บาลีวันละคำ

ศุภมัสดุ (บาลีวันละคำ 296)

ศุภมัสดุ

(คำไทยอิงสันสกฤต)

อ่านว่า สุบ-พะ-มัด-สะ-ดุ

ศุภมัสดุ” บาลีเป็น “สุภมตฺถุ” (สุ-พะ-มัด-ถุ) ประกอบด้วย สุภํ + อตฺถุ

สุภํ” (คำตั้งคือ สุภ) แปลว่า ความงาม, ความดี, ความสะอาด, ความสวยงาม

อตฺถุ” เป็นคำกริยา แปลว่า “จงมี

สุภํ อตฺถุ แปลว่า “ความดีงามจงมี”

สุภํ สนธิกับ อตฺถุ แปลงนิคหิตที่ ภํ เป็น = สุภ + + อตฺถุ = สุภมตฺถุ

สุภมตฺถุ” สันสกฤตเป็น “ศุภมสฺตุ” เราเขียนแบบอิงสันสกฤตจึงเป็น ศุภมัสดุ

ศุภมัสดุ” เป็นคําใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ และเป็นคำขึ้นต้น “บอกศักราช” ในการแสดงพระธรรมเทศนาด้วย

ตัวอย่าง :

– ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค 2540 พรรษา ….โดยกาลบริเฉท (อารัมภบทรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540)

– ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ ล่วงแล้ว 2556 พรรษา …(คำบอกศักราช)

ศุภมัสดุ : เอาความงามความดีเป็นที่ตั้ง ถึงผิดหวัง ก็ไม่ผิดธรรม

———–

(ตามคำเสนอแนะของท่านพระมหาอาทิตย์ อาทิตฺตเมธี – กราบขอบพระคุณ)

บาลีวันละคำ (296)

1-3-56

สุภ ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

งาม, โชค.

สุภ (บาลี-อังกฤษ)

เจิดจ้า, สว่าง, งดงาม, ได้ฤกษ์, โชคดี, น่าพึงใจ, สวัสดิภาพ, ความดี, ความพึงใจ, ความสะอาด, ความสวยงาม, สุขารมณ์

ศุภ-

 [สุบพะ-] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).

สุภ-

 [สุบพะ-] น. ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ป.; ส. ศุภ).

ศุภมัสดุ

 [-มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคําใช้ขึ้นต้นลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ.

ตัวอย่าง

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาล เป็นอดีตภาคล่วงแล้ว 2430 พรรษา

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ ล่วงแล้ว ๒๕๕๒ พรรษา

ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๔๐ พรรษา ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม พฤษภสมพัตสร อัสสยุชมาส ศุกลปักษ์ ทสมีดิถี สุริยคติกาล ตุลาคมมาส เอกาทสมสุรทิน โสรวาร โดยกาลบริเฉท (อารัมภบทรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐)

บุรุษ, บุรุษ-

 [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย