บาลีวันละคำ

อาโรคยศาล (บาลีวันละคำ 1,528)

อาโรคยศาล

ไม่ใช่ อโรคยาศาล

อาโรคยศาล” อ่านแบบไทยว่า อา-โรก-คยะ-สาน

ประกอบด้วย อาโรคย + ศาล

(๑) “อาโรคย

บาลีเขียน “อาโรคฺย” (มีจุดใต้ คฺ) รากศัพท์มาจาก :-

ขั้นที่ 1 : โรค (โร-คะ) = ความเจ็บป่วย, โรค (illness, disease)

ขั้นที่ 2 : + โรค (แปลง เป็น ) = อโรค : โรคของผู้นั้นไม่มี เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า “อโรค” (อะ-โร-คะ) = ผู้ไม่มีโรค, ไม่เจ็บป่วย, มีสุขภาพดี (one who without disease, one who healthy)

ขั้นที่ 3 : อโรค + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ยืดเสียง อะ ที่ (-โรค) เป็น อา ตามสูตร : “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ

: อโรค > อาโรค + ณฺย > = อาโรคฺย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะของผู้ไม่มีโรค” หมายถึง ความไม่มีโรค, ความมีอนามัยดี (absence of illness, health)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อาโรคฺย : (คำนาม) ความสำราญ, ความไม่มีโรค; health, soundness of body.”

ทำความเข้าใจ :

(1) คำเดิม “อโรค” (อะ-โร-คะ) ผ่านกรรมวิธีทางไวยากรณ์เป็น “อาโรคฺย

จาก โร- เป็น อาโร-

(2) “อาโรคฺยคฺ ควาย เป็นตัวสะกดและออกเสียงครึ่งเสียง ดังนั้น จะอ่านว่า อา-โร-คะ-ยะ ไม่ถูก อ่านว่า อา-โรก-ยะ ก็ไม่ถูก

(3) “อาโรคฺย” ออกเสียงว่า อา-โรก-เคียะ จะเป็นเสียงตรงที่สุด

จำไว้สั้นๆ –

: อาโรคฺย – ถูก

: อโรคยา – ผิด

(๒) “ศาล

รูปคำตรงกับบาลีว่า “สาลา” รากศัพท์มาจาก สลฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, ลบ , “ทีฆะต้นธาตุ” คือยืดเสียง อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (สลฺ > สาล) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สลฺ + = สลณ > สล > สาล + อา = สาลา แปลตามศัพท์ว่า “โรงเรือนเป็นที่ผู้คนไปหา

สาลา” หมายถึง ห้องโถง (มีหลังคาและมีฝาล้อมรอบ), ห้องใหญ่, บ้าน; เพิง, โรงสัตว์ (a large [covered & enclosed] hall, large room, house; shed, stable)

ภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “ศาลา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาลา : (คำนาม) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรือเพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาวัด ศาลาที่พัก ศาลาท่านํ้า, โดยปริยายหมายถึงอาคารหรือสถานที่บางแห่ง ใช้เพื่อประโยชน์การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศาลาพักร้อน ศาลาสวดศพ. (ส.; ป. สาลา).”

คำว่า “ศาลา” นั่นเองลดรูปและเสียงลงเป็น “ศาล” อ่านว่า สาน

พจน.54 บอกความหมายคำว่า “ศาล” ในภาษาไทยไว้ว่า –

ศาล : (คำนาม) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (กฎ) องค์กรฝ่ายตุลาการซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี, ผู้พิพากษาหรือตุลาการซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.”

อาโรคฺย + สาลา = อาโรคฺยสาลา > อาโรคยศาล แปลตามศัพท์ว่า “ศาลาเพื่อความไม่มีโรค

จะเห็นได้ว่า คำว่า “อาโรคยศาล” นี้ รูปคำเป็น “ศาล” แต่ใช้ในความหมายของ “ศาลา

อาโรคฺยสาลา” หมายถึง โรงพยาบาล (hospital หรือ medical station) เป็นศัพท์ที่มีใช้ในคัมภีร์

คัมภีร์มโรถปูรณี ภาค 1 แสดงประวัติของพระพากุลเถระไว้ว่า ในอดีตชาติท่านจัดหายารักษาโรคถวายพระภิกษุอาพาธ อีกชาติหนึ่งท่านบูรณะวัดเก่าแห่งหนึ่ง โดยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกภายในวัดสำหรับพระสงฆ์ กล่าวคือ –

(1) จงฺกม = ที่จงกรม (the cloister)

(2) อคฺคิสาลา = โรงไฟ (a heated hall or refectory)

(3) ชนฺตาฆร = ห้องอบตัว (a hot room for bathing purposes, a sitzbath)

(4) กปฺปิยกุฏิ = โรงครัว (a building outside the Vihāra, wherein allowable articles were stored, a kind of warehouse)

(5) วจฺจกุฏิ = ห้องสุขา (a privy)

(6) อาโรคฺยสาลา = สถานพยาบาล (medical station)

(7) รตฺติฏฺฐานทิวาฏฺฐาน = ที่พักที่เหมาะแก่การพักค้างแรมและพักเฉพาะกลางวัน (night and day resort)

จะเห็นได้ว่า สิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาสุขภาพทั้งสิ้น

ด้วยอานิสงส์แห่งบุญที่ท่านบำเพ็ญมา เป็นเหตุให้พระพากุลเถระเป็นผู้มีโรคน้อยอย่างยิ่ง และมีอายุยืนถึง 160 ปี

………….

: รักษาโรคทางกาย ก็ยังต้องตายต้องเกิด

: รักษาโรคทางใจจึงประเสริฐ เพราะไม่ต้องเกิดต้องตาย

—————

หมายเหตุ:

ภาพประกอบภาพแรกจาก google

อีกสองภาพถ่ายจากวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี

10-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย