอาวุโส คือ –

นวกะ = สมาชิกใหม่ อายุการเป็นสมาชิกไม่เกิน ๕ ปี

มัชฌิมะ = สมาชิกระดับกลาง เป็นสมาชิกเกิน ๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๐ ปี

เถระ = สมาชิกชั้นผู้ใหญ่ เป็นสมาชิกเกิน ๑๐ ปีไปแล้ว

สมาชิกแต่ละระดับมีสิทธิและหน้าที่อะไรอย่างไรบ้าง มีกำหนดไว้โดยละเอียดในหลักพระธรรมวินัย

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๒

๑๙:๓๔

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *