บาลีวันละคำ

เปม (บาลีวันละคำ 281)

เปม

อ่านว่า เป-มะ

เปม” สันสกฤตเป็น “เปฺรมนฺ” (ปฺเร-มัน) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 มีคำว่า “เปรม” (เปฺรม) ให้ความหมายว่า สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ; ความรัก, ความชอบใจ

เปม” แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งความรัก” “ภาวะแห่งความอิ่มเอิบ

ความหมายที่เข้าใจกันคือ ความรัก, ความเยื่อใย, ความเสน่หา

ความรักแบบ “เปม-เปฺรมนฺ-เปรม” มี 2 ลักษณะ คือ –

1. เคหสิตเปม (เค-หะ-สิ-ตะ-เป-มะ) แปลตามศัพท์ว่า “รักอาศัยเรือน” คือรักที่ต้องปลูกสร้างบ้านเรือน ท่านว่าชั้นเดิมเพื่อปิดบังจากสายตาของบุคคลที่สามเมื่อเวลาร่วมรัก ต่อมาก็ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย เป็นที่มาของคำว่า “ออกเรือน” หรือ “มีเรือน” ในภาษาไทย ซึ่งหมายถึงมีคู่ครอง

2. สทฺธาเปม (สัด-ทา-เป-มะ) แปลตามศัพท์ว่า “รักด้วยศรัทธา” คือรักด้วยความนับถือ เลื่อมใส ชื่นชม ยินดี ยกย่อง ปราศจากตัณหาราคะ

มีพุทธภาษิตว่า –

ปุพฺเพ ว สนฺนิวาเสน (ปุบเพ วะ สันนิวาเสนะ)

ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา (ปัดจุบปันนะหิเตนะ วา)

เอวนฺตํ ชายเต เปมํ (เอวันตัง ชายะเต เปมัง)

อุปฺปลํ ว ยโถทเก. (อุบปะลัง วะ ยะโถทะเก)

มีผู้แปลเป็นโคลง (ไม่ทราบนามผู้แต่ง) ว่า

ความรักย่อมเกิดด้วย…สองพรรณ

รักหนึ่งบุพเพสัน-……..นิวาสสร้าง

รักสองอนุกูลกัน………เกิดชาติ นี้นา

ดังดอกอุบลสล้าง…….เกิดซ้อนกลางสินธุ์

ความรัก : อย่าเพียงแต่ชื่นชมดอกรักยอดรัก แต่จงเอาใจใส่ดูแลให้ถึงรากรักด้วย เพราะ “รักที่ซื้อดอกมาปัก เป็นแค่รักชั่วคราว แต่รักที่ปลูกเลี้ยงบำรุง หอมฟุ้งยืนยาว”

บาลีวันละคำ (281)

14-2-56

เปรม

 [เปฺรม] ก. สบาย, รื่นเริง, อิ่มใจ.น. ความรัก, ความชอบใจ. (ส.)

(บาลี-อังกฤษ)

เปม ความรัก, ความเยื่อใย, ความเสน่หา love, affection

สิเนห, สเนห ของเหนียว, ความชื่นเป็นน้ำมัน, น้ำหล่อเลี้ยง; ไขมัน; ความสิเนหา, ความรัก, ความปรารถนา. ราคะ affection, love, desire, just

อนุราค

เมตฺตา ความรัก, ความเป็นเพื่อน, ความเห็นอกเห็นใจกัน, ความเป็นมิตร, การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้อื่น

เมตฺตายติ รู้สึกเป็นมิตร, แสดงความรักใคร่, เอ็นดู

ฉนฺท สิ่งกระตุ้น, แรงดลใจ, ความตื่นเต้น; ความตั้งใจ. การตกลงใจ, ความปรารถนา; ความอยาก, ความประสงค์, ความพอใจ. ความยินยอม, การมอบฉันทะ

ปิยายติ

เปมํ พนฺธติ

ชาร คนรัก, ชู้รัก paramour, adulterer, (adulteress)

อนงฺค

มทน การทำให้เมา, ความมึนเมา, ความมัวเมา, ความมักมากในกาม

กาม ความรื่นรมย์, สิ่งที่ให้ความเพลิดเพลิน, สิ่งที่ให้ความบันเทิงทางกาม; ความสนุกเพลิดเพลิน, การพึงพอใจจากความรู้สึก; ความใคร่

สิงฺคาร อารมณ์รัก

กนฺต พึงใจ, น่ารัก, น่าเพลิดเพลิน

กนฺต สามี

กมิยเต อิจฺฉิยเตติ กนฺโต ผู้ที่ภรรยาปรารถนา

กมุ ธาตุ ในความหมายว่าปรารถนา อ ปัจจัย แปลง ม เป็น นฺต

กนฺตา หญิงสาว

กมนียวุตฺติตาย กนฺตา ผู้มีกิริยาน่ารัก

กมุ ธาตุ ในความหมายว่ารัก, ติดใจ ต ปัจจัย อา อิต. แปลง ม เป็น น

กนฺติโยคา กนฺตา ผู้ประกอบด้วยความน่ารัก

กนฺติ + ณ + อา ลบ ณ และสระหน้า

เปม มี ๒ แบบ คือ สทฺธาเปม และ เคหสิตเปม

(ศัพท์วิเคราะห์)

สิงฺคาร = ความรัก, ความสวยงาม

เปเมน สรติ คจฺฉตีติ สิงฺคาโร รสที่เป็นไปด้วยความรัก

สร ธาตุ ในความหมายว่าไป, เป็นไป อาร ปัจจัย แปลง สร เป็น สิงฺค

เปม = ความรัก, ความเยื่อใย, ความเสน่หา

ปิยสฺส ภาโว เปมํ ภาวะแห่งความรัก ปิย ศัพท์ อิม ปัจจัย แปลง ปิย เป็น ป ลบสระหน้า วิการ อิ เป็น เอ

ปีนยตีติ ปี, ปิโน ภาโว เปมํ ภาวะแห่งความอิ่มเอิบ

ปี ธาตุ ในความหมายว่าอิ่มเอิบ อิม ปัจจัย ลบสระหน้า วิการ อิ เป็น เอ

สิเนห, เสฺนห = ความเสน่หา, ความรัก, ความเยื่อใย

สิเนหนํ สิเนโห ความยินดี

สินิห ธาตุ ในความหมายว่ายินดี ณ ปัจจัย แปลง อิ เป็น เอ

ฉนฺท = ความพอใจ, ความต้องการ

ฉนฺทนํ ฉนฺโท ความปรารถนา ฉนฺท ธาตุ ในความหมายว่าปรารถนา อ ปัจจัย

ราค = ความกำหนัด, ความยินดี

รญฺชนํ รญฺชนฺติ วา อเนนาติ ราโค ภาวะเป็นเหตุให้กำหนัด

รญฺช ธาตุ ในความหมายว่ากำหนัด, ยินดี ณ ปัจจัย ลบ ญ แปลง ช เป็น ค

กาม = ความรัก, ความใคร่, ความปรารถนา

– กามยติ รติจฺฉํ อุปฺปาทยตีติ กาโม ภาวะที่ทำให้ปรารถนา

กมุ ธาตุ ในความหมายว่าปรารถนา ณ ปัจจัย อ เป็น อา

– กาเมตีติ กาโม อาการที่ปรารถนา (เหมือน วิ.ต้น)

– กามิยตีติ กาโม ภาวะอันสัตว์โลกปรารถนา (เหมือน วิ.ต้น)

ศัพท์ชุด “..ที่น่ารัก”

ปิโย มนาโป ปาสาทิโก อภิรูโป ทสฺสนีโย อภิกฺกนฺโต อิฏฺโฐ กนฺโต

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย