บาลีวันละคำ

วีรกรรม (บาลีวันละคำ 3,433)

วีรกรรม

การทำความดีอย่างกล้าหาญ

อ่านว่า วี-ระ-กำ

ประกอบด้วยคำว่า วีร + กรรม

(๑) “วีร” 

บาลีอ่านว่า วี-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) วี (ธาตุ = ก้าวไป) + ปัจจัย 

: วี + = วีร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ก้าวไปสู่ความสูงสุด

(2) วีรฺ (ธาตุ = กล้าหาญ) + (อะ) ปัจจัย 

: วีร + = วีร แปลว่า “ผู้กล้าหาญ

(3) วิ ( = ไม่มี, ปราศจาก) + อีร ( = ความหวั่นไหว

: วิ + อีร = วีร แปลว่า “ผู้ปราศจากความหวั่นไหว

วีร” มีความหมายว่า เป็นชาติชาย, ทรงอำนาจ, เก่งกล้า, ผู้กล้าหาญ (manly, mighty, heroic; a hero)

บาลี “วีร” สันสกฤตก็เป็น “วีร

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วีร : (คำวิเศษณ์) วิศิษฏ์, กล้า; มีพลศักดิ์; แข็งแรง; eminent; heroic; powerful, strong; – (คำนาม) ผู้แกว่นกล้า; นักรบ; ความกล้าหาญ; a hero; a warrior; heroism.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วีร– : (คำวิเศษณ์) กล้าหาญ. (ป., ส.).”

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมใช้ทับศัพท์อิงรูปสันสกฤตว่า “กรรม

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.”

ในที่นี้ “กรรม” หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความตั้งใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ซึ่งจะมีผลตามมา

วีร + กมฺม = วีรกมฺม (วี-ระ-กำ-มะ) แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำของผู้กล้า” 

วีรกมฺม” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วีรกรรม” (วี-ระ-กำ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

วีรกรรม : (คำนาม) การกระทําที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ, การกระทําของผู้กล้าหาญ.”

ขยายความ :

คำว่า “วีร” ภาษาลาตินว่า vir, virtus นักภาษาว่าตรงกับ virtue ในภาษาอังกฤษ

ในคัมภีร์บาลี แสดงความหมายของ “วีร” โดยวัดที่การลงมือทำความดี (virtue) หมายถึง ความกล้าที่จะทำความดีเท่านั้นจึงจะนับว่าเป็น “วีรกรรม

วีรกรรม” คือการทำความดีอย่างกล้าหาญ ท่านว่า ผู้ทำจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ –

(1) “วิริยวา” (วิริยะวา) – บากบั่นกล้าสู้

(2) “ปหู” (ปะหู) – ทำเต็มความสามารถ

(3) “วิสวี” (วิสะวี) – รู้งานและแนะนำให้กำลังใจผู้ร่วมงานได้ 

(4) “อลมตฺต” (อะละมัตตะ) – ทำตัวให้เหมาะกับงาน (ไม่ใช่อ้างว่างานนี้ฉันไม่ถนัด)

(5) “สูร” (สูระ) – ทำแบบถวายชีวิต (ไม่แล้วไม่เลิก)

(6) “วิกฺกนฺต” (วิกกันตะ) – บุกไปข้างหน้าเหมือนม้าโผนศึก

(7) “อภีรุ” (อะภีรุ) – ไม่กลัวตาย

(8 ) “อจฺฉมฺภี” (อัจฉัมภี) – ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึง

(9) “อนุตฺราสี” (อะนุตราสี) – ไม่วิตกกังวล 

(10) “อปลายี” (อะปะลายี) – ไม่หนีหน้า 

(11) “ปหีนภยเภรว” (ปะหีนะภะยะเภระวะ) – ทิ้งความกลัวและความหวั่นเกรงไว้เบื้องหลัง 

(12) “วิคตโลมหํส” (วิคะตะโลมะหังสะ) – ไม่ตื่นเต้นหรือตื่นตระหนก

แถม :

ในภาษาไทย มีการนำคำว่า “วีรกรรม” ไปใช้เป็นภาษาปาก เรียกการกระทำที่มักจะฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือระเบียบวินัยโดยไม่เกรงว่าจะต้องได้รับโทษ หรือเด็กที่มีนิสัยดื้อรั้น ชอบขัดขืนหรือละเมิดคำสั่งของผู้ใหญ่หรือของครูบาอาจารย์จนเป็นที่รู้กันทั่วไป เช่นพูดว่า “เขาสร้างวีรกรรมไว้เยอะ” 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยอดของวีรกรรม

: คือกล้าที่จะทำเรื่องดีๆ

#บาลีวันละคำ (3,433)

5-11-64 

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *