บาลีวันละคำ

สนฺตปาปา (บาลีวันละคำ 294)

สนฺตปาปา

อ่านว่า สัน-ตะ-ปา-ปา

สนฺตปาปา” ประกอบด้วย สนฺต + ปาป

สนฺต” (สัน-ตะ) แปลว่า เงียบ, ราบรื่น, สงบ, บริสุทธิ์, สันติ, ความสุขเลิศ, นิพพาน

ปาป” (ปา-ปะ) คือ ความชั่ว, ความเลวร้าย, เลวทราม, การทำผิด แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ยังผู้ทำให้ถึงทุคติ” “กรรมเป็นเหตุไปสู่อบาย” “กรรมที่รักษาอบายภูมิไว้” (ความหมายนี้คือ เพราะยังมีคนทำบาป อบายภูมิจึงยังคงมีอยู่ได้เพื่อเป็นที่รองรับคนบาป)

ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา พบคำว่า “สนฺตปาปา” แห่งหนึ่ง ใช้อธิบายคุณสมบัติของบุคคลที่เรียกว่า “สนฺโต = ผู้สงบระงับ” ท่านใช้คำเป็นชุดว่า สนฺตปาปา  ปณฺฑิตา  ปจฺเจกพุทฺธา แปลว่า “ผู้สงบระงับ คือบัณฑิต ผู้สงบระงับบาปได้แล้ว หมายถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า

สนฺตปาปา” จึงแปลว่า “ผู้สงบระงับบาปได้แล้ว

แต่ควรเข้าใจด้วยว่า “สนฺตปาปา” เป็นภาษาบาลี เป็นรูปปุงลิงค์พหูพจน์ ถ้าเป็นเอกพจน์จะเป็น “สนฺตปาโป” และถ้าเป็นคำตั้ง (ยังไม่แจกวิภัตติ) ก็จะเป็น “สนฺตปาป” (สัน-ตะ-ปา-ปะ)

ในภาษาไทยมีคำว่า “สันตะปาปา” หมายถึงผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก เป็นคำที่เราเรียกทับศัพท์ภาษาลาตินว่า Sancta Papa

คำบาลี “สนฺตปาปา” จึงเป็นคนละคำ คนละความหมาย กับชื่อตำแหน่งพระ “สันตะปาปา” ในคริสต์ศาสนา

: เอาเหมือนในทางดี ดีกว่าเอาดีในทางเหมือน

————

(ขอบพระคุณ Zamar Sib Oon ที่กรุณาปรารภคำนี้ขึ้นมา)

บาลีวันละคำ (294)

27-2-56

สนฺต = สันตธรรม, พระนิพพาน (ศัพท์วิเคราะห์)

– สนฺตฏฺเฐน สนฺตํ สภาวะที่สงบ

สมุ ธาตุ ในความหมายว่าสงบ ต ปัจจัย แปลง มฺ เป็น นฺ

– ราคาทีนํ สนฺตกรณตฺตา สนฺตํ สภาวะที่ทำให้ราคะเป็นต้นสงบระงับ

สม + ต

สนฺต = สัตบุรุษ, นักปราชญ์, ผู้สงบ, คนดี

– ราคาทโย สเมตีติ สนฺโต ผู้สงบราคะเป็นต้นได้

สมฺ ธาตุ ในความหมายว่าสงบ, ระงับ ต ปัจจัย แปลง มฺ เป็น นฺ

– สุนฺทโร อนฺโต อวสานมสฺสาติ สนฺโต ผู้มีที่สุดอันงดงาม

สุ + อนฺต แปลง อุ เป็น อ

ปาป = อกุศล, ความชั่ว (ศัพท์วิเคราะห์)

– ปานฺติ รกฺขนฺติ สุชนา อตฺตานํ อสฺมาติ ปาปํ กรรมเป็นแดนรักษาตนแห่งเหล่าคนดี คือป้องกันตนให้ออกห่าง

ปา ธาตุ ในความหมายว่ารักษา อ ปัจจัย ป อาคม

– อปายํ ปาติ รกฺขตีติ ปาปํ กรรมที่รักษาอบายภูมิไว้

ปา ธาตุ ในความหมายว่ารักษา ป ปัจจัย

– ทุคฺคตึ ปาเปตีติ ปาปํ กรรมที่ยังผู้ทำให้ถึงทุคติ

ป บทหน้า (แทนศัพท์ อปาย = ทุคติ) อป ธาตุ ในความหมายว่าถึง อ ปัจจัย ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง

– ปํ อปายํ เปติ คจฺฉติ เอเตนาติ ปาปํ กรรมเป็นเหตุไปสู่อบาย

ป บทหน้า เป ธาตุ ในความหมายว่าไป, ถึง, เป็นไป ณ ปัจจัย ทีฆะ อ เป็น อา ลบ เอ ที่ เป

สนฺต (บาลี-อังกฤษ)

เงียบ, ราบรื่น, สงบ, บริสุทธิ์

สันติ, ความสุขเลิศ, นิพพาน

ปาป (บาลี-อังกฤษ)

– เลวร้าย, เป็นอกุศล, ชั่ว, เลวทราม, บาป ตรงข้ามกับ ภทฺร

– (ดิน)ไม่อุดมสมบูรณ์

– ความเลวร้าย, การทำผิด, บาป ตรงข้ามกับ ปุญฺญ

คำในคัมภีร์ (๑)

มหาโมรชาดก ปกิณกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ข้อ ๑๙๗๑

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๖๐ หน้า ๔๕๓-

[๑๙๗๑]   เยเกจิ  อตฺถิ  สมณา  ปฐพฺยา

กาสาววตฺถา  อนคาริยา จรนฺติ

ปาโตว  ปิณฺฑาย  จรนฺติ  กาเล

วิกาลจริยา  วิรตา  หิ  สนฺโต ฯ

เต  ตตฺถ  กาเลนุปสงฺกมิตฺวา

ปุจฺเฉหิ  ยํ  เต  มนโส  ปิยํ  สิยา

เต  เต  ปวกฺขนฺติ  ยถาปชานํ

อิมสฺส  โลกสฺส  ปรสฺส  จตฺถนฺติ ฯ

มีสมณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด

ประพฤติเป็นผู้ไม่มีเรือน

เที่ยวไปบิณฑบาตในเวลาเช้าในกาล

เว้นจากการเที่ยวไปในเวลาวิกาล

ผู้สงบระงับ มีอยู่ในแผ่นดินนี้แน่

ท่านจงเข้าไปหาสมณะเหล่านั้น

ในเวลาอันควร ณ ที่นั้น

แล้วจงถามข้อความตามความพอใจของท่าน

สมณะเหล่านั้นก็จะชี้แจงประโยชน์โลกนี้

และโลกหน้าให้แก่ท่านตามความรู้ความเห็น

อรรถกถาอธิบายว่า (ชาตกัฏฐกถา ภาค ๖ ฉบับเรียนฯ หน้า ๓๖๕)

ตตฺถ  สนฺโตติ  สนฺตปาปา  ปณฺฑิตา  ปจฺเจกพุทฺธา ฯ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  สนฺโต  คือท่านบัณฑิตผู้มีบาปอันระงับแล้วได้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

คำในคัมภีร์ (๒)

ภิกขุวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๓๕

สนฺตกาโย  สนฺตวาโจ       สนฺตมโน  สุสมาหิโต

วนฺตโลกามิโส  ภิกฺขุ         อุปสนฺโตติ  วุจฺจติ ฯ

ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ

มีใจสงบ ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว

มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว

เราเรียกว่าผู้สงบระงับ

อรรถกถา (สนฺตกายตฺเถรวตฺถุ ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๘ หน้า ๗๘)

ตตฺถ  สนฺตกาโยติ  ปาณาติปาตาทีนํ  อภาเวน  สนฺตกาโย

มุสาวาทาทีนํ  อภาเวน  สนฺตวาโจ  อภิชฺฌาทีนํ  อภาเวน

สนฺตมโน  (๑) กายาทีนํ  ติณฺณํปิ  สุฏฺฐุ  สมาหิตตฺตา

สุสมาหิโต  จตูหิ  มคฺเคหิ  โลกามิสสฺส  วนฺตตาย

วนฺตโลกามิโส  [ภิกฺขุ]  อพฺภนฺตเร  ราคาทีนํ  อุปสนฺตตาย

อุปสนฺโต  (๒)  วุจฺจตีติ  อตฺโถ ฯ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  สนฺตกาโย  เป็นต้น ความว่า ชื่อว่า สนฺตกาโย ผู้มีกายสงบ เพราะความไม่มีกายทุจริตทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น

ชื่อว่า สนฺตวาโจ ผู้มีวาจาสงบ เพราะความไม่มีวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น

ชื่อว่า สนฺตมโน ผู้มีใจสงบ เพราะความไม่มีมโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น

ชื่อว่า ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว เพราะความที่ทวารทั้ง ๓ มีกายเป็นต้นตั้งมั่นแล้วด้วยดี

ชื่อว่า มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เพราะความที่อามิสในโลกเป็นของอันตนสำรอกเสียแล้วด้วยมรรค ๔

พระศาสดาตรัสเรียกว่า อุปสนฺโต ผู้สงบระงับ เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นในภายในสงบระงับแล้ว

สันตะปาปา

น. ผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก, โป๊ป ก็เรียก.

สันตะปาปา

[n.] pope the Pope, the Pontiff น. พระสันตะปาปา เป็นประมุขของคริสต์-ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ประทับอยู่ที่สำนักวาติกัน กรุงโรม ประเทศอิตาลี มีการแต่งตั้งแทน เมื่อองค์หนึ่งล่วงไปแล้ว, เทียบคำ (อก. pope).น. ผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก โป๊ป ก็เรียก.

ข้อมูลจาก Facebook ๒๖ ก.พ.๕๖ ๒๑๔๒

ทวีโชค อุดมวรเวทย์ สนฺตา ปาปา แปลว่า ผู้สงบแล้วจากบาป

Zamar Sib Oon ละติน ใช้ Sancta Papa ก็เลยยิ่งสงสัยหนักเข้าไปอีก บาลี อย่างที่ น้องทวีรโชคบอก สนฺตา ปาปา แปลว่า ผู้สงบแล้วจากบาป ก็เข้าที..

สันตะปาปา the Pope, the Pontiff (สอ เสถบุตร)

Papa n

pa n

papacy, papal, papalist

ดู pope สันตะปาปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระสันตะปาปา (ละติน: Sancta Papa; อังกฤษ: Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม[ก] (Bishop of the Church of Rome)

ตำแหน่งของพระสันตะปาปา ในภาษาอังกฤษเรียก ปาปาซี (Papacy)

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย