บาลีวันละคำ

ราคี (บาลีวันละคำ 3,432)

ราคี

จะชั่วจะดีเป็นสิทธิส่วนบุคคล?

อ่านตรงตัวว่า รา-คี

ราคี” คำบาลีรูปคำเดิมคือ ราค + อี ปัจจัย

(๑) “ราค” 

บาลีอ่านว่า รา-คะ รากศัพท์มาจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ย้อม, กำหนัด) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ญฺ ที่ รญฺชฺ (รญฺช > รช), ทีฆะ อะ ที่ -(ชฺ) เป็น อา (รชฺ > ราช), แปลง ป็น  

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช > ราค (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การย้อมสี” “ภาวะเป็นเหตุให้กำหนัด” 

ราค” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) สี, สีย้อม, การทำให้เป็นสี (colour, hue; colouring, dye) 

(2) ความกำหนัด, ตัณหา (excitement, passion) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราค-, ราคะ : (คำนาม) ความกําหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. (ป., ส.).”

(๒) ราค + อี ปัจจัยในตัทธิต

แนะนำ “ตัทธิต” พอเป็นอุปนิสัยปัจจัย :

คำว่า “ตัทธิต” อ่านว่า ตัด-ทิด หมายถึงคำนามจำพวกหนึ่งที่ใช้ “ปัจจัย” แทนศัพท์ (นึกถึงหลักที่ว่า “บาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย”) 

เช่นคำว่า “ธมฺมิก” (ทำ-มิ-กะ) แปลว่า “ประกอบด้วยธรรม” 

คำที่แปลว่า “ธรรม” บาลีว่า “ธมฺม” (ทำ-มะ)

คำที่แปลว่า “ประกอบ” บาลีว่า “นิยุตฺต” (นิ-ยุด-ตะ) 

เมื่อพูดว่า “ประกอบด้วยธรรม” คำบาลีก็ควรจะเป็น “ธมฺมนิยุตฺต” แต่เราไม่เห็นคำว่า “นิยุตฺต” เพราะใช้ “อิก” (อิ-กะ) ปัจจัยแทน 

ธมฺม + อิก = ธมฺมิก แปลว่า “ประกอบด้วยธรรม” นั่นคือ “อิก” ใช้แทนคำว่า “นิยุตฺต” (ประกอบ)

ธมฺมิก” จึงเป็นคำที่เรียกว่า “ตัทธิต” คือ คำที่ใช้ปัจจัยแทนศัพท์

ตัทธิต” มีหลายชนิด มีชื่อต่างๆ กัน ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า “ตทัสสัตถิตัทธิต” (ตะ-ทัด-สัด-ถิ-ตัด-ทิด) มีความหมายว่า ตัทธิตที่ใช้ปัจจัยแทนคำว่า “อตฺถิ” (อัด-ถิ แปลว่า มี)

ตทัสสัตถิตัทธิตมีปัจจัย 9 ตัว คือ วี, , สี, อิก, อี, , วนฺต, มนฺตุ, นักเรียนบาลีท่องจำว่า วี/ สะ/ สี/ อิกะ/ อี/ ระ/ วันตุ/ มันตุ/ ณะ

อี” เป็นปัจจัยตัวหนึ่งในตทัสสัตถิตัทธิต ใช้แทนคำว่า “อตฺถิ” = มี

หมายเหตุ: ยังไม่ต้องเข้าใจมากกว่านี้ และที่ว่ามานี้ก็ไม่ต้องจำให้ “รกสมอง” อ่านไว้พอเป็นอุปนิสัยปัจจัยเท่านั้น

: ราค + อี = ราคี (รา-คี) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีราคะ” (ราคะของผู้นั้นมีอยู่ ดังนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า “ราคี” = ผู้มีราคะ) หมายถึง ผู้มีความกำหนัด, ผู้มีราคะ, ผู้ถูกย้อมด้วยราคะ (one who shows passion for, possessed of lust, affected with passion)

ขยายความ :

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ราคี” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ – 

(1) ราคี ๑ : (คำนาม) ผู้มีความกําหนัด. (ป., ส.).

(2) ราคี ๒ : (คำนาม) ความมัวหมอง, มลทิน, เช่น หญิงคนนี้มีราคี. (ส. ราคินฺ).

คำว่า “ราคี” ในภาษาไทย ถ้าใช้กับผู้หญิงมักจะมีความหมายว่า เป็นหญิงที่ไม่บริสุทธิ์ คือเสียตัวให้แก่ชายมาก่อนที่จะแต่งงาน

ทำไมจึงใช้ “ราคี” ไปในความหมายเช่นนั้น ในเมื่อ “ราคี” แปลว่า “ผู้มีราคะ” และ “ราคะ” ก็มีทั้งชายและหญิง 

ความหมายแบบนี้ นักเสมอภาคนิยมคงไม่ชอบ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เลือดเนื้อที่มี ไม่มีใครดีกว่าใคร

: ขาดทุนหรือกำไรอยู่ที่เอาไปใช้ทำชั่วทำดี

#บาลีวันละคำ (3,432)

4-11-64

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *