บาลีวันละคำ

ราชเวชชาคาร (บาลีวันละคำ 3,443)

ราชเวชชาคาร

เรียนบาลีจากป้ายอาคาร

อ่านตามหลักภาษาว่า ราด-ชะ-เวด-ชา-คาน

แยกศัพท์เป็น ราช + เวชช + อาคาร

(๑) “ราช” 

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย

: ราชฺ + = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา 

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความ “ราช” หรือ “ราชา” ว่าคือ “ผู้ที่ทำให้ประชาชนร้องออกมาว่า พอใจ พอใจ

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๒) “เวชช” 

เขียนแบบบาลีเป็น “เวชฺช” (มีจุดใต้ ชฺ ตัวหน้า) อ่านว่า เวด-ชะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) วิชฺชา (ความรู้ โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษา) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(ชฺชา) เป็น เอ (วิชฺชา > เวชฺชา), “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ (วิชฺ)-ชา (วิชฺชา > วิชฺช

: วิชฺชา + = วิชฺชาณ > วิชฺชา > เวชฺชา > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้วิชาอายุรเวท” 

(2) วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ (ณฺย > ), แผลง อิ ที่ วิ-(ทฺ) เป็น เอ (วิทฺ > เวท), แปลง ทฺย (คือ ที่ วิทฺ และ ที่ ณฺ) เป็น ชฺช 

: วิทฺ + ณฺย = วิทณฺย > วิทฺย > เวทฺย > เวชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้การเยียวยา” 

เวชฺช” (ปุงลิงค์) หมายถึง หมอ, แพทย์, หมอยา, ศัลยแพทย์ (a physician, doctor, medical man, surgeon) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

เวช, เวช– : (คำนาม) หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).”

(๓) “อาคาร

บาลีเป็น “อคาร” อ่านว่า อะ-คา-ระ (ศัพท์นี้บาลีเป็น “อาคาร” ก็มี) รากศัพท์มาจาก อค (สิ่งที่ไม่ไป, สิ่งที่ไปไหนไม่ได้) + รา (ธาตุ = ถือเอา, ยึดไว้) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ทีฆะ อะ ที่ (อ)- เป็น อา (อค > อคา), ลบ อา ที่สุดธาตุ (รา > )

: อค + รา = อครา + กฺวิ = อครากฺวิ >อคารากฺวิ > อคารา > อคาร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ยึดเสาไว้ไม่ให้ไป” หมายความว่า เสา ฝา หลังคา และเครื่องประกอบต่างๆ ถูกยึดไว้ตรงนั้น ไปไหนไม่ได้ ที่ตรงนั้นจึงชื่อว่า “อคาร” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อคาร” ว่า house or hut (บ้าน หรือกระท่อม)

ไทยเราไม่คุ้นกับคำว่า “อคาร” แต่คุ้นกับคำว่า “อาคาร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อคาร-” ไว้ (โปรดสังเกต มีขีดท้ายคำ บอกให้รู้ว่าไม่ใช้เดี่ยวๆ ถ้ารูปคำเป็น “อคาร” จะต้องมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และบอกความหมายว่าคือ “อาคาร” 

เพราะฉะนั้นก็ต้องตามไปดูที่คำว่า “อาคาร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

อาคาร : เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับปรุงคำนิยามใหม่เป็นดังนี้ –

อาคาร : เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. (ป., ส. อาคาร, อคาร).”

การประสมคำ: 

ราช + เวชฺช = ราชเวชฺช (รา-ชะ-เวด-ชะ) แปลว่า “หมอของพระราชา” ตรงกับคำที่เรียกกันว่า “หมอหลวง” และตรงกับคำว่า “ราชแพทย์” หมายถึง แพทย์ รวมทั้งกิจการทางการแพทย์ที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือที่มีต้นกำเนิดมาจากพระบรมราชูปถัมภ์ หรือเกี่ยวเนื่องในพระบรมราชูปถัมภ์

ราชเวชฺช” ถ้าเป็นคำเดียว ในภาษาไทยจะสะกดเป็น “ราชเวช” คือตัดตัวสะกดในบาลีออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมในภาษาไทย แต่เนื่องจากในที่นี้มีคำว่า “อาคาร” มาสมาสข้างท้าย และ – กับ อา– สนธิกัน จึงต้องคงตัวสะกดในบาลีไว้ตามรูปเดิม เพื่อให้ ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกดในคำว่า “เวช” และ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวสนธิกับ อา– 

ราชเวชฺช + อาคาร = ราชเวชฺชาคาร อ่านแบบบาลีว่า รา-ชะ-เวด-ชา-คา-ระ เขียนแบบไทยเป็น “ราชเวชชาคาร” (ไม่มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านแบบไทยว่า ราด-ชะ-เวด-ชา-คาน แปลโดยประสงค์ว่า “ตึกที่ทำการของหมอหลวง” หมายถึง อาคารที่ทำการของกิจการแพทย์ที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

หมายเหตุ :

คำว่า “ราชเวชชาคาร” เป็นชื่อเฉพาะ ที่เรียกเป็นคำศัพท์ว่าวิสามานยนาม (proper name) คำชนิดนี้จะใช้กฎเกณฑ์ทางภาษาเข้าจับโดยตรงมิได้ หมายความว่า จะอ่านว่าอย่างไร แปลว่าอย่างไร และมีความหมายว่าอย่างไร ต้องเป็นไปตามเจตนาของผู้ตั้งชื่อ 

ที่แสดงมานี้ แสดงตามหลักภาษาเท่าที่ตาเห็นพอเป็นพื้นฐานเท่านั้น

ผู้เขียนบาลีวันละคำค้นหาเรื่องราวของ “ราชเวชชาคาร” จาก google ได้ข้อมูลน้อยอย่างยิ่ง คือพบแต่เพียงว่า (ยกมาตามต้นฉบับ) –

…………..

กรุงเทพฯ–15 ม.ค.–สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด อาคารราชเวชชาคาร โดยมี นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการบริษัท บ้านบึงเวชกิจ จำกัด คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหาร เฝ้า ฯ รับเสด็จ ณ คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา วังทองหลาง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/prg/2071532

…………..

ท่านผู้ใดทราบข้อมูลเกี่ยวกับ “ราชเวชชาคาร” ละเอียดมากกว่านี้ ขอความกรุณานำมาบูรณาการเพื่อเป็นองค์ความรู้ร่วมกันต่อไป – ขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้

…………..

ดูก่อนภราดา!

ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ –

: คนธรรมดา เห็นความเจ็บป่วยของเพื่อนมนุษย์เป็นช่องทางแสวงทรัพย์

: คนมีใจสูงได้ระดับ เห็นความเจ็บป่วยของเพื่อนมนุษย์เป็นช่องทางแสวงบุญ

———————–

ตามคำเสนอแนะของพระคุณท่าน Sunant Ruchiwet Phramaha

#บาลีวันละคำ (3,443)

15-11-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *