บาลีวันละคำ

โหรา (บาลีวันละคำ 265)

โหรา

อ่านว่า โห-รา

โหรา” รากศัพท์เดิมคือ “หุร” (หุ-ระ) แปลว่า ที่นั่น, ในโลกอื่น, ในชีวิตอื่น

หุร” มักมาคู่กับ “อิธ” (อิ-ทะ) ซึ่งแปลว่า ที่นี่, ในธรรรมวินัยนี้, ในโลกนี้, ในชาตินี้

ความหมายโดยนัย “อิธ” = ปัจจุบันหุร” = อนาคต

หุร + ปัจจัย (ปัจจัยตัวนี้ไม่ปรากฏรูป) แผลง อุ เป็น โอ : หุร = โหร

ทำ “อะ” ที่ “” เป็น อา (เครื่องหมายอิตถีลิงค์) : โหร = โหรา

โหรา” แปลตามศัพท์ว่า “วิชาบอกเหตุการณ์ในอนาคต” มีความหมายว่า ชั่วโมง, เวลา, ฤกษ์

โหรา” เป็นทั้งรูปบาลีและสันสกฤต  เขียนด้วยอักษรฝรั่งเป็น hora

ผู้รู้สันนิษฐานว่า hora รากศัพท์เดียวกับ hour = “ชั่วโมง”

ดังนั้น หลักของ “โหราศาสตร์” คือเอาตัวเลขของวัน เวลา เดือน ปี ที่พูดว่า “เลขผานาที” รวมทั้งตัวการณ์ที่ทำให้เกิดวันเวลา คือดวงดาวทั้งหลายมาคำนวณ แล้วบอกเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต

: จะหาฤกษ์ก็หาไป แต่ต้องหาประโยชน์ให้เจอด้วย

——-

กราบขอบพระคุณท่านพระมหาอาทิตย์ อาทิตฺตเมธี ที่เมตตาให้การบ้านคำนี้

และขอบพระคุณย้อนหลัง คุณ Worachak Khemphet ที่กรุณาถามคำว่า “สถุล” เมื่อวานนี้ครับ (เมื่อวานนี้ลืมขอบคุณ ขอภัยครับ)

บาลีวันละคำ (265)

29-1-56

โหรา = วิชาทำนาย, การทำนาย (ศัพท์วิเคราะห์)

หุรํการเณน จ อตีตการเณน จ วจตีติ  โหโร วิชาที่ว่าด้วยเหตุในอนาคตและเหตุในอดีต

หุร บทหน้า ณ ปัจจัย, อา อิต., พฤทธิ์ อุ เป็น โอ

โหราปาฐก = โหร, โหราจารย์, ผู้เชี่ยวชาญวิชาทำนาย (ศัพท์วิเคราะห์)

โหรํ ปฐตีติ โหราปาฐโก ผู้กล่าวเรื่องการทำนาย

โหรา บทหน้า ปฐฺ ธาตุ ในความหมายว่าสวด, พูด ณฺวุ ปัจจัย, ทีฆะ อ เป็น อา, แปลง ณฺวุ เป็น อก

หุร (บาลี-อังกฤษ)

ที่นั่น, ในโลกอื่น, ในชีวิตอื่น

โหรา (บาลี-อังกฤษ)

สันสกฤต โหรา hora = “hour” = “ชั่วโมง”

โหราปาฐก = ผู้เชี่ยวชาญ = โหร an astrologer

โหรา อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ชั่วโมง, เวลา, ฤกษ์.

โหราปาฐก ป.ผู้บอกฤกษ์.

โหรายนฺต นป.นาฬิกา.

โหราโลจน นป.การดูเวลา, นาฬิกา.

โหร

 [โหน] น. ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์และพยากรณ์โชคชะตาราศี. (ส., ป. โหรา).

โหราศาสตร์

น. วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย