บาลีวันละคำ

นิทเทส-คัมภีร์ย่อยในขุทกนิกาย (บาลีวันละคำ 3,423)

นิทเทส-คัมภีร์ย่อยในขุทกนิกาย

คัมภีร์อธิบายขยายความ

อ่านว่า นิด-เทด

นิทเทส” เขียนแบบบาลีเป็น “นิทฺเทส” (นิทฺ– มีจุดใต้ ) อ่านว่า นิด-เท-สะ รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง; ไม่มี, ออก) + ทิสฺ (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ซ้อน ทฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (นิ + ทฺ + ทิสฺ), ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิส > เทส

: นิ + ทฺ + ทิส = นิทฺทิสฺ + = นิทฺทิสณ > นิทฺทิส > นิทฺเทส แปลตามศัพท์ว่า “การแสดงออก

นิทฺเทส” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) นิเทศ, การบรรยายหรือพรรณนา, คุณลักษณะ, ความผิดแปลก (description, attribute, distinction)

(2) การอธิบายเชิงพรรณนาโวหาร, การอธิบายแบบวิเคราะห์โดยใช้คำถามและคำตอบ, การแปลความหมาย, การอธิบายความหมาย (descriptive exposition, analytic explanation by way of question & answer, interpretation, exegesis)

นิทฺเทส” ในภาษาไทยใช้เป็น “นิเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิเทศ : (คำแบบ) (คำนาม) คําแสดง, คําจําแนกออก. (คำกริยา) ชี้แจง, แสดง, จําแนก. (ป. นิทฺเทส; ส. นิรฺเทศ).”

(คำแบบ: คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป)

ในที่นี้คงรูปสะกดตามคำเดิมเป็น “นิทเทส” (นิท– ไม่ตัด ออก)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ที่คำว่า “ไตรปิฎก” กล่าวถึง “นิทเทส” ไว้ดังนี้ –

…………..

เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต

เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต

…………..

ขยายความ :

นิทเทส” เป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย แบ่งเป็น “มหานิทเทส” อธิบายความพระสูตร 16 สูตรในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต และ “จูฬนิทเทส” อธิบายความพระสูตร 16 สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต

ขุทกนิกาย” เป็น 1 ใน 5 ส่วนของพระสุตตันปิฎกหรือพระสูตร (พระสุตตันตปิฎกเป็น 1 ใน 3 ของไตรปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม) 

5 ส่วนของพระสุตตันปิฎกเรียกว่า “นิกาย” ประกอบด้วยทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย (คำเดิมสะกด สังยุตตนิกาย) อังคุตรนิกาย (คำเดิมสะกด อังคุตตรนิกาย) และขุทกนิกาย

ขุทกนิกายเป็นส่วนที่รวมคัมภีร์ย่อยไว้ 15 คัมภีร์ ที่เรียกว่า “คัมภีร์ย่อย” ไม่ได้หมายถึงเป็นคัมภีร์เล็กน้อยที่ไม่สำคัญ หากแต่หมายถึงคัมภีร์ที่ท่านไม่จัดรวมเข้าไว้ในนิกายทั้ง 4 แต่แยกออกมาไว้ต่างหาก บางคัมภีร์ใหญ่มากเช่น “ชาดก” มีความยาว 2 เล่มพระไตรปิฎก (เล่มที่ 27-28) และมีคัมภีร์อธิบายขยายความที่เรียกว่า “อรรถกถา” อีกถึง 10 เล่ม 

คัมภีร์ย่อย 15 คัมภีร์มีชื่อดังนี้ (1) ขุททกปาฐะ (2) ธรรมบท (3) อุทาน (4) อิติวุตตกะ (5) สุตตนิบาต (6) วิมานวัตถุ (7) เปตวัตถุ (8 ) เถรคาถา (9) เถรีคาถา (10) ชาดก (11) นิทเทส (12) ปฏิสัมภิทามรรค (13) อปทาน (14) พุทธวงส์ (15) จริยาปิฎก

…………..

คัมภีร์ “นิทเทส” เป็นภาษิตของพระสารีบุตร แบ่งเป็น “มหานิทเทส” อธิบายความพระสูตร 16 สูตรในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต และ “จูฬนิทเทส” อธิบายความพระสูตร 16 สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต

พระสูตร 16 สูตรในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาตที่คัมภีร์มหานิทเทสนำมาอธิบายมีดังนี้ –

1 กามสุตตนิทเทส

2 คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

3 ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส

4 สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส

5 ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส 

6 ชราสุตตนิทเทส

7 ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส

8 ปสูรสุตตนิทเทส

9 มาคันทิยสุตตนิทเทส

10 ปุราเภทสุตตนิทเทส

11 กลหวิวาทสุตตนิทเทส

12 จูฬวิยูหสุตตนิทเทส 

13 มหาวิยูหสุตตนิทเทส

14 ตุวฏกสุตตนิทเทส

15 อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

16 สารีปุตตสุตตนิทเทส

พระสูตร 16 สูตรในปารายนวรรคแห่งสุตตนิบาตที่คัมภีร์จูฬนิทเทสนำมาอธิบายมีดังนี้ –

1 อชิตมาณวกปัญหานิทเทส

2 ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหานิทเทส

3 ปุณณกมาณวกปัญหานิทเทส

4 เมตตคูมาณวกปัญหานิทเทส

5 โธตกมาณวกปัญหานิทเทส

6 อุปสีวมาณวกปัญหานิทเทส

7 นันทมาณวกปัญหานิทเทส

8 เหมกมาณวกปัญหานิทเทส

9 โตเทยยมาณวกปัญหานิทเทส

10 กัปปมาณวกปัญหานิทเทส

11 ชตุกัณณีมาณวกปัญหานิทเทส

12 ภัทราวุธมาณวกปัญหานิทเทส

13 อุทยมาณวกปัญหานิทเทส

14 โปสาลมาณวกปัญหานิทเทส

15 โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส

16 ปิงคิยมาณวกปัญหานิทเทส

รวมทั้งขัคควิสาณสุตตนิทเทส อธิบายขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาตอีก 1 สูตร

ทั้งหมดนี้คือเนื้อหาสาระของคัมภีร์ “นิทเทส

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าถามว่า ทำไมเขาไม่เข้าใจที่เราอธิบาย

: แต่จงถามว่า ทำไมเราไม่อธิบายให้เขาเข้าใจ

#บาลีวันละคำ (3,423)

26-10-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *