บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

ความไม่รู้เรื่อง “จำนำพรรษา”

เทียนจำนำพระวรรษา

—-

Chachapon Jayaphorn

๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ธรรมสถานจุฬาหล่อเทียนพรรษา เขียนเทียนจำนำพรรษา ผมอ้างคำคุณครูทักท้วงไป

เขาส่งหนังสือนี้มาให้ผมครับ

เลยอึ้งเอ่อเอ้ออ้าไป

แต่ของหลวงใช้เทียนพรรษา

—————

ทองย้อย แสงสินชัย

๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ก็นับว่าเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งครับ แต่ไม่ควรถือเป็นมาตรฐาน ในสำนวนที่คัดมาก็ใช้คำว่า “เทียนจำนำพระวรรษา” วิธีใช้คำก็แตกต่างกันอยู่แล้ว 

ถ้าจะว่า “เทียนจำนำพระวรรษา” นั่นแหละเป็นข้อยืนยันว่าคำว่า “เทียนจำนำพรรษา” ถูกต้อง ก็ยังไม่มีน้ำหนักอยู่นั่นเองเพราะต่างยุคกัน

ที่ว่านี้มิใช่ว่าจะดิ้นหลบหลักฐาน 

ผมยังนึกต่อไปว่าสำนวนในหนังสือที่คัดมานั่นเองถือเป็นมาตรฐานได้หรือไม่ดังที่ความเป็นมาของหนังสือนั้นก็เป็นที่สงสัยของผู้รู้ว่าไม่เก่าถึงสมัยสุโขทัยจริง 

นี่ยังไม่เอ่ยอ้างถึงถ้อยคำที่สำนักพระราชวังใช้ซึ่งถือเป็นมาตรฐานยุติในปัจจุบัน

สรุปเป็นความคิดของผมว่า แม้ในหนังสือนางนพมาศจะใช้เช่นนั้น และท่านพระยาอนุมานราชธนจะใช้คำตามนั้นในข้อเขียนของท่าน ก็มิได้แปลว่าคำว่า “เทียนจำนำพรรษา” จะต้องเป็นคำที่ถูกต้องไปด้วย เพราะถึงที่สุดแล้วก็ยังต้องใช้หลักภาษาในถ้อยคำเดิมที่ปรากฏในคัมภีร์เป็นตัวชี้ขาดอยู่นั่นเอง

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่กรุณาสื่อสารข้อมูลให้รับทราบ ถือโอกาสเป็นทางหาความรู้-ความคิดไปในตัวด้วยครับ

———–

Chachapon Jayaphorn

ขอบพระคุณครับ ผมเลยรีบค้นหมายกำหนดการส่งคืนไปเช่นกัน

นางนพมาศสำนวนก็ออกฟู่ฟ่าฟูมฟาย อย่างทางสันนิษฐานที่เขาว่าเป็นนวนิยายก็เห็นจะไม่ผิดครับ

อย่างไรผมก็เชื่อถือตามเหตุผลของท่านอาจารย์และที่ทำให้ผมเชื่อเป็นที่ยุติคือหมายกำหนดการที่พระมหากษัตริย์ก็ทรงใช้ว่าเทียนพรรษามาตลอดครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *