บาลีวันละคำ

อุเทศาจารย์ (บาลีวันละคำ 3,466)

อุเทศาจารย์

ให้วิทยาทาน ไม่ได้ขายวิชา

อ่านว่า อุ-เท-สา-จาน

แยกศัพท์เป็น อุเทศ + อาจารย์

(๑) “อุเทศ

บาลีเป็น “อุทฺเทส” อ่านว่า อุด-เท-สะ (โปรดสังเกตว่า มี 2 ตัว จุดใต้ ทฺ ตัวหน้า และสะกดด้วย เสือ) รากศัพท์มาจาก อุ (คำอุปสรรค = ขึ้น, นอก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + (อะ) ปัจจัย (นัยหนึ่งว่า ปัจจัย, ลบ ), ซ้อน ทฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุ + ทฺ + ทิสฺ), แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: อุ + ทฺ + ทิสฺ = อุทฺทิสฺ + (หรือ , ลบ ) = อุทฺทิส > อุทฺเทส แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยกขึ้นแสดง” 

อุทฺเทส” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) การชี้ให้เห็น, การยกขึ้นชี้แจง, อุเทศ, การอธิบาย, การชี้บอก, กำหนดการ (pointing out, setting forth, proposition, exposition, indication, programme)

(2) การอธิบาย (explanation)

(3) การกล่าวแสดงหรือเสนอ, การสวด, การสาธยายหรือกล่าวซ้ำ (propounding, recitation, repetition)

บาลี “อุทฺเทส” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “อุเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุเทศ : (คำนาม) การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง. (คำวิเศษณ์) ที่ยกขึ้นแสดง, ที่ยกขึ้นชี้แจง; ที่อ้างอิง เช่น หนังสืออุเทศ. (ส. อุทฺเทศ; ป. อุทฺเทส).”

(๒) “อาจารย์” 

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “อาจริย” อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ศิษย์” 

(2) อา (จากศัพท์ “อาทิ” = เบื้องต้น) + จรฺ (ธาตุ = ศึกษา) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น” 

(3) อา (จากศัพท์ “อาทร” = เอื้อเฟื้อ, เอาใจใส่) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือปรนนิบัติด้วยความเอาใจใส่

(4) อา (แข็งแรง, จริงจัง, ยิ่งใหญ่) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ศิษย์อย่างดียิ่ง

(5) อา (แทนศัพท์ “อภิมุขํ” = ข้างหน้า, ตรงหน้า) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติทำไว้ข้างหน้า” (คือศิษย์พึงดำเนินตาม)

(6) อา (แทนศัพท์ “อาปาณโกฏิกํ” = ตลอดชีวิต) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือพึงปรนนิบัติตลอดชีวิต

อาจริย” แปลทับศัพท์เป็นรูปสันสกฤตว่า “อาจารย์” (a teacher)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาจารย์ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).”

อุทฺเทส + อาจริย = อุทฺเทสาจริย (อุด-เท-สา-จะ-ริ-ยะ) แปลว่า “อาจารย์ผู้ยกธรรมขึ้นสอน” 

อุทฺเทสาจริย” ในที่นี้ใช้ในภาษาไทยสะกดเป็น “อุเทศาจารย์” คือ “อุทฺเทส” ในภาษาไทยตัด ทหาร ตัวสะกดออก อนุวัตรตามคำว่า “อุเทศ” ในภาษาไทยที่สะกดเช่นนี้ ไม่ได้สะกดเป็น “อุทเทศ” 

แต่ถ้าถือว่าคำนี้เป็นศัพท์วิชาการ จะสะกดเป็น “อุทเทศาจารย์” (อุท– มี ทหารสะกด) ก็ได้

คำว่า “อุทเทศ” ไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฯ แต่เก็บเป็น “อุเทศ” แต่คำว่า “อุเทศาจารย์” (อุเทศ + อาจารย์) ก็ไม่ได้เก็บในพจนานุกรมฯ เช่นกัน

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ที่คำว่า “อาจารย์” อธิบายไว้ดังนี้ –

…………..

อาจารย์ : ผู้สั่งสอนธรรมอำนวยวิชาความรู้, ผู้ฝึกอบรมจรรยามารยาท

อาจารย์ ๔ คือ 

๑. บัพพัชชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา (คือผู้ให้สิกขาบท หรือให้ศึกษาข้อพึงศึกษาในคราวบรรพชา) 

๒. อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท (คือผู้กล่าวหรือสวดกรรมวาจาในคราวอุปสมบท) 

๓. นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย (คือท่านที่นิสิตไปถือนิสสัยอยู่ด้วย)

๔. อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม (คือท่านผู้ให้อุเทศหรือปริปุจฉา คือผู้ให้ศึกษาพุทธพจน์)

…………..

ถือเอาความตามนัยนี้ว่า “อุเทศาจารย์” หรือ “อุทเทศาจารย์” ก็คือผู้สอนธรรม รวมไปถึงผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูสอนวิชาการในทางพระศาสนา เช่น ครูสอนนักธรรม ครูสอนบาลี เป็นต้น

ครูที่ทำหน้าที่เช่นนี้ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า “อุเทศาจารย์” หรือ “อุทเทศาจารย์

…………..

ดูก่อนภราดา!

สมัยเก่า : แอบเก็บเอาความรู้

ยังนับถือว่าเป็นครู-ครูพักลักจำ

สมัยใหม่ : สอนให้ตรงๆ ทุกคำ

ยังบอกว่าไม่มีบุญคุณ

———————

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (3,466)

8-12-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *