บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๑)

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๕)

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๕)

————————————–

คำบูชาพระ

ในพิธีการหรือแม้ในการไหว้พระสวดมนต์คนเดียว พอจุดธูปจุดเทียนเสร็จ ก็เริ่มกล่าวคำบูชาพระ

…………………………….

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ.

อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ.

อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ.

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ. (กราบ)

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)

…………………………….

เขียนแบบคำอ่าน: อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ.

เขียนแบบบาลี: อิมินา สกฺกาเรน พุทฺธํ ปูเชมิ.

วิธีแปล:

หา “ประธาน” ในประโยคก่อน ประธานก็อยู่ที่คำกริยา (กิริยา) นั่นคือ “ปูเชมิ” – เหมือน พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ.

คจฺฉามิปูเชมิ 

มิ ที่ ปูเชมิ เป็นคำบังคับให้ต้องขึ้น “อหํ” (อะหัง) เป็นประธานแม้จะไม่มีคำว่า “อหํ” ปรากฏอยู่ก็ตาม

สูตรง่ายๆ:

……………..

คำกริยาลงท้าย –มิ ประธานต้องเป็น “อหํ” (I) (เอกพจน์)

คำกริยาลงท้าย –มะ ประธานต้องเป็น “มยํ” (We) (พหูพจน์)

……………..

อหํ อันว่าข้าพเจ้า 

ปูเชมิ ย่อมบูชา

พุทฺธํ ซึ่งพระพุทธเจ้า

สกฺกาเรน ด้วยเครื่องสักการะ

อิมินา นี้

……………..

ได้ความเฉพาะคำแปลว่า –

ข้าพเจ้า ย่อมบูชา ซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะ นี้ 

แปลรวมความว่า –

ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้

……………..

สกฺกาเรน” (สักกาเรนะ) รูปคำเดิมคือ “สกฺการ” (สักการะ) แปลว่า “เครื่องสักการะ

สกฺการ” ผ่านกระบวนการลงวิภัตติปัจจัยเปลี่ยนรูปเป็น “สกฺกาเรน” อ่านว่า สัก-กา-เร-นะ แปลว่า “ด้วยเครื่องสักการะ” 

ไม่ใช่ “เครื่องสักการะ” เฉยๆ แต่เป็น “ด้วยเครื่องสักการะ” 

มีคำว่า “ด้วย” เพิ่มเข้ามา

คำว่า “ด้วย” เพิ่มเข้ามาโดยอำนาจของวิภัตติปัจจัย

สกฺการ = เครื่องสักการะ 

สกฺกาเรน = ด้วยเครื่องสักการะ 

……………..

อิมินา” รูปคำเดิมคือ “อิม” อ่านว่า อิ-มะ แปลว่า “นี้” (this) เป็นคำขยายของ “สกฺกาเรน” (ด้วยเครื่องสักการะ นี้) บาลีไวยากรณ์เรียก “วิเสสนะ” (วิ-เส-สะ-นะ)

สูตรของ “วิเสสนะ” คือ –

…………………………….

ขยายคำใด 

คำขยายต้องมี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนคำนั้น 

…………………………….

ตัวอย่าง:

คำที่ถูกขยาย: สกฺการ = สกฺกาเรน 

คำขยาย: อิม = อิมินา 

ข้อสังเกต:

สกฺการ = สกฺกาเรน : สกฺการ + เอน 

อิม ก็น่าจะ + เอน : อิม + เอน = อิเมน (อิเมนะ)

แต่ทำไม : อิม = อิมินา ไม่ใช่ อิเมน 

คำตอบ: นี่เป็นสูตรการเปลี่ยนรูปของคำนาม นักเรียนบาลีเรียกกันเป็นสามัญว่า “แบบแจก” ซึ่งมีเป็นสิบๆ สูตร 

ต้องจำได้

จะจำได้ก็ต้องท่อง 

แต่ไม่ต้องกลัว เราเรียนบาลีแบบใช้งาน ยังไม่ต้องท่อง จำไว้เป็นคำๆ ก่อน

เมื่อใดขยัน

เมื่อนั้นค่อยท่อง

(หวังว่าความขยันคงมาเยือนเราสักวันหนึ่ง)

คำบูชาพระ – ยังไม่จบ

พักครึ่งเวลาก่อน

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย

๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๔

๑๗:๒๗

……………………………..

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๖)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

………………………………

เรียนบาลีแบบใช้งานในชีวิตประจำวัน (๐๐๔)

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *