บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ข้อสอบตัวจริง

สุตฺต ขุ. วิมานวตฺถุ-เปตวตฺถุ-เถรคาถา-เถรีคาถา – หน้าที่ 188

องฺกุรเปตวตฺถุ นวมํ ฯ   

[๑๐๖] ๙ ยสฺส อตฺถาย คจฺฉาม       กมฺโพชํ ธนหารกา  

          อยํ กามทโท ยกฺโข        อิมํ ยกฺขํ นิยามเส  

          อิมํ ยกฺขํ คเหตฺวาน        สาธุเกน ปสยฺห วา   

          ยานํ อาโรปยิตฺวาน        ขิปฺปํ คจฺฉาม ทฺวารกนฺติ ฯ   

          ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย       นิสีเทยฺย สเยยฺย วา   

          น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย      มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโกติ ฯ  

          ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย       นิสีเทยฺย สเยยฺย วา   

          ขนฺธมฺปิ ตสฺส ฉินฺเทยฺย      อตฺโถ เจ ตาทิโส สิยาติ ฯ   

          ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย       นิสีเทยฺย สเยยฺย วา   

          น ตสฺส ๑ ปตฺตํ ภินฺเทยฺย   มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโกติ ฯ  

          ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย       นิสีเทยฺย สเยยฺย วา   

          สมูลํปิ ตํ อพฺพุยฺห ๑       อตฺโถเปตาทิโส สิยาติ ฯ   

                 ยสฺเสกรตฺตึ หิ ๒ ฆเร วเสยฺย   

                 ยตฺถนฺนปานํ ปุริโส ลเภถ  

                 น ตสฺส ปาปํ มนสาปิ เจตเย ๓  

#๑ ม. อพฺพุเห ฯ  ๒ ม. ปิ ฯ  ๓ ม. จินฺตเย ฯ  

สุตฺต ขุ. วิมานวตฺถุ-เปตวตฺถุ-เถรคาถา-เถรีคาถา – หน้าที่ 189

                 กตญฺญุตา สปฺปุริเสหิ วณฺณิตา ฯ   

                 ยสฺเสกรตฺตึปิ ฆเร วเสยฺย   

                 อนฺเนน ปาเนน อุปฏฺฐิโต สิยา  

                 น ตสฺส ปาปํ มนสาปิ เจตเย ๑  

                 อทุพฺภปาณี ทหเต มิตฺตทุพฺภึ ฯ  

          โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ      ปจฺฉา ปาเปน หึสติ  

          อลฺลปาณิหโต โปโส        น โส ภทฺรานิ ปสฺสตีติ ฯ   

                 โย ๒ อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ   

                 สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส  

                 ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ   

                 สุขุโม รโช ปติวาตํว ขิตฺโตติ ๒ ฯ  

                 นาหํ เทเวน วา มนุสฺเสน วา  

                 อิสฺสริเยน วาหํ สุปฺปสยฺโห(  

                 ยกฺโขหมสฺมิ ปรมิทฺธิปตฺโต  

                 ทูรงฺคโม วณฺณพลูปปนฺโนติ ฯ   

          ปาณิ เต สพฺพโส วณฺโณ     ปญฺจธาโร มธุสฺสโว  

          นานารสา ปคฺฆรนฺติ        มญฺเญหนฺตํ ปุรินฺททํ ฯ   

          นมฺหิ เทโว น คนฺธพฺโพ     นปิ สกฺโก ปุรินฺทโท   

          เปตํ องฺกุร ชานาหิ        โรรุวมฺหา ๓ อิธาคตํ ฯ  

#๑ ม. จินฺตเย ฯ  ๒ ม. โย อปฺปทุฏฺฐสฺส ฯเปฯ ขิตฺโตตีติ อิเม ปาฐา นตฺถิ ฯ   

#๓ สี. ยุ. เภรุวมฺหา ฯ  

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 235

                            ๙.  อังกุรเปตวัตถุ  

                                  ว่าด้วยบุญสำเร็จที่ฝ่ามือ

                 พราหมณ์พ่อค้าคนหนึ่ง     เห็นของทิพย์ออกจากมือรุกขเทวดา

        จึงเกิดความโลภขึ้น  ได้บอกแก่อังกุรพาณิชว่า  :- 

                  [๑๐๖]        เราทั้งหลายเที่ยวหาทรัพย์    ไปสู่แคว้น

             กันโพชเพื่อประโยชน์สิ่งใด    เทพบุตรนี้เป็นผู้ให้

             สิ่งที่เราอยากได้นั้น    พวกเราจักนำเทพบุตรนี้ไป

             หรือจักจับเทพบุตรนี้    ข่มขี่เอาด้วยการวิงวอน

             หรืออุ้มใส่ยานรีบนำไปสู่ทวารกะนครโดยเร็ว.

        อังกุรพาณิชเมื่อจะห้ามพราหมณ์พ่อค้านั้น    จึงได้กล่าว

คาถาความว่า :-

                บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

                  ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น     เพราะการ

             ประทุษร้ายมิตร   เป็นความเลวทราม.

พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า :-

                บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

                    พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้    ถ้ามีความต้อง

                    การเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 236

         อังกุรพาณิชกล่าวว่า  :-  

                               บุคคลอาศัยนั่งนอน  ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

                   ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น      เพราะการ

                   ประทุษร้ายต่อมิตร  เป็นความเลวทราม.

        พราหมณ์พ่อค้ากล่าวว่า :-

                              บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

                  พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากได้  ถ้าพึงประสงค์

                  เช่นนี้.

         อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

                               ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใด

                 ตลอดราตรีหนึ่ง  หรือพึงได้ข้าวน้ำในที่ใด  ไม่ควร

                  คิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ   ความเป็นผู้กตัญญู

                    สัปบุรุษสรรเสริญ  บุคคลพึงพักอาศัยในเรือนของ

                   บุคคลใดแม้เพียงคืนหนึ่ง   พึงได้รับบำรุงด้วยข้าว

                  และน้ำ     ก็ไม่พึงคิดชั่วต่อบุคคลนั้นแม้ด้วยใจ

                  บุคคลผู้มีมืออันไม่เบียดเบียน   ย่อมแผดเผาบุคคล

                   ผู้ประทุษร้ายมิตร   ผู้ใดทำความดีไว้ในก่อน  ภาย

                  หลังเบียดเบียนด้วยความชั่ว    ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคน

                 อกตัญญู  ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย

                                     ผู้ใดประทุษร้ายต่อนระผู้ไม่ประทุษร้าย

                    ผู้เป็นบุรุษบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน     บาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 237

                       ย่อมกลับมาถึงผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลแน่แท้   เหมือน  

                      ธุลีละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมฉะนั้น.

          เมื่อรุกขเทวดาได้ฟังดังนั้นแล้ว     เกิดความโกรธต่อพราหมณ์

นั้น  จึงกล่าวว่า :-

                                ไม่เคยมีเทวดาหรือมนุษย์หรืออิสรชนคนใด

                          จะมาข่มเหงเราได้โดยง่าย      เราเป็นเทพเจ้าผู้มี

                      มหิทธิฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยม   เป็นผู้ไปได้ไกลสม-

                   บูรณ์ด้วยรัศมีและกำลัง. 

          อังกุรพาณิชจึงถามรุกขเทวดานั้นว่า :-

                                  ฝ่ามือของท่านมีสีดังทองคำทั่วไป  ทรงไว้

                       ซึ่งวัตถุที่บุคคลอื่นปรารถนาด้วยนิ้วทั้ง   ๕  เป็น

                        ที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย  วัตถุมีรสต่าง ๆ

                       ย่อมไหลออกจากฝ่ามือของท่าน   ข้าพเจ้าเข้าใจว่า

                       ท่านเป็นท้าวสักกะ.

          รุกขเทวดาตอบว่า :-  

                                  เราไม่ใช่เทพเจ้า    ไม่ใช่คนธรรพ์    ไม่ใช่

                       ท้าวสักกปุรินททะ   ดูก่อนอังกุระ   ท่านจงทราบ

                       ว่าเราเป็นเปรต  จุติจากโรรุวนครมาอยู่ที่ต้นไทรนี้.

          อังกุรพาณิชถามว่า :-

                                เมื่อก่อน  ท่านอยู่ในโรรุวนคร  ท่านมีปกติ

                       อย่างไร  มีความประพฤติอย่างไร  ผลบุญสำเร็จที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 238

                      ฝ่ามือของท่าน  เพราะพรหมจรรย์อะไร.

         รุกขเทวดาตอบว่า :-    

                              เมื่อก่อน     เราเป็นช่างหูกอยู่ในโรรุวนคร

                    เป็นคนกำพร้าเลี้ยงชีพโดยความลำบากนัก   เรา

                    ไม่มีอะไรจะให้ทาน     เรือนของเราอยู่ใกล้เรือน

                   ของอสัยหเศรษฐี   ซึ่งเป็นคนมีศรัทธา  เป็นทานา-

                     ธิบดี  มีบุญอันทำแล้ว  เป็นผู้ละอายต่อบาป  พวก

                    ยาจกวณิพกมีนามแลโคตรต่าง ๆ  กัน  ไปที่บ้าน

                     ของเรานั้น    พากันถามถึงเรือนของอสัยหเศรษฐี 

                      กะเราว่า      ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย

                     พวกเราจะไปทางไหน  ทานเขาให้ที่ไหน  เราถูก

                    พวกยาจนวณิพกถามแล้ว     ได้ยกมือเบื้องขวาชี้

                    บอกเรือนของอสัยหเศรษฐีแก่ยาจกวณิพกเหล่า

                    นั้นว่า  ท่านทั้งหลายจงไปทางนี้   ความเจริญจัก

                     มีแก่ท่านทั้งหลาย    ทานเขาให้อยู่ที่นั่น    เพราะ

                     เหตุนั้น   ฝ่ามือของเราจึงให้สิ่งที่น่าปรารถนา  เป็น

                    ที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย   ผลบุญย่อมสำเร็จ

                      ที่ฝ่ามือของเราเพราะพรหมจรรย์นั้น.

          อังกุรพาณิชถามว่า :-

                              ได้ยินว่า ท่านไม่ได้ให้ทานแก่ใคร  ๆ ด้วย

                      หรือทั้งสองของตน     เป็นแต่เพียงอนุโมทนาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 239

                     ของคนอื่น    ยกมือชี้บอกทางให้   เพราะเหตุนั้น

                       ฝ่ามือของท่านจึงให้สิ่งที่น่าใคร่    เป็นที่ไหลออก

                     แห่งวัตถุมีรสอร่อย      ผลบุญย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือ 

                       ของท่านเพราะพรหมจรรย์นั้น   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ 

                    อสัยหเศรษฐีผู้เลื่อมใสได้ให้ทานด้วยมือทั้งสอง

                     ของตน    ละร่างกายมนุษย์แล้ว    ไปทางทิศไหน

                  หนอ.

          รุกขเทวดาตอบว่า :-      

                        เราไม่รู้ทางไปหรือทางมาของอสัยห-

                       เศรษฐี   ผู้เป็นเจ้าของแห่งทาน   ผู้มีรัศมีซ่านออก

                       จากตน    แต่เราได้ฟังมาในสำนักของท้าวเวสวัณ 

                       ว่า    อสัยหเศรษฐี    ถึงความเป็นสหายแห่งท้าว-

                       สักกะ.

          อังกุรพาณิชกล่าวว่า  :-

                               บุคคลควรทำความดีแท้   ควรให้ทานตาม

                      สมควร    ใครได้เห็นฝ่ามืออันให้สิ่งที่น่าใคร่แล้ว

                      จักไม่ทำบุญเล่า     เราไปจากที่นี้ถึงทวารกะนคร

                     แล้ว     จักรีบให้ทานอันจักนำความสุขมาให้เรา

                       แน่แท้  เราจักให้ข้าว  น้ำ  ผ้า  เสนาสนะ  บ่อน้ำ

                      สระน้ำ และสะพานในที่เดินยากเป็นทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 240

        อังกุรพาณิชถามว่า :-    

                        เพราะเหตุไร     นิ้วมือของท่านจึงงอหงิก

                     ปากของท่านจึงเบี้ยว     และนัยน์ตาทะเล้นออก

                     ท่านได้ทำบาปกรรมอะไรไว้.

        เปรตนั้นตอบว่า  :-

                        เราอันคฤหบดีตั้งไว้ในการให้ทาน  ในโรง

                ทานของคฤหบดี   ผู้มีอังคีรส   ผู้มีศรัทธา   เป็น

                ฆราวาส   ผู้ครอบครองเรือน   เห็นยาจกผู้มีความ

                ประสงค์ด้วยโภชนะ   มาที่โรงทานนั้น   ได้หลีก

                ไปทำการบุ้ยปากอยู่  ณ  ที่ข้างหนึ่ง  เพราะกรรม

                นั้น     นิ้วของเราจึงงอหงิก    ปากของเราจึงเบี้ยว

                นัยน์ตาทะเล้นออกมา  เราได้ทำบาปกรรมนั้นไว้.

        อังกุรพาณิชถามว่า   :-

                        แน่ะบุรุษเลวทราม   การที่ท่านมีปากเบี้ยว

                ตาทั้ง  ๒  ทะเล้นเป็นการชอบแล้ว  เพราะท่านได้

                ทำการบุ้ยปากต่อทานของผู้อื่น   ก็ไฉน   อสัยห-

                เศรษฐีเมื่อจะให้ทาน จึงได้มอบข้าว น้ำ ของเคี้ยว

                ผ้า   และเสนาสนะ   ให้ผู้อื่นจัดแจง   ก็เราไปจาก

                ที่นี้ถึงทวารกะนครแล้ว   จักเริ่มให้ทานที่นำความ

                สุขมาให้แก่เราแน่แท้ เราจักให้ข้าว   น้ำ ผ้า เสนา-

                สนะ บ่อน้ำ สระน้ำ และสะพานทั้งหลายในที่เดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 241

                     ลำบากให้เป็นทาน    ก็อังกุรพาณิชกลับจากทะเล    

                     ทรายไปถึงทวารกะนครแล้ว      ได้เริ่มให้ทานอัน

                     นำความสุขมาให้ตน  ได้ให้ข้าว  น้ำ  ผ้า  เสนา-

                     สนะ  บ่อน้ำ  สระน้ำ  ด้วยจิตอันเลื่อมใส.

                             ช่างกัลบก  พ่อครัว  ชาวมคธ   พากันป่าว

                     ร้องในเรือนของอังกุรพาณิชนั้น     ทั้งในเวลาเย็น

                     ทั้งในเวลาเช้าทุกเมื่อว่า      ใครหิวจงมากินตาม

                     ชอบใจ    ใครกระหายจงมาดื่มตามชอบใจ    ใคร

                     จักนุ่งห่มผ้าจงนุ่งห่ม  ใครต้องการพาหนะสำหรับ

                     เทียมรถ  จงเทียมพาหนะในคู่แอกนี้  ใคร ต้องการ

                      ร่มจงเอาร่มไป   ใครต้องการของหอม    จงมาเอา

                      ของหอมไป   ใครต้องการดอกไม้จงมาเอาดอกไม้

                      ไป     ใครต้องการรองเท้า     จงมาเอารองเท้าไป

                      มหาชนย่อมรู้เราว่า   อังกุระนอนเป็นสุข   ดูก่อน

                      สินธุมาณพ   เรานอนเป็นทุกข์   เพราะไม่ได้เห็น

                      พวกยาจก     มหาชนรู้เราว่า    อังกุระนอนเป็นสุข

                      ดูก่อนสินธุมาณพ     เรานอนเป็นทุกข์    ในเมื่อ

                      วณิพกมีน้อย.

        สินธุมาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาความว่า :-

                              ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์

                     และเป็นใหญ่กว่าโลกทั้งปวง  พึงให้พรท่าน  ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 242

                   เมื่อจะเลือก  พึงเลือกเอาพรเช่นไร.    

        อังกุรพาณิชกล่าวว่า :-

                            ถ้าท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าชาวดาวดึงส์

             พึงให้พรแก่เรา   เราจะพึงขอพรว่า   เมื่อเราลุกขึ้น

             แต่เช้า   ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น   ขอภักษาหารอัน

             เป็นทิพย์   และพวกยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏ    เมื่อ

             เราให้อยู่  ไทยธรรมไม่พึงหมดสิ้นไป  ครั้นเราให้

             ทานนั้นแล้ว    ไม่พึงเดือดร้อนในภายหลัง    เมื่อ

             กำลังให้พึงยังจิตให้เลื่อมใส     ข้าพเจ้าพึงเลือก

             เอาพรอย่างนี้กะท้าวสักกะ.

        โสณกบุรุษกล่าวเตือนอังกุรพาณิชว่า  :-

                            บุคคลไม่พึงให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจทั้ง

              หมด    แก่บุคคลอื่น    ควรให้ทานและควรรักษา

              ทรัพย์ไว้     เพราะว่าทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่า

              ทาน  สกุลทั้งหลายยอมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะการให้

              ทานเกินประมาณไป     บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ

              การไม่ให้ทานและการให้เกินควร    เพราะเหตุนั้น

              แล  ทรัพย์เท่านั้นประเสริฐกว่าทาน  บุคคลผู้เป็น

              ปราชญ์ สมบูรณ์ด้วยธรรม  ควรประพฤติโดยพอ

              เหมาะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 243

        อังกุรพาณิชกล่าวว่า  :-  

                                  ดูก่อนชาวเราทั้งหลาย  ดีหนอ   เราพึงให้

                      ทานแล     ด้วยว่าสัตบุรุษผู้สงบระงับพึงคบหาเรา

                     เราพึงยังความประสงค์ของวณิพกทั้งปวงให้เต็ม

                     เลี้ยงดูให้อิ่มหนำ     เปรียบเหมือนฝนยังที่ลุ่ม

                     ทั้งหลายให้เต็มฉะนั้น     สีหน้าของบุคคลใดย่อม

                     ผ่องใส   เพราะเห็นพวกยาจก   บุคคลนั้นครั้นให้

                     ทานแล้วมีใจเบิกบาน     ข้อนั้นเป็นความสุขของ

                     บุคคลผู้อยู่ครองเรือน      หน้าของบุคคลใดย่อม

                     ผ่องใสเพราะเห็นพวกยาจก     บุคคลนั้นครั้นให้

                     ทานแล้ว  ย่อมปลาบปลื้มใจ   นี้เป็นความถึงพร้อม

                      แห่งยัญ   ก่อนแต่ให้ก็มีใจเบิกบาน   เมื่อกำลังให้

                     ก็ยังจิตให้ผ่องใส    ครั้นให้แล้ว    ก็มีใจเบิกบาน

                     นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ.

        พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถาทั้งหลายความว่า :-

                              ในเรือนของอังกุรพาณิชผู้มุ่งบุญ  เขาให้

                    โภชนะแก่หมู่ชนวันละ  ๖   หมื่นเล่มเกวียนเป็น

                       นิตย์ พ่อครัว  ๓,๐๐๐   คน  ประดับด้วยต่างหูอัน

                      วิจิตรด้วยมุกดาและแก้วมณี    เป็นผู้ขวนขวายใน

                    การให้ทาน    พากันเข้าไปอาศัยอังกุรพาณิชเลี้ยง

                   ชีวิต  มาณพ  ๖  หมื่นคน  ประดับด้วยต่างหูอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 244

                       วิจิตรด้วย   แก้วมุกดา   และแก้วมณี   ช่วยกันผ่า  

                       ฟืนสำหรับหุงอาหารในมหาทานของอังกุรพาณิช

                     นั้น  พวกนารี  ๑๖,๐๐๐  คนประดับด้วยอลังการ

                     ทั้งปวง    ช่วยกันบดเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร

                     ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น  นารีอีก  ๑๖,๐๐๐

                     คน   ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง   ถือทัพพี

                     เข้ายืนคอยรับใช้ในมหาทานของอังกุรพาณิชนั้น

                     อังกุรพาณิชนั้น  ได้ให้ของเป็นอันมากแก่มหาชน

                      โดยประการต่าง  ๆ   ได้ทำความยำเกรงด้วยความ

                     เคารพและด้วยมือของตนเองบ่อย  ๆ  ยังมหาทาน

                     ให้เป็นไปแล้วสิ้นเดือน    สิ้นปักษ์   สิ้นฤดูและปี 

                     เป็นอันมาก   ตลอดกาลนาน   อังกุรพาณิชได้ให้

                     ทานและทำการบูชาอย่างนี้   ตลอดกาลนาน  ละ

                     ร่างมนุษย์แล้ว   ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์  อินทก-

                     มาณพได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งแก่พระอนุรุทธ-

                เถระ   ละร่างมนุษย์แล้ว  ได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์

                      เหมือนกัน     แต่อินทกเทพบุตรรุ่งเรืองยิ่งกว่า

                      อังกุรเทพบุตรโดยฐานะ  ๑๐  อย่าง  คือ  รูป  เสียง

                     กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะ   อันน่ารื่นรมย์ใจ   อายุ

                     ยศ วรรณะ  สุข และความเป็นใหญ่.

          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า  :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 245

                    ก่อนอังกุระ   มหาทานท่านได้ให้แล้วสิ้น    

         กาลนาน   ท่านมาในสำนักของเรา   ไฉนจึงนั่งอยู่

        ไกลนัก.

                          เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ    ประทับ

        อยู่ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์    ภายใต้ต้นปาริ-

        ฉัตตกพฤกษ์ ณ ดาวดึงส์  ครั้งนั้น เทวดาในหมื่น

          โลกธาตุ   พากันมานั่งประชุมเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า

         ซึ่งประทับบนยอดเขา   เทวดาไร  ๆ  ไม่รุ่งโรจน์

         เกินกว่าพระสัมพุทธเจ้าด้วยรัศมี   พระสัมพุทธ- 

         เจ้าเท่านั้น      ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงหมู่เทวดาทั้งปวง

         ครั้งนั้น   อังกุรเทพบุตรนี้นั่งอยู่ไกล  ๑๒  โยชน์

         จากที่พระพุทธเจ้าประทับ    ส่วนอินทกเทพบุตร

          นั่งในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า      รุ่งเรื่องกว่าอัง

         กุรเทพบุตร    พระสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็น

         อังกุรเทพบุตรกับอินทกเทพบุตรแล้ว     เมื่อจะ

         ทรงประกาศทักขิไณยบุคคล     จึงได้ตรัสพระ-

         พุทธพจน์นี้ความว่า   ดูก่อนอังกุรเทพบุตร  มหา-

         ทานท่านให้แล้วสิ้นกาลนาน  ท่านมาสู่สำนักของ

         เรา   ไฉนจึงนั่งอยู่ไกลนัก   อังกุรเทพบุตร   อัน

          พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว

          ทรงตักเตือนแล้ว  ได้กราบทูลว่า  จะทรงประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 246

                     อะไร   ด้วยทานของข้าพระองค์นั้น   อันว่างเปล่า  

                    จากทักขิไณยบุคคล     อินทกเทพบุตรนี้ให้ทาน

                     นิดหน่อย    รุ่งเรื่องยิ่งกว่าข้าพระองค์   ดุจพระ-

                 จันทร์ในหมู่ดาวฉะนั้น.

             อินทกเทพบุตรทูลว่า

                             พืชแม้มากที่บุคคลหว่านแล้วในนาดอน

                    ผลย่อมไม่ไพบูลย์    ทั้งไม่ยังชาวนาให้ปลื้มใจ

                    ฉันใด     ทานมากมายอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้ใน

                   บุคคลผู้ทุศีล   ก็ฉันนั้นเหมือนกัน   ย่อมไม่มีผล 

                    ไพบูลย์  ทั้งไม่ยังทายกให้ปลาบปลื้ม   พืชแม้น้อย

                    อันบุคคลหว่านแล้วในนาดี     เมื่อฝนหลั่งสายน้ำ

                    โดยสม่ำเสมอ   ผลย่อมยังชาวนาให้ปลาบปลื้มใจ

                     แม้ฉันใด     ทานแม้น้อยอันบุคคลบริจาคแล้วใน

                   ท่านผู้มีศีล  มีคุณความดี   ผู้คงที่บุญย่อมมีผลมาก

                    ฉันนั้นเหมือนกัน   ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด

                     มีผลมาก   ควรเลือกให้ในเขตนั้น   ทายกเลือกให้

                     ทานแล้วย่อมไปสู่สวรรค์  ทานที่เลือกให้พระสุคต

                     ทรงสรรเสริญ     ทักขิไณยบุคคลเหล่าใดมีอยู่ใน

                     โลกนี้  ทานที่ทายกให้แล้วในทักขิไณยบุคคลเหล่า

                     นั้น  ย่อมมีผลมาก  เหมือนพืชที่หว่านแล้วในนาดี

                  ฉะนั้น.

                                    จบ  อังกุรเปตวัตถุที่  ๙

อรรถกถา

ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา เปตวตฺถุวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี) – หน้าที่ 160

        เล่มที่  24  อุพฺพรีวคฺควณฺณนา  หน้า  160

พลกฺกาเรน  ฯ  ยานนฺติ  สุขยานํ  ฯ  ทฺวารกนฺติ  ทฺวารวตีนครํ ฯ

อยํ  เหฏฺฐาธิปฺปาโย  ยทตฺถํ มยํ  อิโต  กมฺโพชํ  คนฺตุกามา  

เตน  คมเนน  สาเธตพฺโพ  อตฺโถ  อิเธว  สิชฺฌติ  ฯ  อยํ  หิ  

ยกฺโข  กามทโท  ตสฺมา  อิมํ  ยกฺขํ  ยาจิตฺวา  ตสฺส  อนุมติยา  

วา  สเจ  สญฺญตฺตึ  น  คจฺฉติ  พลกฺกาเรน  วา  ยานํ  อาโรเปตฺวา  

ยาเน  ปจฺฉาพาหํ  พนฺธิตฺวา  ตํ  คเหตฺวา  อิโตเยว  ขิปฺปํ  

ทฺวารวตีนครํ  คจฺฉามาติ  ฯ  

        เอวํ  ปน  พฺราหฺมเณน  วุตฺโต  องฺกุโร  สปฺปุริสธมฺเม 

ฐตฺวา  ตสฺส  วจนํ  ปฏิกฺขิปนฺโต  

                ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย  นิสีเทยฺย สเยยฺย วา  

                น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย  มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโกติ  

คาถมาห  ฯ  

        ตตฺถ  น  ภญฺเชยฺยาติ  น  ฉินฺเทยฺย  ฯ  มิตฺตทุพฺโภติ  

มิตฺเตสุ  ทุพฺภนํ  เตสํ  อนตฺถุปฺปาทนํ  ฯ  ปาปโกติ  อภทฺทโก  

มิตฺตทุพฺโภ  ฯ  โย  หิ  สีตจฺฉาโย  รุกฺโข  ฆมฺมาภิตตฺตสฺส  

ปุริสสฺส  ปริสฺสมวิโนทโก  ตสฺสาปิ  นาม  ปาปกํ  น  

จินฺเตตพฺพํ  กิมงฺคํ  ปน  สตฺตภูเตสุ  ฯ  อยํ  เทวปุตฺโต  

สปฺปุริโส  ปุพฺพการี  อมฺหากํ  ทุกฺขปนูทโก  พหูปกาโร  น  

ตสฺส  กิญฺจิ  อนตฺถํ  จินฺเตตพฺพํ  อญฺญทตฺถุ  โส  ปูเชตพฺโพ  

เอวาติ  ทสฺเสติ  ฯ  

ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา เปตวตฺถุวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี) – หน้าที่ 161

        เล่มที่  24  องฺกุรเปตวตฺถุวณฺณนา  หน้า  161

        ตํ  สุตฺวา  พฺราหฺมโณ  อตฺถสฺส  มูลํ  นิกติวินโยติ  นีติมคฺคํ  

นิสฺสาย  องฺกุรสฺส  ปฏิโลมปกฺเข  ฐตฺวา  

                ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย  นิสีเทยฺย สเยยฺย วา  

                ขนฺธมฺปิ ตสฺส ฉินฺเทยฺย  อตฺโถ เจ ตาทิโส สิยาติ  

คาถมาห  ฯ  

        ตตฺถ  อตฺโถ  เจ  ตาทิโส  สิยาติ  ตาทิเสน  ทพฺพสมฺภาเรน 

สเจ  อตฺโถ  ภเวยฺย  ตสฺส  รุกฺขสฺส  ขนฺธมฺปิ  ฉินฺเทยฺย  กิมงฺคํ  ปน  

สาขาทโยติ  อธิปฺปาโย  ฯ  

        เอวํ  พฺราหฺมเณน  วุตฺเต  องฺกุโร  สปฺปุริสธมฺมํเยว  

ปคฺคณฺหนฺโต  

                ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย  นิสีเทยฺย สเยยฺย วา  

                น ตสฺส ปตฺตํ ภินฺเทยฺย  มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโกติ  

อิมํ  คาถมาห  ฯ  

        ตตฺถ  น  ตสฺส  ปตฺตํ  ภินฺเทยฺยาติ  ตสฺส  รุกฺขสฺส  

เอกปณฺณมตฺตมฺปิ  น  ปาเตยฺย  ปเคว  สาขาทิเกติ  อธิปฺปาโย  ฯ  

        ปุนปิ พฺราหฺมโณ อตฺตโน วาทํ ปคฺคณฺหนฺโต  

                ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย  นิสีเทยฺย สเยยฺย วา  

                สมูลมฺปิ ตํ อพฺพุเห  อตฺโถ เจ ตาทิโส สิยาติ  

คาถมาห ฯ  

        ตตฺถ  สมูลมฺปิ  ตํ  อพฺพุเหติ  ตํ  ตตฺถ  สมูลมฺปิ  สห  

ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา เปตวตฺถุวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี) – หน้าที่ 162

        เล่มที่  24  อุพฺพรีวคฺควณฺณนา  หน้า  162

มูเลนปิ  อพฺพุเหยฺย  อุทฺธเรยฺยาติ  อตฺโถ ฯ  

        เอวํ  พฺราหฺมเณน  วุตฺเต  ปุน  องฺกุโร  ตํ  นีตึ  นิรตฺถกํ  กาตุกาโม  

                ยสฺเสกรตฺติมฺปิ  ฆเร วเสยฺย  

                ยตฺถนฺนปานํ ปุริโส ลเภถ  

                น ตสฺส ปาปํ มนสาปิ จินฺตเย  

                กตญฺญุตา สปฺปุริเสหิ วณฺณิตา ฯ  

                ยสฺเสกรตฺติมฺปิ ฆเร วเสยฺย  

                อนฺเนน ปาเนน อุปฏฺฐิโต สิยา  

                น ตสฺส ปาปํ มนสาปิ จินฺตเย  

                อทุพฺภปาณี หทเต มิตฺตทุพฺภึ ฯ  

                โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ  ปจฺฉา ปาเปน หึสติ  

                อลฺลปาณิหโต โปโส        น โส ภทฺรานิ ปสฺสตีติ  

อิมา ติสฺโส คาถา อภาสิ ฯ  

        ตตฺถ  ยสฺสาติ  ยสฺส  ปุคฺคลสฺส ฯ  เอกรตฺติมฺปีติ  

เอกรตฺติมตฺตมฺปิ เกวลํ  เคเห  วเสยฺย ฯ  ยตฺถนฺนปานํ  

ปุริโส ลเภถาติ ยสฺส สนฺติเก โกจิ ปุริโส อนฺนปานํ  วา  ยํ  

กิญฺจิ  โภชนํ  วา  ลเภยฺย ฯ  น  ตสฺส  ปาปํ  มนสาปิ  จินฺตเยติ 

ตสฺส  ปุคฺคลสฺส  อภทฺทกํ  อนตฺถํ  มนสาปิ  น  จินฺเตยฺย  น  

ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา เปตวตฺถุวณฺณนา (ปรมตฺถทีปนี) – หน้าที่ 163

        เล่มที่  24  องฺกุรเปตวตฺถุวณฺณนา  หน้า  163

ปิเหยฺย  ปเคว  กายวาจาหิ  ฯ  กสฺมาติ  เจ  ฯ  กตญฺญุตา  

สปฺปุริเสหิ  วณฺณิตาติ  กตญฺญุตา  นาม  พุทฺธาทีหิ  อุตฺตมปุริเสหิ  

ปสํสิตา  ฯ  

        อุปฏฺฐิโตติ  ปยิรุปาสิโต  อิทํ  คณฺห  อิทํ ภุญฺชาติ  

อนฺนปานาทินา  อุปฏฺฐิโต  ฯ  อทุพฺภปาณีติ  อหึสกหตฺโถ  

หตฺถสํยโต  ฯ  ทหเต  มิตฺตทุพฺภินฺติ  ตํ  มิตฺตทุพฺภึ  ปุคฺคลํ  ทหติ 

วินาเสติ  อปฺปทุฏฺเฐ  หิตชฺฌาสยสมฺปนฺเน  ปุคฺคเล  ปเรน  กโต  

อปราโธ  อวิเสเสน  ตสฺเสว  อนตฺถาวโห  อปฺปทุฏฺโฐ  ปุคฺคโล  

อตฺถโต  ตํ  ทหติ  นาม  ฯ  เตนาห  ภควา  

                โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ  

                สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส  

                ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ  

                สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโตติ ฯ  

        โย  ปุพฺเพ  กตกลฺยาโณติ  โย  ปุคฺคโล  เกนจิ  สาธุนา  

กตภทฺทโก  กตูปกาโร  ฯ  ปจฺฉา  ปาเปน  หึสตีติ  ตํ  ปุพฺพการินํ  

อปรภาเค  ปาเปน  อภทฺทเกน  อนตฺถเกน  พาธติ  ฯ  อลฺลปาณิหโต  

โปโสติ อลฺลปาณินา  อุปการกิริยาย  อลฺลปาณินา  โธตหตฺเถน  

ปุพฺพการินา  เหฏฺฐา  วุตฺตนเยน  หโต  พาธิโต  ตสฺส วา 

ปุพฺพการิโน  พาธเนน  หโต  อลฺลปาณิหโต  นาม  ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 251

บทว่า  ยานํ  ได้แก่  ยานอันนำมาซึ่งความสุขสบาย.  บทว่า  ทฺวารกํ  

ได้แก่ทวารวดีนคร.   ข้ออธิบาย   ในหนหลัง   มีดังต่อไปนี้   พวกเรา

ปรารถนาจะจากที่นี้ไปยังแคว้นกัมโพชะ  เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์

ที่จะพึงให้สำเร็จด้วยการไปนั้น     ย่อมสำเร็จในที่นี้เอง.     เพราะ

เทพบุตรนี้  เป็นผู้ให้สมบัติที่น่าใคร่   เพราะฉะนั้น  เราจึงขออ้อนวอน

เทพบุตรนี้     แล้วอุ้มเทพบุตรนี้    ขึ้นสู่ยาน    ตามอนุมัติของเทพบุตร

นั้น     หรือถ้าไม่ไปตามที่ตกลงกันไว้    จะข่มขี่เอาตามพลการแล้ว

จับเทพบุตรนั้นมัดแขนไพล่หลังไว้ในยาน   ออกจากที่นี้แล    รีบไปยัง

ทวารวดีนคร.

         ฝ่ายเจ้าอังกุระ     อันพราหมณ์พูดอย่างนี้แล้ว    ตั้งอยู่ใน

สัปปุริสธรรม เมื่อจะปฏิเสธคำจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

                    บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

           ไม่ควรทักรานกิ่งของต้นไม้นั้น     เพราะการ

           ประทุษร้ายมิตร เป็นความเลวทราม.

         บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   น   ภญฺเชยฺย   แปลว่า  ไม่พึงตัด.

บทว่า  มิตฺตทุพฺโภ  ได้แก่  การประทุษร้ายมิตร  คือ  นำความพินาศ

ให้เกิดแก่มิตรเหล่านั้น.  บทว่า  ปาปโก  ได้แก่  คนไม่ดี  คือ  คนมัก

ประทุษร้ายต่อมิตร.   จริงอยู่  ต้นไม้ที่มีร่มเงาเยือกเย็นอันใด   ย่อม

บันเทาความกระวนกระวาย   ของคนผู้ถูกความร้อนแผดเผา   ใคร ๆ

ไม่ควรคิดร้ายต่อต้นไม้นั้น.    ก็จะป่วยกล่าวไปใยถึงหมู่สัตว์เล่า.

ท่านแสดงว่า  เทพบุตรนี้   เป็นสัตบุรุษ  เป็นบุรพการีบุคคล ผู้บันเทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 252

ทุกข์     ผู้มีอุปการะมากแก่เราทั้งหลาย     เราไม่ควรคิดร้ายอะไร  ๆ 

ต่อเทพบุตรนั้น  โดยที่แท้เทพบุตรนั้นเราควรบูชาทีเดียว

               พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น   คิดว่า   มูลเหตุของประโยชน์   เป็นเหตุ

กำจัดความคดโกง     ดังนี้แล้ว     อาศัยทางอันเป็นแบบแผน     ตั้งอยู่

ในฝ่ายขัดแย้งต่อเจ้าอังกุระ  จึงกล่าวคาถาว่า :-

                       บุคคลอาศัยนั่งนอน  ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

            พึงตัดแม้ลำต้นของต้นไม้นั้นได้     ถ้ามีความต้อง

            การเช่นนั้น. 

        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  อตฺโถ  เจ  ตาทิโส  สิยา  ความว่า

ถ้าพึงมีความต้องการด้วยทัพพสัมภาระเช่นนั้น,     อธิบายว่า     แม้

ลำต้นของต้นไม้นั้นก็ควรตัด   จะป่วยกล่าวไปใยถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.

               เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว   เจ้าอังกุระเมื่อจะประคอง

เฉพาะสัปปุริสธรรม จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

               บุคคลอาศัยนั่งนอน  ที่ร่มเงาของต้นไม้ใด

         ไม่พึงทำลายแม้ใบของต้นไม้นั้น     เพราะการ

            ประทุษร้ายต่อมิตร  เป็นความเลวทราม.

        บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า   น  ตสฺส  ปตฺตํ  ภินฺเทยฺย  ความว่า

ไม่พึงทำแม้เพียงใบใบหนึ่ง     ของต้นไม้นั้นให้ตกไป     จะป่วยกล่าว

ไปใย   ถึงกิ่งเป็นต้นเล่า.

       พราหมณ์เมื่อจะประคองวาทะของตนแม้อีก     จึงกล่าวคาถา

ว่า  :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 253

                        บุคคลอาศัยนั่งนอนที่ร่นเงาของต้นไม้ใด   

                  พึงถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งรากได้  ถ้าพึงประสงค์

                  เช่นนั้น.

              บรรดาบทเหล่านั้น   บทว่า   สมูลมฺปิ   ตํ  อพฺพุเห   ความว่า

พึงถอน   คือพึงรื้อขึ้นซึ่งต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก   คือ   พร้อมด้วยราก

ในที่นั้น.

               เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว     เจ้าอังกุระมีความประสงค์

จะทำแบบแผนนั้นให้ไร้ประโยชน์อีก    จึงได้กล่าวคาถา    ๓    คาถา

เหล่านี้ว่า  :-

                       ก็บุรุษพึงพักอยู่ในเรือนของบุคคลใด

           ตลอดราตรีหนึ่ง หรือพึงได้ข้าวน้ำในที่ใด ไม่ควร

           มีจิตคิดร้ายต่อบุคคลนั้น.   ความเป็นผู้กตัญญู  อัน

           สัตบุรุษทั้งลาย    สรรเสริญแล้ว    บุคคลพึงพัก

           อาศัย   ในเรือนของบุคคลใด    แม้เพียงคืนเดียว

           พึงได้รับการบำรุงด้วยข้าวและน้ำ     ไม่ควรมีจิต 

           คิดประทุษร้าย    ต่อบุคคลนั้น    บุคคลมีมือไม่

           เบียดเบียน    ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร

           บุคคลใด    ทำความดีไว้ในปางก่อน     ภายหลัง

           เบียดเบียนด้วยความชั่ว     ผู้นั้นชื่อว่า     เป็นคน

           อกตัญญู  ย่อมไม่พบเห็นความเจริญทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ – หน้าที่ 254

                  บรรดาบทเหล่านั้น  บทว่า  ยสฺส  แปลว่า  ต่อบุคคลใด.  บทว่า    

เอกรตฺติมฺปิ    ความว่า   พึงอยู่อาศัยในเรือนอย่างเดียว   แม้เพียงราตรี

เดียว.  บทว่า  ยตฺถนฺนปานํ  ปุริโส  ลเภถ   ความว่า  บุรุษบางคน พึงได้

โภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง     ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ     ในสำนักของ

ผู้ใด.  บทว่า  น   ตสฺส  ปาปํ  มนสาปิ  จินฺตเย  ความว่า  บุคคลไม่พึง

มีจิตคิดร้ายต่อสิ่งที่ไม่ดี     คือสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่อบุคคลนั้น     ได้แก่

เป็นผู้ไม่รักใคร่     จะป่วยกล่าวไปใยถึงกายและวาจาเล่า.     หากมี

คำถามว่า   ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร  ?  ตอบว่า   เพราะความเป็นผู้

กตัญญู   อันสัตบุรุษทั้งหลาย   สรรเสริญแล้ว   อธิบายว่า   ขึ้นชื่อว่า

ความเป็นผู้กตัญญู  อันบุรุษผู้สูงสุด   มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  สรรเสริญ

แล้ว.

                  บทว่า   อุปฏฺฐิโต  แปลว่า    พึงให้เข้าไปนั่งใกล้    คือ    พึง

อุปัฏฐากด้วยข้าวและน้ำ   เป็นต้นว่า   ท่านจงรับสิ่งนี้  ท่านจงบริโภค

สิ่งนี้.  บทว่า  อทุพฺภปาณี  ได้แก่  ผู้มีมือไม่เบียดเบียน  คือ  ผู้สำรวม

มือ.   บทว่า   ทหเต   มิตฺตทุพิภึ   ความว่า   ย่อมแผดเผาคือ   ย่อมทำ

บุคคลผู้มักประทุษร้ายต่อมิตรนั้นให้พินาศ    ว่าโดยอรรถ    ชื่อว่า

ย่อมแผดเผา     ย่อมแผดเผาบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย     ผู้อันคนอื่น

กระทำความผิดในบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัยที่เป็นประโยชน์

ผู้ไม่ประทุษร้าย   คือ   นำมาซึ่งความพินาศแก่บุคคลนั้นนั่นแล.  โดย

ไม่แปลกกัน. ด้วยเหตุนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงตรัสว่า  :-

ทหเต  มิตฺตทุพฺภินฺติ  ตํ  มิตฺตทุพฺภึ  ปุคฺคลํ  ทหติ 

วินาเสติ  อปฺปทุฏฺเฐ  หิตชฺฌาสยสมฺปนฺเน  ปุคฺคเล  ปเรน  กโต  

อปราโธ  อวิเสเสน  ตสฺเสว  อนตฺถาวโห  อปฺปทุฏฺโฐ  ปุคฺคโล  

อตฺถโต  ตํ  ทหติ  นาม  

คำอธิบายของอรรถกถา เป็นดังนี้ –

ทหเต  มิตฺตทุพฺภินฺติ  ตํ  มิตฺตทุพฺภึ  ปุคฺคลํ  ทหติ  วินาเสติ  

คนที่ไม่ทำร้ายใคร (อทุพฺภปาณี หมายถึงเจ้าของบ้านที่ต้อนรับให้พักอยู่ด้วย) ย่อมแผดเผาคนที่ทำร้ายมิตร (มิตฺตทุพฺภึ คือคนที่เขาให้พักที่บ้าน ให้ข้าวให้น้ำ แต่แล้วก็กลับคิดร้ายต่อเขา) คือทำให้คนที่ทำร้ายมิตร (กลับต้อง) พินาศ (เอง)

หมายความว่าอย่างไร?

หมายความว่า อปฺปทุฏฺโฐ  ปุคฺคโล คนที่ไม่ได้ทำร้ายใคร (คือเจ้าของบ้าน) ปเรน  กโต  อปราโธ เขาถูกอีกคนหนึ่งทำความผิดให้ (คือถูกคนที่มาพักด้วยทำร้าย)  อวิเสเสน  ตสฺเสว  อนตฺถาวโห ความผิดที่คนมาพักด้วยทำนั้นก็จะนำความพินาศมาให้แก่คนทำเหมือนกับที๋เขาทำแก่เจ้าของบ้านนั่นเอง (อวิเสเสน “โดยไม่แปลกกัน” คือทำกับเขาอย่างไร ตัวเองก็จะได้รับผลอย่างนั้น) เพราะฉะนั้นท่านจึงว่า อปฺปทุฏฺโฐ  ปุคฺคโล  อตฺถโต  ตํ  ทหติ  นาม  โดยเนื้อหาจริงๆ (อตฺถโต) แล้ว เจ้าของบ้านซึ่งไม่ได้ทำร้ายใครเลยนั่นเอง ตํ  ทหติ  นาม ชื่อว่าย่อมแผดเผาคนที่คิดร้ายนั้น 

จริงๆ แล้วเจ้าของบ้านไม่ได้เป็นคนให้โทษแก่คนคิดร้าย หากแต่ผลกรรมของคนคิดร้ายนั่นเองเป็นตัวให้โทษ แต่เพราะกรรมนั้นทำแก่เจ้าของบ้าน จึงเหมือนกับว่าเจ้าของบ้านเป็นคนให้โทษ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *