บาลีวันละคำ

บรมครู (บาลีวันละคำ 1,142)

บรมครู

อ่านว่า บอ-รม-มะ-คฺรู

ประกอบด้วย บรม + ครู

(๑) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” อ่านว่า ปะ-ระ-มะ รากศัพท์มาจากหลายทาง แสดงในที่นี้พอเป็นตัวอย่าง :

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย ลบที่สุดธาตุ และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ = ปรมร + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (ทั่วไป) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ

: + รมฺ = ปรม + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปร + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “รักษาความสูงสุดของตนไว้

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ที่ใช้ภาษาไทยว่า “บรม” (บอ-รม) พจน.54 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ”

(๒) “ครู

บาลีเป็น “ครุ” (คะ-รุ) บาลียุคหลังเป็น “คุรุ” (คุ-รุ) ก็มี (ที่ไปเป็น กูรู = Guru ตามสมัยนิยม)

ครฺ (ธาตุ = ไหลไป, ลอยขึ้น, คาย) + อุ ปัจจัย

: คร + อุ = ครุ แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เลื่อนไหล กว้างขวางไป” (หมายถึง ใหญ่, หนา, มาก, หนัก, กว้างขวาง) (2) “ผู้ลอยเด่น” (3) “ผู้หลั่งความรักไปในหมู่ศิษย์” (4) “ผู้คายความรักให้หมู่ศิษย์” ความหมายตาม (2) (3) (4) คือ “ครู” ตามที่เราเข้าใจกัน

ครุ ใช้ในภาษาไทยเป็น “ครุ” ก็มี เป็น “ครู” ก็มี

(1) ครุ = หนัก, สำคัญ

(2) ครู = ครู

ครุ ที่หมายถึง “ครู” แปลตามความหมายที่รับรู้ได้ด้วยความรู้สึกว่า ผู้รับภาระอันหนัก, ผู้ควรแก่การเคารพนับถือ, ผู้ควรได้รับการยกย่อง, ผู้ควรให้ความสำคัญ, ผู้ควรแก่ค่าสูง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ครู ๑ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).

ปรม + ครุ = ปรมครุ > บรมครู

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรมครู : (คำนาม) คำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ.”

บรมครู” ที่ว่าใช้เรียกพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะนั้น เป็นหลักนิยมในภาษาไทยเท่านั้น ในคัมภีร์ยังไม่พบคำว่า “ปรมครุ” ( = บรมครู) ที่หมายถึงเฉพาะพระพุทธเจ้า

: สอนใครก็สอนได้ แต่อย่าลืมสอนใจตัวเอง

11-7-58

ต้นฉบับ