ปัญญาสมวาร (บาลีวันละคำ 305)
ปัญญาสมวาร
เขียนแบบคำไทย อ่านว่า ปัน-ยา-สะ-มะ-วาน
เขียนแบบบาลีเป็น “ปญฺญาสมวาร” อ่านว่า ปัน-ยา-สะ-มะ-วา-ระ
“ปญฺญาสมวาร” ประกอบด้วย ปญฺญาส + ม + วาร
“ปญฺญาส” แปลว่า ห้าสิบ (จำนวน ๕๐) ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ปกติสังขยา” คือคำบอกจำนวนของสิ่งที่นับ คู่กับ “ปูรณสังขยา” คือคำบอกเฉพาะลำดับของสิ่งที่นับ
“ม” (มะ) เป็น “ปัจจัย” ใช้ประกอบเข้าข้างท้ายศัพท์ปกติสังขยาทำให้เป็นปูรณสังขยา
ดังนั้น ปญฺญาส + ม = ปญฺญาสม จึงมีความหมายว่า “ลำดับที่ห้าสิบ” หรือ “ครบห้าสิบ”
“วาร” แปลว่า วันที่กำหนด, เวลาที่กำหนด, ครั้ง, คราวหนึ่ง, โอกาส
“ปญฺญาสมวาร – ปัญญาสมวาร” จึงมีความหมายว่า “วันที่ครบห้าสิบ” คือวันทำบุญครบ ๕๐ วันของผู้ตาย
คำในชุดนี้ คือ –
1- “สัตมวาร” (สัด-ตะ-มะ-วาน) : สตฺต – สัตต (= เจ็ด) ลดรูปเป็น สัต + ม = “วันที่ครบเจ็ด” คือ วันทำบุญครบ ๗ วันของผู้ตาย
2- “ปัญญาสมวาร” = “วันที่ครบห้าสิบ” คือวันทำบุญครบ ๕๐ วันของผู้ตาย
3- “สตมาหะ” (สะ-ตะ-มา-หะ) : สต (= ร้อย) + ม + อห (อะ-หะ =วัน) = “วันที่ครบร้อย” คือ วันทำบุญครบ ๑๐๐ วันของผู้ตาย
ช่วยกันคิด : ตอนครบ ๕๐ วัน ไม่สะดวกที่จะทำบุญ จึงเลื่อนไปทำรวมกันเมื่อครบ ๑๐๐ วัน จะเรียกว่าอย่างไร ?
บาลีวันละคำ (305)
12-3-56
วาร (บาลี-อังกฤษ)
(จาก วฤ ในความหมาย “คราว” เทียบ วุณาติ fr. vṛ, in meaning “turn,” cp. vuṇāti)
๑. วาระ, โอกาส, เวลา, คราว turn, occasion, time, opportunity
อุตุวาเรน อุตุวาเรน ตามวาระของฤดู utuvārena utuvārena according to the turn of the seasons
สนฺตติวาร ช่วงระหว่างเวลา santati˚ interval
เทฺว วาเร ๒ วาระ หรือ ๒ ครั้ง dve vāre twice
ตติยวารํ เป็นครั้งที่ ๓ และเป็นครั้งสุด้าย tatiyavāraŋ for the 3rd & last time
๒. ใน ปท “ปทวาร” วาระทางเดิน กล่าวคือ ทางเดินเท้า, การก้าวเดิน In pada˚ “track-occasion,” i. e. foot-track, walk(ing), step
ปาทวาเรน โดยเดินไป ˚vārena by walking
ปาทวาเร ปาทวาเร ทุกๆ ก้าว pādavāre pādavāre at every step
๓. ใน อุทกวาร แทน วารก (คือ ถึง), วลี อุทกวารํ คจฉติ “ไปอาบน้ำ”, ไปเอาน้ำ (ใส่ถัง) มา In udaka˚ v. stands for vāraka (i. e. bucket), the phrase udakavāraŋ gacchati means “to go for water,” to fetch water (in a bucket)
๔. ภาณวาร “วาระสวด” กล่าวคือ บทสวด bhāṇa˚ “turn for recitation,” i. e. a portion for recital, a chapter
วาร (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)
น. สมุหะ, หมู่, คณะ; ปริมาณ, ประมาณ; โขลง, ฝูง; โอกาศ; วัน; เวลาครู่หนึ่ง; นามพระศิวะ; ทางเดิรเข้าประตู, ประตูบ้าน; เวลา; multitude; a quantity; flock, a herd; an occasion or opportunity; a day; a moment; a name of śiva, a doorway, a gate; a time.
วาร ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
คราวหนึ่ง, วันหนึ่งๆ.
วาร (ประมวลศัพท์)
วันหนึ่งๆ ในสัปดาห์, ครั้ง, เวลากำหนด
วาร ๑
[วาน] น. วันหนึ่ง ๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร. (ป., ส.).
วาร- ๒, วาระ
[วาระ-] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ในตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
สัตมวาร
[สัดตะมะวาน] น. วันที่ครบ ๗, วันทำบุญครบ ๗ วันของผู้ตาย.
สตมาหะ
น. วันที่ครบ ๑๐๐.
จะใช้ภาษาให้ถุกต้องไม่ใช่เรื่องง่ายนะคะ ไม่แน่ใจ น่าใช้คำไทยไปเลย หรือไม่ก็ต้องถามผู้รู้ หรือหาข้อมูลที่ถุกต้องก่อน ขอบพระคุณที่อาจารย์สอนภาษาจากป้ายประกาศค่ะ เป็นประโยชน์มากค่ะ
ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · เลิกชอบ · 2..
Supawit Sitthitumakom ทำบุญห้าสิบวัน ตอนได้ร้อยวัน เนื่องจากตอนที่ครบห้าสิบวันนั้นมีเหตุการณ์อื่นซ้อนเข้ามา ไหนไหนก็ล่วงเลยไป ทำสองอย่างสองวันในวันเดียวคราวเดียวกันไปเลย…
ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว · ที่ถูกแก้ไข · เลิกชอบ · 2..
Wachirawinyu Periyn ขออนุญาตก๊อปปี้รูปนะครับอาจารย์
ประมาณ 1 ชั่วโมงที่แล้ว ผ่าน มือถือ · เลิกชอบ · 1..
Zamar Sib Oon เป็นคำที่ใช้ผิด ปัญญาสมวาร 100 วัน
ปัญญาสมวาร มาจากคำภาษาบาลี ปญฺาสม (อ่านว่า ปัน-ยา-สะ-มะ)
แปลว่า ที่ ๕๐
หาก100 วัน ต้องสตมวาร, เป็นคำเรียกวันทำบุญครบ ๑๐๐ วันของผู้วายชนม์พระท่านคลุกคลีอยู่กับภาษาบาลี ไม่น่าจะพลาดนะครับ
18 นาทีที่แล้ว · ที่ถูกแก้ไข · เลิกชอบ · 2..
สุดใจ แสงสินชัย จำได้ว่า ปัญญาสชาดก คือชาดก 50 เรื่อง ฉะนั้น ปัญญาส จึงหมายถึง 50 นะคะ
25 นาทีที่แล้ว · ถูกใจ..
Supawit Sitthitumakom น้ำใจกตัญญูที่ศิษย์และสาธุชนมีให้พระสงฆ์แม้จะถึงแก่มรณภาพแล้ว ยิ่งใหญ่กว่าความผิดพลาดเรื่องถ้อยคำสำนวนเล็กน้อย เป็นไหนไหน…
16 นาทีที่แล้ว · เลิกชอบ · 1..
Zamar Sib Oon พุทธสุภาษิต
อัตตาหิ อัตโน นาโถ
แปลว่า สัตว์บกมากกว่าสัตว์น้ำ ครับ