บาลีวันละคำ

อัตตวาทุปาทาน (บาลีวันละคำ 3,429)

อัตตวาทุปาทาน

เชื่อว่ามีตัวตนเป็นอมตะ

อ่านว่า อัด-ตะ-วา-ทุ-ปา-ทาน

แยกศัพท์เป็น อัตต + วาท + อุปาทาน

(๑) “อัตต” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อตฺต” อ่านว่า อัด-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้) 

(๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ) 

(๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น  

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

(๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

(๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul)

อตฺต” หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

ในทางปรัชญา “อตฺต” หรือ “อตฺตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” (อัด-ตา) ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) 

(๒) “วาท” 

บาลีอ่านว่า วา-ทะ รากศัพท์มาจาก วทฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (วท > วาท)

: วทฺ + = วทณ > วท > วาท (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “คำเป็นเครื่องพูด

คำว่า “วาท” ที่ใช้ในภาษาบาลีมีความหมายกว้างกว่าที่เราเข้าใจกันในภาษาไทย กล่าวคือ :

(1) การพูด, คำพูด, การคุย (speaking, speech, talk)

(2) สิ่งที่พูดกัน, ชื่อเสียง, คุณสมบัติ, ลักษณะพิเศษ (what is said, reputation, attribute, characteristic)

(3) การสนทนา, การทะเลาะกัน, การโต้เถียง, ความขัดแย้ง, การคัดค้าน (discussion, disputation, argument, controversy, dispute)

(4) คำสอน, ทฤษฎี, ความเชื่อ, หลักความเชื่อ, ลัทธิ, นิกาย (doctrine, theory put forth, creed, belief, school, sect)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วาท, วาท– : (คำนาม) คําพูด, ถ้อยคํา; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).”

(๓) “อุปาทาน” 

ภาษาไทยอ่านว่า อุ-ปา-ทาน หรือ อุบ-ปา-ทาน บาลีอ่านว่า อุ-ปา-ทา-นะ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้) + อา (คำอุปสรรค = กลับความ) + ทา (ธาตุ = ให้) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

หลักภาษา : อา คำอุปสรรคปกติใช้นำหน้าธาตุ มีความหมายหลายอย่างคือ ทั่ว, ยิ่ง, กลับความ ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า “กลับความ” คือนำหน้าธาตุตัวใด ทำให้ความหมายของธาตุตัวนั้นกลายเป็นตรงกันข้าม

ในที่นี้ “ทา” ธาตุ มีความหมายว่า “ให้

เมื่อมี อา นำหน้า เป็น “อาทา” ความหมายกลับตรงกันข้าม จาก “ให้” กลายเป็น “เอา” (รับเอา, คว้าเอา, ยึดเอา)

: อุป + อา + ทา = อุปาทา + ยุ > อน = อุปาทาน (อุ-ปา-ทา-นะ) แปลตามศัพท์ว่า (1) “การเข้าไปยึดเอา” (สิ่งที่จะยึดเอาอยู่ที่ไหน จิตก็เข้าไปที่นั่นแล้วยึดติดอยู่) (2) “สิ่งที่ไฟจับเอา

อุปาทาน” ในบาลีใช้ในความหมาย 2 นัย คือ –

(1) อาศัย, ยึด, ยึดมั่น, ถือมั่น, เครื่องเกาะ, อุปาทาน (drawing upon, grasping, holding on, grip, attachment)

(2) เชื้อ, เสบียง, อาหาร (fuel, supply, provision)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปาทาน : (คำนาม) การยึดมั่นถือมั่น, การนึกเอาเองแล้วยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ. (ป.).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

อุปาทาน : ความถือมั่น, ความยึดติดถือค้างถือคาไว้ (ปัจจุบันมักแปลกันว่า ความยึดมั่น) ไม่ปล่อยไม่วางตามควรแก่เหตุผล เนื่องจากติดใคร่ชอบใจหรือใฝ่ปรารถนาอย่างแรง.”

การประสมคำ :

(๑) อตฺต + วาท = อตฺตวาท (อัด-ตะ-วา-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “การกล่าวว่ามีตน” หมายถึง ลัทธิ หรือทฤษฎี หรือความเชื่อ ว่าคนเรามีตัวจริงตัวแท้ที่เป็นอมตะอยู่

(๒) อตฺตวาท + อุปาทาน = อตฺตวาทุปาทาน (อัด-ตะ-วา-ทุ-ปา-ทา-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “การยึดมั่นในคำกล่าวว่ามีตน” หมายถึง การถือมั่นในลัทธิ หรือทฤษฎี หรือความเชื่อ ว่าคนเรามีตัวจริงตัวแท้ที่เป็นอมตะอยู่

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “อัตตวาทุปาทาน” ไว้ดังนี้ –

…………..

อัตตวาทุปาทาน : การถือมั่นวาทะว่าตน คือความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่านั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)

…………..

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [214] ว่าด้วย อุปาทาน 4 (คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และ อัตตวาทุปาทาน) อธิบายความหมายของ “อัตตวาทุปาทาน” ไว้ดังนี้ – 

…………..

อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลาย หรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวง อันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ — Attavādupādāna: clinging to the ego-belief)

…………..

สรุปว่า “อัตตวาทุปาทาน” ก็คือการยึดทฤษฎีหรือความเชื่อว่าคนเรามีตัวจริงตัวแท้ ไม่เปลี่ยนแปรเป็นอย่างอื่น เกิดแล้วตายกี่ชาติ ตัวแท้นั้นก็จะยังคงอยู่เสมอไป 

จากทฤษฎีนี้จึงมีคำสอนให้สร้างหรือให้หวังภพภูมิที่จะให้ตัวจริงตัวแท้ที่ว่านี้ไปสถิตเพื่อเสวยสุขอยู่ยั้งยืนนานไปตลอดกาล ภพภูมิที่ว่านี้ก็คือที่ลัทธิพราหมณ์เรียกว่า “พรหมัน” หรือ “ปรมาตมัน”

และจากทฤษฎีนี้ ก็จึงเกิดคำสอนที่ให้เชื่อว่า “นิพพาน” ในพระพุทธศาสนานี่แหละคือภพภูมิที่ตัวจริงตัวแท้จะไปสถิตอยู่เมื่อปฏิบัติจนบรรลุแล้ว

“นิพพาน” ซึ่งเป็นอิสระปลอดพ้นจากภพภูมิทั้งปวง (เพราะถ้ายังมีภพมีภูมิอยู่ไม่ว่าจะในรูปแบบหรือลักษณะใดๆ ก็จะยังไม่พ้นไปจากเวียนเกิดเวียนตาย สิ่งที่เกิดแล้วมีแล้วจะไม่ตายไม่ดับนั้นหามีไม่) จึงถูกลัทธิ “อัตตวาทุปาทาน” ที่ซ่อนแฝงอยู่ในพระพุทธศาสนาบางสำนักดึงกลับเข้าไปรวมอยู่ใน “พรหมัน” หรือ “ปรมาตมัน” ของพราหมณ์อีกเพราะความหลงผิด ด้วยประการฉะนี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความเชื่อมั่นในตัวเอง ดี

: แต่ความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างผิดๆ ไม่ดี

#บาลีวันละคำ (3,429)

1-11-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *