บาลีวันละคำ

บำเพ็ญกรณี (บาลีวันละคำ 304)

บำเพ็ญกรณี

(คำผิด)

เกิดมาแล้วพยายามทำประโยชน์ให้แก่สังคมหรือเพื่อนมนุษย์เรื่อยไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่

ในภาษาไทยเคยนิยมใช้คำเรียกการกระทำดังกล่าวข้างต้นนี้ว่า “บำเพ็ญกรณีย์” (-ณี มี ย์) เช่น

ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ คุณพ่อได้บำเพ็ญกรณีย์อย่างสม่ำเสมอ

แต่ก็ปรากฏอยู่อย่างสม่ำเสมอว่า มีผู้เขียนคำนี้ว่า “บำเพ็ญกรณี” (-ณี ไม่มี ย์)

กรณีย์” มี ย์ กับ “กรณี” ไม่มี ย์ ความหมายต่างกัน

กรณีย์” คำบาลีเดิมคือ “กรณีย” (กะ-ระ-นี-ยะ) รากศัพท์คือ กร (ธาตุ = ทำ) + อนีย (ปัจจัย = ควร, พึง) แปลง เป็น

: กร + อนีย (= อณีย) = กรณีย แปลว่า “ควรทำ” “พึงทำ” หมายถึงกิจที่ควรทำ, สิ่งที่ควรทำ, ข้อผูกพัน, หน้าที่ (คำเต็มๆ ที่เราคุ้นคือ “กรณียกิจ”)

ส่วน “กรณี” มาจากรากศัพท์ คือ กร (= ทำ) + ยุ (ปัจจัย = การ-) แปลง ยุ เป็น อน, แปลง เป็น , ลง อี เครื่องหมายอิตถีลิงค์

: กร + ยุ (= อน = อณ) + อี = กรณี แปลว่า กระทำ, สร้าง, ก่อให้เกิด = การกระทำเหตุ, ก่อเหตุ หมายถึงคดี, เรื่อง, เหตุ เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้

สรุปคำ :

บำเพ็ญกรณีย์ = ทำประโยชน์

บำเพ็ญกรณี = ก่อเหตุ

สรุปความ : การก่อเหตุบางอย่างอาจถูกมองว่าเป็นการทำประโยชน์

แต่ประโยชน์ที่ดี ไม่ควรทำด้วยการก่อเหตุ

บาลีวันละคำ (304)

11-3-56

กรณี (บาลี-อังกฤษ)

กระทำ, สร้าง, ก่อให้เกิด, ผลิต

การสร้าง, การผลิต, การกระทำ, การประกอบ

กรณีย นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

กิจที่ควรทำ, สิ่งที่ควรทำ, ข้อผูกพัน, หน้าที่.

กรณี

 [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).

กรณีย-, กรณีย์, กรณียะ

 [กะระ-, กอระ-] น. กิจ.ว. อันควรทํา, อันพึงทํา. (ป.).

กรณียกิจ

น. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทํา.

บำเพ็ญ

ก. ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บําเพ็ญบุญ บําเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บําเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บําเพ็ญพรต.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย