บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๑)

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๔)

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๔)

————————————–

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ. (ต่อ)

เหลืออีกคำหนึ่งที่ยังไม่ได้พูดถึงคือ “สรณํ” (สะระณัง) 

สรณํ” รูปคำเดิมคือ “สรณ” (สะระณะ) แปลว่า “ที่พึ่ง” หรือ “ที่ระลึก” บางทีก็แปลควบกันว่า “ที่พึ่งที่ระลึก” บางทีก็แปลทับศัพท์ว่า “สรณะ

สรณ” ผ่านกระบวนการลงวิภัตติปัจจัย เปลี่ยนรูปเป็น “สรณํ” อยู่ในฐานะเป็น “กรรม” ในประโยคเช่นเดียวกับ “พุทฺธํ” แต่ไม่ใช่กรรมตรง เป็นกรรมโดยอ้อม

กรรมตรงคือ “พุทฺธํ” = “ซึ่งพระพุทธเจ้า

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า

ไม่ใช่-ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งสรณะ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ – “ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า” ก่อน แล้วจึง – “ว่าเป็นสรณะ” ทีหลัง แบบนี้แหละที่เรียกว่า “สรณํ” เป็นกรรมโดยอ้อม

……………..

พอจบ “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.” ก็จะต่อด้วย “ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.” และ “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.”

พุทฺธํ” อยู่ในฐานะอย่างไร “ธมฺมํ” และ “สงฺฆํ” ก็อยู่ในฐานะอย่างนั้น

แปลรวมความว่า –

ข้าพเจ้าขอถึง “พระพุทธเจ้า” ว่าเป็นที่พึ่ง

ข้าพเจ้าขอถึง “พระธรรม” ว่าเป็นที่พึ่ง

ข้าพเจ้าขอถึง “พระสงฆ์” ว่าเป็นที่พึ่ง

ธมฺมํ” รูปคำเดิมคือ “ธมฺม” (ธัมมะ) แปลว่า “พระธรรม” รูปคำที่เราคุ้นกันดีคือ “ธมฺโม” (ธัมโม)

สงฺฆํ” ” รูปคำเดิมคือ “สงฺฆ” (สังฆะ) แปลว่า “พระสงฆ์” รูปคำที่เราคุ้นกันดีคือ “สงฺโฆ” (สังโฆ)

พุทฺธธมฺมสงฺฆ

พระพุทธ – พระธรรม – พระสงฆ์

พุทฺโธธมฺโมสงฺโฆ 

อันว่าพระพุทธเจ้า – อันว่าพระธรรม – อันว่าพระสงฆ์

พุทฺธํธมฺมํสงฺฆํ 

ซึ่งพระพุทธเจ้า – ซึ่งพระธรรม – ซึ่งพระสงฆ์

รวมพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เข้าด้วยกัน เรียกว่า “ไตรสรณะ” แปลว่า “ที่พึ่งสามอย่าง

การเปล่งวาจาว่า “ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง” เรียกว่า “ไตรสรณคมน์” (ไตฺร-สะ-ระ-นะ-คม) แปลว่า “การถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามว่าเป็นที่พึ่ง” หรือ “การถึงที่พึ่งทั้งสาม

……………..

พอจบ “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.” “ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ.” “สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ.” เที่ยวแรก พระท่านจะว่าเที่ยวที่สอง โดยเพิ่มคำว่า “ทุติยัมปิ” และเที่ยวที่สามเพิ่มคำว่า “ตะติยัมปิ

………………………..

ทุติยัมปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ทุติยัมปิ ธมฺมํ … ทุติยัมปิ สงฺฆํ … 

ตะติยัมปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ตะติยัมปิ ธมฺมํ… ตะติยัมปิ สงฺฆํ …

………………………..

ทุติยัมปิ” เขียนแบบบาลีเป็น “ทุติยมฺปิ” : ทุติยํ = ในวาระที่สอง + ปิ = แม้ 

ทุติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สอง 

ตะติยัมปิ” เขียนแบบบาลีเป็น “ตติยมฺปิ” : ตติยํ = ในวาระที่สาม + ปิ = แม้

ตติยมฺปิ = แม้ในวาระที่สาม 

……………..

วัฒนธรรมหลายอย่างในพระพุทธศาสนารับทอดมาจากวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป 

การทำซ้ำ ๓ ครั้งเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวชมพูทวีป ดูเหมือนจะมีเหตุผลดังนี้ –

ครั้งที่หนึ่ง เตือนให้รู้ตัว หรือเตรียมตัว

ครั้งที่สอง ไตร่ตรองเพื่อให้แน่ใจ

ครั้งที่สาม ตกลงใจเด็ดขาด

จะไม่มีครั้งที่สี่ ดังนั้น ครั้งที่สามจึงถือว่าเป็นครั้งสุดท้าย (the third time decides, at last) 

การทำอะไรซ้ำ ๓ ครั้ง จึงถือว่าเป็นการย้ำ ยืนยัน ยุติ เด็ดขาด 

หลักนี้คงทำให้เราพอเข้าใจได้ว่า ว่าอะไร ๓ จบ-เช่นตั้งนะโม ๓ จบ-มีที่มาจากไหน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๔

๑๒:๕๙

………………………………..

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๕)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

………………………………..

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๓)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *