บาลีวันละคำ

สุตตนิบาต-คัมภีร์ย่อยในขุทกนิกาย (บาลีวันละคำ 3,417)

สุตตนิบาต-คัมภีร์ย่อยในขุทกนิกาย

ชุมนุมพระสูตรพิเศษ

อ่านว่า สุด-ตะ-นิ-บาด

ประกอบด้วยคำว่า สุตต + นิบาต 

(๑) “สุตต” 

บาลีเป็น “สุตฺต” (มีจุดใต้ ตฺ ตัวหน้า) อ่านว่า สุด-ตะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) สุจ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น ตฺ 

: สุจฺ + = สุจฺต > สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยาวออกไป” 

(2) สุ (ธาตุ = ไหล, หลั่ง) + ปัจจัย ซ้อน ตฺ 

: สุ + ตฺ + = สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พจนะที่หลั่งเนื้อความออกมา” “พจนะที่ยังเนื้อความให้หลั่งไหลออกมาเหมือนแม่โคหลั่งน้ำนม” 

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + ตา (ธาตุ = รักษา) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ตา > ), ซ้อน ตฺ 

: สุ + ตฺ + ตา = สุตฺตา > สุตฺต + = สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พจนะที่รักษาอรรถไว้ด้วยดี

(4) สุจ (ธาตุ = ประกาศ, ให้แจ่มแจ้ง) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น ตฺ 

: สุจฺ + = สุจฺต > สุตฺต แปลตามศัพท์ว่า “พจนะที่ประกาศเนื้อความ” 

สุตฺต” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ด้าย, เส้นด้าย (a thread, string) 

(2) ส่วนของปิฎกทางพุทธศาสนา the (discursive, narrational) part of the Buddhist Scriptures containing the suttas or dialogues, later called Sutta-piṭaka).

(3) หนึ่งในองค์แห่งหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า (หนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์) (one of the divisions of the Scriptures) 

(4) กฎ, มาตรา (a rule, a clause)

(5) บท, หมวด, คำสนทนา, ข้อความ, ข้อสนทนา (a chapter, division, dialogue, text, discourse) 

(6) ฉันท์โบราณ, คำอ้างอิง (an ancient verse, quotation) 

(7) หนังสือเกี่ยวกับกฎ, เรื่องราวเก่าๆ, ตำรา (book of rules, lore, text book) 

บาลี “สุตฺต” สันสกฤตเป็น “สูตฺร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “สูตฺร” ไว้ดังนี้ – 

(สะกดตามต้นฉบับ)

สูตฺร : (คำนาม) ‘สูตร์,’ ด้ายทั่วไป; วิธี, นิเทศในนีติหรือศาสตร์; พากย์สั้นอันบอกวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งในไวยากรณ์, ตรรกวิทยา, ฯลฯ; มติหรือศาสนบัตร์ในนีติ; thread or string in general; an axiom or a rule, a precept in morals or science; a short sentence intimating some rule in grammar, logic, &c.; an opinion or decree in law.”

ในภาษาไทย “สูตร” มีความหมายหลายอย่างเช่นกัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สูตร” ไว้ 3 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(1) สูตร ๑ : (คำนาม) กฎสําหรับจดจํา เช่น สูตรคูณ สูตรคณิตศาสตร์; ส่วนประกอบที่กำหนดขึ้นในการปรุงยา อาหาร เครื่องดื่ม เป็นต้น. (ส.; ป. สุตฺต).

(2) สูตร ๒ : (คำนาม) ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียงร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร สูตรสนธิ.

(3) สูตร ๓ : (คำนาม) มุ้ง, ม่าน, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสูตร หรือ พระวิสูตร.

สุตฺต” ในที่นี้ใช้ทับศัพท์เป็น “สุตต” (สุด-ตะ, เขียนแบบไทยไม่มีจุดใต้ ตัวหน้า)

(๒) “นิบาต” 

บาลีเป็น “นิปาต” อ่านว่า นิ-ปา-ตะ รากศัพท์มาจาก นิ (คำอุปสรรค = เข้า, ลง) + ปต (ธาตุ = ตก) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ที่ -(ตฺ) เป็น อา (ปตฺ > ปาต)

: นิ + ปตฺ = นิปตฺ + = นิปตณ > นิปต > นิปาต แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ตกไปโดยไม่เหลือ” (คือตกไปทั้งตัว) 

นิปาต” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) ล้มลงไป (falling down)  

(2) การหยั่งลง (descending) 

(3) นิบาต, คำในไวยากรณ์ ใช้สำหรับกริยาวิเศษณ์, คำต่อและอุทาน (a particle, the grammatical term for adverbs, conjunctions & interjections) 

(4) ตอนของหนังสือ (a section of a book) 

ในที่นี้ “นิปาต” ใช้ในความหมายตามข้อ (4) 

นิปาต” ในภาษาไทยใช้เป็น “นิบาต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิบาต : (คำนาม) เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = ชื่อคัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = ชื่อคัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๒ ข้อ. (ป., ส. นิปาต).”

สุตฺต + นิปาต = สุตฺตนิปาต (สุด-ตะ-นิ-ปา-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ตกไปโดยไม่เหลือแห่งพระสูตร” หมายถึง ชุมนุมพระสูตร คือพระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือพระสูตรพิเศษถูกนำมารวมไว้ในคัมภีร์นี้

สุตฺตนิปาต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สุตตนิบาต” (สุด-ตะ-นิ-บาด) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

สุตตนิบาต : (คำนาม) คัมภีร์ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน.”

…………..

ขยายความ :

สุตตนิบาต” เป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย 

ขุทกนิกาย” เป็น 1 ใน 5 ส่วนของพระสุตตันปิฎกหรือพระสูตร (พระสุตตันตปิฎกเป็น 1 ใน 3 ของไตรปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม) 

5 ส่วนของพระสุตตันปิฎกเรียกว่า “นิกาย” ประกอบด้วยทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย (คำเดิมสะกด สังยุตตนิกาย) อังคุตรนิกาย (คำเดิมสะกด อังคุตตรนิกาย) และขุทกนิกาย

ขุทกนิกายเป็นส่วนที่รวมคัมภีร์ย่อยไว้ 15 คัมภีร์ ที่เรียกว่า “คัมภีร์ย่อย” ไม่ได้หมายถึงเป็นคัมภีร์เล็กน้อยที่ไม่สำคัญ หากแต่หมายถึงคัมภีร์ที่ท่านไม่จัดรวมเข้าไว้ในนิกายทั้ง 4 แต่แยกออกมาไว้ต่างหาก บางคัมภีร์ใหญ่มากเช่น “ชาดก” มีความยาว 2 เล่มพระไตรปิฎก (เล่มที่ 27-28) และมีคัมภีร์อธิบายขยายความที่เรียกว่า “อรรถกถา” อีกถึง 10 เล่ม 

คัมภีร์ย่อย 15 คัมภีร์มีชื่อดังนี้ (1) ขุททกปาฐะ (2) ธรรมบท (3) อุทาน (4) อิติวุตตกะ (5) สุตตนิบาต (6) วิมานวัตถุ (7) เปตวัตถุ (8 ) เถรคาถา (9) เถรีคาถา (10) ชาดก (11) นิทเทส (12) ปฏิสัมภิทามรรค (13) อปทาน (14) พุทธวงส์ (15) จริยาปิฎก

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “สุตตนิบาต” ไว้ดังนี้ –

…………..

สุตตนิบาต : ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วน หรือมีความนำร้อยแก้วบ้าง รวม ๗๑ สูตร จัดเป็นคัมภีร์ที่ ๕ แห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก.

…………..

พระสูตรชุดพิเศษที่รวมไว้ใน “สุตตนิบาต” มีดังนี้ –

1 อุรคสูตร

2 ธนิยสูตร

3 ขัคควิสาณสูตร

4 กสิภารทวาชสูตร

5 จุนทสูตร

6 ปราภวสูตร

7 วสลสูตร

8 เมตตสูตร

9 เหมวตสูตร

10 อาฬวกสูตร

11 วิชยสูตร

12 มุนิสูตร

13 รตนสูตร

14 อามคันธสูตร

15 หิริสูตร

16 มงคลสูตร

17 สูจิโลมสูตร

18 ธัมมจริยสูตร

19 พราหมณธัมมิกสูตร

20 นาวาสูตร

21 กิงสีลสูตร

22 อุฏฐานสูตร

23 ราหุลสูตร

24 วังคีสสูตร

25 สัมมาปริพพาชนิยสูตร

26 ธัมมิกสูตร

27 ปัพพชาสูตร

28 ปธานสูตร

29 สุภาสิตสูตร

30 สุนทริกสูตร

31 มาฆสูตร

32 สภิยสูตร

33 เสลสูตร

34 สัลลสูตร

35 วาเสฏฐสูตร

36 โกกาลิกสูตร

37 นาลกสูตร

38 ทวยตานุปัสสนาสูตร

39 กามสูตร

40 คุหัฏฐกสูตร

41 ทุฏฐัฏฐกสูตร

42 สุทธัฏฐกสูตร

43 ปรมัฏฐกสูตร 

44 ชราสูตร

45 ติสสเมตเตยยสูตร

46 ปสูรสูตร

47 มาคันทิยสูตร

48 ปุราเภทสูตร

49 กลหวิวาทสูตร

50 จูฬวิยูหสูตร 

51 มหาวิยูหสูตร

52 ตุวฏกสูตร

53 อัตตทัณฑสูตร

54 สารีปุตตสูตร

55 วัตถุคาถา

56 อชิตมาณวกปัญหา

57 ติสสเมตเตยยมาณวกปัญหา

58 ปุณณกมาณวกปัญหา

59 เมตตคูมาณวกปัญหา

60 โธตกมาณวกปัญหา

61 อุปสีวมาณวกปัญหา

62 นันทมาณวกปัญหา

63 เหมกมาณวกปัญหา

64 โตเทยยมาณวกปัญหา

65 กัปปมาณวกปัญหา

66 ชตุกัณณีมาณวกปัญหา

67 ภัทราวุธมาณวกปัญหา

68 อุทยมาณวกปัญหา

69 โปสาลมาณวกปัญหา

70 โมฆราชมาณวกปัญหา

71 ปิงคิยมาณวกปัญหา

…………..

ดูก่อนภราดา!

หัดมองในมุมกลับไว้บ้างก็น่าจะดี –

: เรื่องใหญ่ อาจเป็นเรื่องเล็กน้อย

: เรื่องย่อย อาจเป็นเรื่องสำคัญ

#บาลีวันละคำ (3,417)

20-10-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *