บาลีวันละคำ

โสตศอนาสิก (บาลีวันละคำ 3,428)

โสตศอนาสิก

ภาษาลูกผสม

อ่านว่า โสด-สอ-นา-สิก

ประกอบด้วย โสต + ศอ + นาสิก

(๑) “โสต

บาลีอ่านว่า โส-ตะ รากศัพท์มาจาก สุ (ธาตุ = ฟัง, ได้ยิน) + ปัจจัย, แผลง อุ เป็น โอ (สุ > โส)

: สุ + = สุต > โสต แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะที่ได้ยิน” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องฟัง

โสต” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง หู, โสตประสาท (ear, the organ of hearing)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

โสต, โสต– ๑ : (คำนาม) หู, ช่องหู. (ป.; ส. โศฺรตฺร).”

(๒) “ศอ” 

คำนี้รูปร่างหลอกตา ชวนให้นึกว่าน่าจะเป็นบาลีสันสกฤต แต่ไม่ใช่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ศอ : (คำนาม) คอ, ราชาศัพท์ ว่า พระศอ.”

ศอ” คือ “คอ” ถ้าแปลเป็นบาลีก็ควรจะตรงกับศัพท์ว่า “คล” (คะ-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) คิลฺ (ธาตุ = กิน) + (อะ) ปัจจัย, ลบ อิ ต้นธาตุ (คิลฺ > คล)

: คิลฺ + = คิล > คล แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องกินอาหาร

(2) คลฺ (ธาตุ = กกลืนกิน) + (อะ) ปัจจัย

: คลฺ + = คล แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องกลืนอาหาร

คล” (ปุงลิงค์) หมายถึง คอหรือคอหอย (the throat)

จินตนาการแทรก :

๑ “คอ” ขึ้นต้นด้วย ควาย เช่นเดียวกับ “คล” ก็ขึ้นต้นด้วย ควาย

๒ และ “คอ” กับ “ศอ” ในภาษาไทย-เขียนด้วยอักษรไทยก็ดูชอบกล คือ ศาลา นั่นเอง ถ้าตัดหางออกก็กลายเป็น ควาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ควาย นั่นเอง ถ้าเติมหางก็กลายเป็น ศาลา

ศอ” ตัดหาง = “คอ

คอ” เติมหาง = “ศอ

โปรดทราบว่า นี่เป็นจินตนาการล้วน ไม่ใช่หลักวิชา โดยเฉพาะไม่ใช่นิรุกติศาสตร์อย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ฟังเล่นขำๆ อย่าจำเอาไปอ้างอิง

(๓) “นาสิก

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) มีคำว่า “นาสา” และ “นาสิกา” บอกไว้ดังนี้ –

(1) “นาสา” รากศัพท์มาจาก นสฺ (ธาตุ = ถือเอากลิ่น, ดมกลิ่น) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นธาตุ (นสฺ > นาส) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 

: นสฺ + = นสณ > นส > นาส + อา = นาสา แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องดมกลิ่น” 

(2) “นาสิกา” รากศัพท์มาจาก นสฺ (ธาตุ = ถือเอากลิ่น, ดมกลิ่น) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ), ทีฆะต้นธาตุ (นสฺ > นาส), แผลง อะ ที่ (นา)- เป็น อิ (นาส > นาสิ), + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 

: นสฺ + ณฺวุ > อก = นสก > นาสก > นาสิก + อา = นาสิกา แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องดมกลิ่น” 

นาสา” และ “นาสิกา” หมายถึงสิ่งเดียวกัน คือ จมูก (the nose) แต่เฉพาะ “นาสา” ในที่บางแห่งยังหมายถึง งวงช้าง (the trunk of an elephant) อีกด้วย

นาสา” และ “นาสิกา” รูปสันสกฤตก็เป็นเช่นนี้ 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(1) นาสา : (คำนาม) นาสิกา, จมูก; ตัวไม้เบื้องบนประตู; the nose; the upper timber of the door.

(2) นาสิกา : (คำนาม) ‘นาสิกา,’ จมูก, ‘นาสิก’ ก็ใช้; ตัวไม้เบื้องบนประตู; the nose; the upper timber of the door.

นาสิกา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “นาสิก” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาสิก : (คำแบบ) (คำนาม) จมูก. (ป., ส. นาสิกา).”

(1) “โสต” (2) “ศอ” (3) “นาสิก” ในภาษาไทยมีการจับมารวมกัน จะอนุโลมเรียกว่าสมาสก็คงพอได้ เป็น “โสตศอนาสิก” ได้ยินอ่านกันว่า โสด-สอ-นา-สิก แปลง่ายๆ ว่า หู คอ จมูก

ขยายความ :

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (อ่านเมื่อ 31 ตุลาคม 2564 เวลา 20:30)  มีคำว่า “โสตศอนาสิกวิทยา” มีข้อความดังนี้ (อักขรวิธีตามต้นฉบับ) –

…………..

โสตศอนาสิกวิทยา (อังกฤษ: Otolaryngology) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก

รากศัพท์ของ “Otolaryngology” มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto = รากศัพท์แปลว่าหู, laryngo = รากศัพท์แปลว่ากล่องเสียงหรือช่องคอ, logy = การศึกษา) แปลตามตัวหมายถึงการศึกษาหูและคอ คำเต็มอาจเรียกว่า ωτορινολαρυγγολογία (otorhinolaryngology) ซึ่งเพิ่มคำว่า rhino ซึ่งเป็นรากศัพท์หมายถึงจมูกลงไปด้วย

…………..

ผู้ปรารถนาจะได้ความรู้เกี่ยวกับ “โสตศอนาสิก” หรือ “โสตศอนาสิกวิทยา” ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ โปรดศึกษาสืบค้นกันต่อไปเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

อันว่าอวัยวะร่างกาย –

: จงบริหารมันเพื่อให้มันบริการเรา

: แต่อย่ามัวเมาเป็นทาสรับใช้มัน

#บาลีวันละคำ (3,428)

31-10-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *