บาลีวันละคำ

โยคาวจร (บาลีวันละคำ 3,486)

โยคาวจร

นักปฏิบัติตัวจริง

อ่านว่า โย-คา-วะ-จอน 

ประกอบด้วยคำว่า โยค + อวจร 

(๑) “โยค” 

บาลีอ่านว่า โย-คะ รากศัพท์มาจาก ยุชฺ (ธาตุ = ประกอบ) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ ยุ-(ชฺ) เป็น โอ (ยุชฺ > โยช), แปลง เป็น  

: ยุชฺ + = ยุชณ > ยุช > โยช > โยค แปลตามศัพท์ว่า (1) “คุณอันบุคคลพึงประกอบ” = ความเพียร (2) “กิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในทุกข์” = กิเลส

โยค” (ปุงลิงค์)  ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) แอก, การเทียม (yoke, yoking)

(2) ความเกี่ยวพัน, การใช้; ความสัมพันธ์, การสมาคมกัน; การบรรจบกัน (connection with, application to; relation, association; conjunction)

(3) ห่วง, ความสัมพันธ์; การผูกพัน, หรือสิ่งที่ผูกพันต่อการเกิดใหม่ (bond, tie; attachment, or what yokes to rebirth)

(4) ความตั้งใจ, ความพยายาม, การประกอบ, ความอุตสาหะ (application, endeavour, undertaking, effort)

(5) ความไตร่ตรอง, การสำรวจใจ, การเอาใจจดจ่อ (pondering over, concentration, devotion)

(6) อำนาจ, อิทธิพล, อุบาย, แผนการ (power, influence, device, scheme)

(7) หนทาง, เครื่องมือ, เครื่องเยียวยา (means, instrument, remedy)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โยค-, โยคะ : (คำนาม) การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบําเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).”

(๒) “อวจร” 

บาลีอ่านว่า อะ-วะ-จะ-ระ รากศัพท์มาจาก อว + จร 

(ก) “อว” อ่านว่า อะ-วะ เป็นคำอุปสรรค (prefix) แปลว่า – 

(1) ต่ำกว่า, ต่ำ (lower, low) 

(2) ลง, ลงต่ำไป, ห่างลงไป, ออกไป (down, downward, away down, off)

อว” แปลง เป็น “โอ” พบได้ทั่วไปในบาลี หรือจะกล่าวก็ได้ว่า อุปสรรคคำนี้มี 2 รูป เป็น “อว” รูปหนึ่ง เป็น “โอ” อีกรูปหนึ่ง 

(ข) “จร” บาลีอ่านว่า จะ-ระ รากศัพท์มาจาก จรฺ (ธาตุ = เที่ยวไป) + ปัจจัย, ลบ  

: จรฺ + = จรณ > จร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เที่ยวไป” “ผู้ประพฤติ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “จร” เป็นอังกฤษว่า –

(1) the act of going about, walking; one who walks or lives (การเที่ยวไป, การเดินไป, ผู้เดินหรืออยู่)

(2) one who is sent on a message, a secret emissary, a spy (ผู้ถูกให้ไปส่งข่าว, จารบุรุษ, คนสอดแนม)

อว + จร = อวจร (อะ-วะ-จะ-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ท่องเที่ยวไป” “ผู้ดำเนินไปในขอบเขตนั้นๆ

อวจร” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) อาศัยอยู่ในหรือกับ, เคลื่อนไปใน (living in or with, moving in)

(2) ขอบเขต (sphere, realm, plane)

เชื่อหรือไม่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อวจร” ไว้ด้วย!

ในภาษาไทย “อวจร” อ่านว่า อะ-วะ-จอน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

อวจร : (คำนาม) แดน, บริเวณ, เขต, วิสัย. (ป., ส.).”

โยค + อวจร = โยคาวจร (โย-คา-วะ-จะ-ระ) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ท่องเที่ยวไปในความเพียร” 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โยคาวจร” ว่า “one at home in endeavour,” or in spiritual [esp. jhāna –] exercises; one who practises “yoga”; an earnest student (“ผู้บำเพ็ญเพียร” หรือประกอบการฝึกทางจิต [โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฌาน]; พระโยคาวจร; ผู้มุ่งต่อการศึกษา)

ในภาษาไทย “โยคาวจร” อ่านว่า โย-คา-วะ-จอน คำนี้แปลง เป็น ตามหลักนิยม “โยคาวจร” จึงเป็น “โยคาพจร” อีกคำหนึ่ง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โยคาพจร, โยคาวจร : (คำนาม) ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า ไว้ดังนี้ – 

…………..

โยคาวจร : ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือกำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เขียน โยคาพจร ก็มี

…………..

นักเรียนบาลีที่เรียนแปลคัมภีร์วิสุทธิมรรคย่อมระลึกได้ว่า เนื้อหาในคัมภีร์เป็นการแสดงหลักปฏิบัติ คือปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพราะฉะนั้น จะได้เห็นได้ยินคำว่า “โยคาวจร” หรือ “พระโยคาวจร” ตลอดไปทั้งคัมภีร์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้จักใช้ลมหายใจเป็นอุปกรณ์

: ก็เป็นโยคาวจรได้ทุกคน

#บาลีวันละคำ (3,486)

28-12-64 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *