บาลีวันละคำ

วานรนิวาส (บาลีวันละคำ 295)

วานรนิวาส

วานร” คือ ลิงนิวาส” แปลว่า ที่อยู่, ที่อาศัย, ที่พัก, การอยู่อาศัย

วานรนิวาส” จึงแปลว่า “ที่อยู่อาศัยของลิง

วานรนิวาส” เป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดสกลนคร เดิมเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้าน “กุดลิง” แขวงเมืองยโสธร ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านกุดลิงขึ้นเป็นเมืองวานรนิวาส เมื่อ พ.ศ. 2404

คำว่า “กุด” แปลว่า ด้วน สั้น หรือเหี้ยนเข้าไป ทางภาคอีสานหมายถึงลํานํ้าที่ปลายด้วน คือไม่มีทางไหลต่อไป (เทียบได้กับซอยตัน) บริเวณลำน้ำนี้มีลิงชุกชุม ชาวบ้านจึงเรียกลำน้ำนั้นว่า “กุดลิง

นักบาลีเอาเสียง “กุด” มาแปลงคำเป็น “กุฏิ

กุฏิ” บาลีอ่านว่า กุ-ติ ไทยเอามาใช้ อ่านว่า กุด (ที่อ่านว่า กุ-ติ ก็มี)

กุฏิ” แปลว่า กระท่อมเล็กๆ ในภาษาไทยเข้าใจกันว่าเป็นที่อาศัยของภิกษุ แต่ความหมายโดยนัยก็คือ “ที่พักอาศัย

จาก “กุดลิง” = ลำน้ำปลายด้วนที่ลิงชุกชุม แปลงเป็น “กุฏิลิง” = กระท่อมของลิง แล้วก็กลายรูปงามหรูเป็น “วานรนิวาส” = ที่อยู่อาศัยของลิง

ไม่เหลือร่องรอยของ “กุด” = ลำน้ำปลายด้วน อีกเลย

ภาษานุสติ :

วานรนิวาส” มีความงามเป็นความจริง

แต่ “กุดลิง” มีความจริงเป็นความงาม

บาลีวันละคำ (295)

28-2-56

ภาษานุสติ :

เปลี่ยนความคิดออกเป็นเสียง

เปลี่ยนเสียงออกเป็นรูป

เปลี่ยนรูปออกเป็นความหมาย

เปลี่ยนความหมาย ความคิดก็เปลี่ยน

นิวาส ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ที่อยู่, ที่อาศัย, การอยู่อาศัย.

นิวาสน นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ที่อยู่, ที่อาศัย, การอยู่อาศัย, การประดับตกแต่ง, การนุ่งห่ม, การแต่งตัว

นิวาส

 [-วาด] (แบบ) น. ที่อยู่อาศัย, ที่พัก. (ป.).

วานรนิวาส ๑.(อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตยสถาน)

อำเภอ ขึ้น จ.สกลนคร ละติจูด ๑๗? ๓๗?.๘ เหนือ ลองจิจูด ๑๐๓? ๔๕?.๓ ตะวันออก ตั้งที่ว่าการที่ ต.วานรนิวาส ทิศเหนือติดต่อกับ อ.บ้านม่วง และ อ.คำตากล้า ทิศตะวันออกติดต่อกับ อ.อากาศอำนวย ทิศใต้ติดต่อกับ อ.พรรณานิคม และ อ.พังโคน ทิศตะวันตกติดต่อกับ อ.สว่างแดนดิน และ อ.เจริญศิลป์ การคมนาคมจากเมืองไปอำเภอโดยทางหลวงหมายเลข ๒๒ (สกลนคร-อุดรธานี) ระยะทาง ๕๕ กม. แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๒๒ (พังโคน-บึงกาฬ) ระยะทางอีก ๓๐ กม. รวมระยะทาง ๘๕ กม.

อ.วานรนิวาส เดิมเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านกุดลิง แขวงเมืองยโสธร ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านกุดลิงขึ้นเป็นเมืองวานรนิวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาได้ย้ายเมืองวานรนิวาสไปตั้งที่บ้านแฮ่ (ต.แร่ อ.พรรณานิคม) เรียกชื่อตามเดิม แล้วย้ายไปตั้งที่บ้านชุมแสงหัวนา เรียกชื่อเป็นเมืองชุมแสง ถึง พ.ศ. ๒๔๔๕ ยุบเมืองชุมแสงเป็นอำเภอ เรียก อ.วานรนิวาส มี ๑๔ ตำบล คือ ๑. วานรนิวาส ๒. กุดเรือคำ ๓. ขัวก่าย ๔. คอนสวรรค์ ๕. คูสะคาม ๖. เดื่อศรีคันไชย ๗. ธาตุ ๘. นาคำ ๙. นาซอ ๑๐. ศรีวิชัย ๑๑. หนองแวง ๑๒. หนองแวงใต้ ๑๓. หนองสนม ๑๔. อินทร์แปลง

๒. ตำบล ขึ้น อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

กุด

ก. ตัด ในคําว่า กุดหัว ว่า ตัดหัว.ว. ด้วนสั้นหรือเหี้ยนเข้าไป เช่น ยอดกุด นิ้วกุด หางกุด.(ถิ่น-อีสาน) น. บึง, ลํานํ้าที่ปลายด้วน.

กุฏิ (บาลี-อังกฤษ)

กระท่อมเล็กๆ ตามปกติทำด้วยไม้ หญ้า และดินเหนียว

ในภาษากวี หมายถึงที่อาศัยของภิกษุ

กุฏิ อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

กุฏี, กระท่อม, ที่อยู่ของพระ.

กุฏิ ๑

 [กุด, กุดติ, กุติ] น. เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (ป., ส.).

กุฏิ ๒

 [กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทําให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).

กุฎี

น. กระท่อมที่อยู่ของนักบวช เช่น พระภิกษุ, เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (ป., ส. กุฏิ).

กุฏิทูสกชาดก จตุกนิบาต

(๕๘๕)     โส  กรสฺสุ  อานุภาวํ  วีติวตฺตสฺสุ  สีลิยํ

สีตวาตปริตฺตาณํ      กรสฺสุ  กุฏิกํ* กปีติ ฯ

* สี. กุลวํ ฯ ม. กุฏวํ

ท่านจงสร้างอานุภาพขึ้น

เปลี่ยนปกติเดิมเสียเถิด

ดูก่อนวานร ท่านจงสร้างกระท่อม

ไว้ป้องกันความหนาวและลมเถิด

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย