บาลีวันละคำ

อุปปาติกะ (บาลีวันละคำ 3,454)

อุปปาติกะ

เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็มีตามที่มี

อ่านว่า อุ-ปะ-ปา-ติ-กะ (อุ-) ก็ได้ 

อ่านว่า อุบ-ปะ-ปา-ติ-กะ (อุบ-) ก็ได้

(ตามพจนานุกรมฯ)

อุปปาติกะ” เขียนแบบบาลีเป็น “อุปปาติก” (โปรดสังเกตว่า ไม่มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านว่า อุ-ปะ-ปา-ติ-กะ รากศัพท์ตามที่แสดงไว้ในหนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) ว่ามาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ปตฺ (ธาตุ = ไป) + ณี ปัจจัย, ลบ (ณี > อี), “ทีฆะต้นธาตุ” คือ อะ ที่ -(ตฺ) เป็น อา (ปตฺ > ปาต) + ณิก ปัจจัย, ลบ (ณิก > อิก) “ลบสระหน้า” คือ อี ที่ (อุปปา)-ตี (อุปปาตี > อุปปาต)

: อุป + ปตฺ = อุปปตฺ + ณี = อุปปตณี > (ลบ ) อุปปตี > (ทีฆะต้นธาตุ) อุปปาตี + ณิก = อุปปาตีณิก > (ลบสระหน้า) อุปปาตณิก > (ลบ ) อุปปาติก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้มีอัตภาพที่อุบัติขึ้นทันที” (2) “ผู้เกิดเหมือนผุดขึ้นมา (เว้นจากไข่ ครรภ์ และไคล)

ผู้เขียนบาลีวันละคำมีความเห็นว่า คำแปลตามศัพท์ที่ว่า “ผู้มีอัตภาพที่อุบัติขึ้นทันที” และ “ผู้เกิดเหมือนผุดขึ้นมา” ส่องความว่า คำอุปสรรคหน้าธาตุน่าจะเป็น อุ ( = ขึ้น, นอก) + ( = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก)

: อุ + + ปตฺ = อุปปตฺ … = อุปปาติก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดขึ้นข้างหน้า” หรือ “ผู้เกิดขึ้นก่อน” สอดคล้องกับคำที่มักเรียกกันว่า “ผู้ลอยเกิด” หรือ “ผู้ผุดเกิด” 

ถ้าเป็น อุป ( = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ปตฺ ( = เกิด)

: อุป + ปตฺ = อุปปตฺ … = อุปปาติก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เข้าไปเกิด” หรือ “ผู้เกิดใกล้ๆ” ไม่ส่องความว่า “ผู้ลอยเกิด” หรือ “ผู้ผุดเกิด

นี่เป็นเพียงความเข้าใจ ซึ่งอาจผิดก็ได้ ขอฝากนักเรียนบาลีช่วยพิจารณา หรือท่านที่มีหลักฐานแน่นอนจะกรุณานำเสนอเพื่อเป็นองค์ความรู้ร่วมกัน ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุปปาติก” ว่า rebirth without parents, as a deva (การอุบัติขึ้นโดยปราศจากบิดามารดา, เช่น เทวดา) 

อุปปาติก” เขียนแบบไทยเป็น “อุปปาติกะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อุปปาติกะ : (คำนาม) ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).”

โดยทั่วไป คำนี้มักพบเป็น “โอปปาติก” (โอ-ปะ-ปา-ติ-กะ) เป็นคำเดียวกับ “อุปปาติก” นั่นเอง เพียงแต่แผลง อุ– เป็น โอ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โอปปาติก” ว่า arisen or reborn without visible cause [i. e. without parents], spontaneous rebirth, apparitional rebirth (ผู้ลอยเกิดหรือผุดเกิด [คือปราศจากพ่อแม่], ผู้เกิดพร้อมทันที, โอปปาติกะกำเนิด) 

โอปปาติก” เขียนแบบไทยไทยเป็น “โอปปาติกะ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “โอปปาติกะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

โอปปาติกะ : สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่นเทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ข้อ ๔ ในโยนิ ๔); บาลีว่า รวมทั้งมนุษย์บางพวก.

…………..

ขยายความ :

เพื่อความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น ขอนำเรื่อง “โยนิ” ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต มาเสนอไว้ในที่นี้ ดังนี้ 

…………..

[171] โยนิ 4 (กำเนิด, แบบหรือชนิดของการเกิด — Yoni: ways or kinds of birth; modes of generation)

1. ชลาพุชะ (สัตว์เกิดในครรภ์ คือ คลอดออกมาเป็นตัว เช่น คน โค สุนัข แมว เป็นต้น — Jalābuja: the viviparous; womb-born creatures)

2. อัณฑชะ (สัตว์เกิดในไข่ คือ ออกไข่เป็นฟองก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว เช่น นก เป็ด ไก่ เป็นต้น — Aṇḍaja: the oviparous; egg-born creatures)

3. สังเสทชะ (สัตว์เกิดในไคล คือ เกิดในของชื้นแฉะหมักหมมเน่าเปื่อย ขยายแพร่ออกไปเอง เช่น กิมิชาติบางชนิด — Saṁsedaja: putrescence-born creatures; moisture-born creatures)

4. โอปปาติกะ (สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดเต็มตัวในทันใด ได้แก่ เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางพวก และเปรตบางพวก ท่านว่า เกิดและตาย ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ — Opapātika: spontaneously born creatures; the apparitional)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เกิดมาได้อย่างไร เราอาจไม่รู้คำตอบก็ได้

: แต่เกิดมาทำไม ไม่ควรที่จะไม่รู้

#บาลีวันละคำ (3,454)

26-11-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *