บาลีวันละคำ

องคมนตรี (บาลีวันละคำ 289)

องคมนตรี

ประกอบด้วย องค + มนตรี อ่านว่า อง-คะ-มน-ตฺรี

องค” บาลีเป็น “องฺค” (อัง-คะ) ในภาษาไทยถ้าอยู่ท้ายคำหรืออยู่เดี่ยว ใช้ว่า “องค์” (อง) แปลว่า ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ, ส่วนประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ (เช่น ศีลข้อปาณาติบาตจะขาด ต้องประกอบด้วยองค์ 5)

มนตรี” บาลีเป็น “มนฺตี” (มัน-ตี) แปลตามศัพท์ว่า “คนมีความคิด” ใช้ในความหมายว่า ที่ปรึกษา, อำมาตย์, เสนาบดี (ฝรั่งแปลคำนี้ว่า counselor, minister)

องฺค + มนฺตี = องฺคมนฺตี เขียนเป็นไทยว่า “องคมนตรี

องฺคมนฺตีองคมนตรี” ศัพท์เดียวแบบนี้ไม่มีในบาลี เป็นคำที่เราคิดขึ้นใช้เทียบภาษาอังกฤษว่า privy councilor โดยกำหนดความหมายว่า “องค์” คือ “ส่วนพระองค์” (ของพระมหากษัตริย์ = privy) และ “มนตรี” คือ “ที่ปรึกษา” (= councilor)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมาย “องคมนตรี” ว่า “ผู้มีตําแหน่งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์”

มนตรี” แปลว่า “ที่ปรึกษา” ในที่อื่นๆ เท่าที่พบมา มักไม่ขาดก็เกิน คือ

– ตั้งไว้ แต่ไม่มีใครปรึกษา – ขาด

– ที่ปรึกษา ถลาลงไปทำเอง – เกิน

คำถาม : “รู้จักพอดี ดีทุกเมื่อ” พูดเป็นบาลีว่าอย่างไร ?

——

(กราบขอบพระคุณท่านพระมหาอาทิตย์ อาทิตฺตเมธี)

บาลีวันละคำ (289)

22-2-56

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย