บาลีวันละคำ

สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ (บาลีวันละคำ 3,369)

สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

จงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเถิด

สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ” เขียนแบบบาลีเป็น “สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจนฺตุ” อ่านว่า สับ-พะ-ทุก-ขา ปะ-มุด-จัน-ตุ 

ประกอบด้วยคำบาลี 2 คำ คือ “สพฺพทุกฺขา” “ปมุจฺจนฺตุ” 

(๑) “สพฺพทุกฺขา” 

อ่านว่า สับ-พะ-ทุก-ขา รูปคำเดิมมาจาก สพฺพ + ทุกฺขา 

(ก) “สพฺพ” บาลีอ่านว่า สับ-พะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) สรฺ (ธาตุ = เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น , แปลง รฺ ที่ สรฺ เป็น พฺ (สรฺ > สพฺ)

: สรฺ + = สรฺว > สรฺพ > สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

(2) สพฺพฺ (ธาตุ = เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: สพฺพฺ + = สพฺพ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไป

สพฺพ” (คุณศัพท์) หมายถึง ทั้งหมด, ทั้งปวง, ทั้งสิ้น, ทุกอย่าง (whole, entire; all, every)

สพฺพ” ในภาษาไทยใช้เป็น “สรรพ” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สรรพ, สรรพ– : (คำวิเศษณ์) ทุกสิ่ง, ทั้งปวง, ทั้งหมด, เช่น พร้อมสรรพ งามสรรพ เสร็จสรรพ สรรพสิ่ง สรรพสินค้า. (ส. สรฺว; ป. สพฺพ).”

ในที่นี้สะกดเป็น “สัพพ” ตามรูปคำบาลี

(ข) “ทุกฺขา” รูปคำเดิมเป็น “ทุกฺข” อ่านว่า ทุก-ขะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ทุ (คำอุปสรรค = ชั่ว, ยาก, ลำบาก, ทราม) + ขมฺ (ธาตุ = อดทน) + กฺวิ ปัจจัย, ซ้อน กฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ทุ + กฺ + ขมฺ), ลบ กฺวิ และลบที่สุดธาตุ (ขมฺ > )

: ทุ + กฺ + ขมฺ = ทุกฺขมฺ + กฺวิ = ทุกฺขมกฺวิ > ทุกฺขม > ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ทำได้ยากที่จะอดทน” คือยากที่จะทนได้ = ทนนะทนได้ แต่ยากหน่อย หรือยากมาก

(2) กุจฺฉิต (น่ารังเกียจ) + (แทนศัพท์ว่า “สุข” = ความสุข), ลบ จฺฉิต (กุจฺฉิต > กุ), แปลง กุ เป็น ทุ, ซ้อน กฺ ระหว่าง ทุ กับ (ทุ + กฺ + )

: กุจฺฉิต + กฺ + = กุจฺฉิตกฺข > กุกฺข > ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ความสุขที่น่ารังเกียจ” เป็นการมองโลกในแง่ดี คือความทนได้ยากที่เกิดขึ้นนั้นมองว่า-ก็เป็นความสุขแบบหนึ่ง แต่เป็นความสุขที่น่าเกลียด หรือน่ารังเกียจ

(3) ทฺวิ (สอง) + ขนุ (ธาตุ = ขุด) + ปัจจัย, แปลง ทฺวิ เป็น ทุ, ซ้อน กฺ ระหว่าง ทฺวิ กับธาตุ (ทฺวิ + กฺ + ขนฺ), ลบที่สุดธาตุ (ขนฺ > )

: ทฺวิ + กฺ + ขน = ทฺวิกฺขนฺ + = ทฺวิกฺขนฺ > ทุกฺขน > ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ขุดจิตเป็นสองอย่าง” คือจิตปกติเป็นอย่างหนึ่งอยู่แล้ว พอมีทุกข์มากระทบ ก็กระเทือนกลายเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทำนองเดียวกับสำนวนที่ว่า “หัวใจแตกสลาย

(4) ทุกฺขฺ (ธาตุ = ทุกข์) + (อะ) ปัจจัย

: ทุกฺขฺ + = ทุกฺข แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะที่ทำให้เป็นทุกข์” คำแปลสำนวนนี้ในภาษาบาลีมีความหมาย แต่ในภาษาไทย เท่ากับพูดว่า มืดคือค่ำ และ ค่ำคือมืด คือเป็นเพียงบอกให้รู้ว่า สิ่งนั้นเรียกว่า “ทุกข์” หรือเล่นสำนวนว่า “ทุกข์ก็คือทุกข์”

ความหมายที่เข้าใจทั่วไป “ทุกข์” คือความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ (grief & sorrow, afflictions of pain & misery, all kinds of misery)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “ทุกข์” ไว้ดังนี้ –

…………..

ทุกข์

1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง (ได้แก่ สังขารทุกข์, ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์) 

2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้นได้แก่คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔) 

3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

…………..

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทุกข-, ทุกข์ : (คำนาม) ความยากลำบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความทนได้ยาก, ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้. (ป.; ส. ทุะข).”

สพฺพ + ทุกฺข = สพฺพทุกฺข (สับ-พะ-ทุก-ขะ) แปลว่า “ทุกข์ทั้งปวง” 

สพฺพทุกฺข” แจกด้วยวิภัตตินามที่ห้า (ปัญจมีวิภัตติ) เอกพจน์ นปุงสกลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “สพฺพทุกฺขา” เขียนแบบคำอ่านเป็น “สัพพะทุกขา” (สับ-พะ-ทุก-ขา) แปลว่า “จากทุกข์ทั้งปวง” 

(๒) “ปมุจฺจนฺตุ

อ่านว่า ปะ-มุด-จัน-ตุ เป็นคำกริยาที่เรียกว่า “กริยาอาขยาต” (– อา-ขะ-หฺยาด) 

พึงทราบว่า ในหมู่นักเรียนบาลีไทย คำว่า “กริยา” จะใช้ว่า “กิริยา” ไม่ใช่ “กริยา” เพราะฉะนั้น “กริยาอาขยาต” ถ้าเขียนให้ถูกหลักนิยมนักเรียนบาลีไทยต้องเขียนว่า “กิริยาอาขยาต”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายคำว่า “อาขยาต” ไว้ดังนี้ –

อาขยาต : (คำวิเศษณ์) กล่าวแล้ว. (คำนาม) ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).”

ปมุจฺจนฺตุ” รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + มุจฺ (ธาตุ = พ้น, หลุด) + (ยะ) ปัจจัยประจำหมวดธาตุ + อนฺตุ (วิภัตติอาขยาต หมวดปัญจมี บอกความบังคับ) พหูพจน์ ปฐมบุรุษ (ประธานในประโยคเป็นผู้ที่เราพูดถึง) กัตตุวาจก, แปลง จฺ กับ เป็น จฺจ

: + มุจฺ = ปมุจฺ + = ปมุจฺย + อนฺตุ = ปมุจฺยนฺตุ > ปมุจฺจนฺตุ แปลตามศัพท์ว่า “(สัตว์ทั้งหลาย) จงพ้น” “- จงหลุด” 

แถมความหมายอื่นๆ :

(คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + มุจฺ (ธาตุ = พ้น, หลุด) = ปมุจฺ คำกริยาสามัญคือ “ปมุจฺจติ” (ปะ-มุด-จะ-ติ) และ “ปมุญฺจติ” (ปะ-มุน-จะ-ติ) มีความหมายเพิ่มขึ้นเป็นหลายอย่างดังนี้ –

(1) ปลด, เปลื้อง, ปล่อย (to release, deliver, set free)

(2) ส่งไป, ปล่อยไป, ทิ้ง, ให้ (to send off, let loose, drop, give)

(3) ปลดแอก, ปลดเครื่องเทียม, ให้อิสระ, ปล่อย (to let out of the yoke, to unharness, set free) 

(4) ปล่อยออก, ส่อง, ฉาย [แสง] (to let go, emit, send forth [light]) 

(5) เปล่ง [เสียง]; เอื้อนวาจา, กล่าว [คำ ฯลฯ] ออกมา (to send forth [sound]; to utter, emit [words etc.]) 

(6) รับทำ, ให้, ส่งออกไป, ปล่อย (to undertake, to bestow, send forth, let loose) 

(7) สละ, ยกเลิก, ละทิ้ง (to abandon, give up, leave behind) 

(8 ) ยกเว้น, นอกจาก (except, besides) 

ขยายความ :

สพฺพทุกฺขา” และ “ปมุจฺจนฺตุ” รวมกันเป็นประโยค ประกอบด้วยคำบาลี 2 คำ เขียนรวมเป็นประโยคบาลีเป็น “สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจนฺตุ” อ่านว่า สับ-พะ-ทุก-ขา ปะ-มุด-จัน-ตุ เขียนแบบคำอ่านเป็น “สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ” แปลตามศัพท์ว่า “(ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) จงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ” เป็นคำที่ใช้ในคำแผ่พรหมวิหารภาวนาในส่วนที่เรียกว่า “แผ่กรุณา” 

คำ “แผ่กรุณา” มีคำบาลีที่กำหนดไว้ดังนี้ –

……………

สพฺเพ  สตฺตา

สพฺพทุกฺขา  ปมุจฺจนฺตุ

……………

เขียนแบบคำอ่านเป็นดังนี้ –

……………

สัพเพ  สัตตา

สัพพะทุกขา  ปะมุจจันตุ

…………..

คำบาลีสลับคำแปลที่นิยมแปลกันเป็นดังนี้ –

……………

สัพเพ  สัตตา = สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น 

สัพพะทุกขา  ปะมุจจันตุ = จงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเถิด

…………..

ดูเพิ่มเติม: “สัพเพ สัตตา” บาลีวันละคำ (2,859) 10-4-63 

…………..

อภิปราย :

เรานิยมบอกกล่าวแนะนำกันให้ “แผ่เมตตา” มีคำกล่าวแผ่เมตตาเป็นที่รู้กันทั่วไป แต่การแผ่กรุณาเป็นเรื่องที่แทบจะไม่มีใครเอ่ยถึง ไม่มีใครนำมาเสนอแนะ ทั้งๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งในพรหมวิหารภาวนาเช่นเดียวกับแผ่เมตตานั่นเอง

และถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้ว แผ่กรุณาเป็นกิจที่ควรทำยิ่งกว่าแผ่เมตตาด้วยซ้ำไป แผ่เมตตาเราใช้เมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์มีความสุขอยู่ตามปกติของเขา ซึ่งในยามนั้นแม้ไม่มีใครระลึกถึง เขาก็อยู่เป็นปกติสุขของเขาได้อยู่แล้ว 

แต่ในยามที่เพื่อนมนุษย์มีความทุกข์ มีปัญหาจะต้องแก้ ยามนั้นเขาย่อมต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องการคนเห็นใจ รับรู้ในความทุกข์ของเขา และยามนั้นแหละที่การแผ่กรุณาเป็นกิจที่ควรทำและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่เพื่อนมนุษย์ผู้มีทุกข์มีปัญหาต้องการมากที่สุด

ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ แทนที่จะแผ่เมตตาอย่างเดียว หรือแนะนำสั่งสอนกันให้แผ่แต่เมตตา ก็ควรสนใจที่จะแผ่กรุณาให้แก่กันด้วย และช่วยกันทำให้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็อย่าให้น้อยไปกว่าที่แผ่เมตตา

การแผ่กรุณาเป็นกิจทางใจ และเป็นบุรพภาคแห่งการลงมือช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เพราะเมื่อใจมีกรุณาแล้ว ความกรุณาจะผลักดันให้คิดหาทางช่วยเหลือต่อไป ถ้าช่วยด้วยตัวเองได้ก็จะลงมือช่วย ถ้าตนเองไม่สามารถ ก็จะคิดหาทางบอกกล่าวขอร้องผู้มีความสามารถต่อไปอีก 

สมดังภาษิตที่ผู้รู้กล่าวไว้ว่า –

มหาปุริสภาวสฺส

ลกฺขณํ  กรุณาสโห.

อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา

เป็นลักษณะของมหาบุรุษ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าไม่ช่วยแก้ปัญหา

: ก็อย่าก่อปัญหา

#บาลีวันละคำ (3,369) (ชุดพรหมวิหารภาวนา)

2-9-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *