บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

หลักการของกฐิน

หลักการของกฐิน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ พระไตรปิฎกเล่ม ๕ ข้อ ๙๕-๑๒๖

กฐินขันธกะ 

…………….

…………….

[๙๖]  อถโข  ภควา  เอตสฺมึ  นิทาเน  เอตสฺมึ  ปกรเณ  ธมฺมึ  

กถํ  กตฺวา  ภิกฺขู  อามนฺเตสิ  อนุชานามิ  ภิกฺขเว  วสฺสํ  วุตฺถานํ  

ภิกฺขูนํ  กฐินํ  อตฺถริตุํ  ฯ 

พระพุทธานุญาตใต้กรานกฐิน

[๙๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน

วิธีกรานกฐิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน 

สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆ  อิทํ  สงฺฆสฺส  กฐินทุสฺสํ  อุปฺปนฺนํ  ฯ  ยทิ  สงฺฆสฺส  ปตฺตกลฺลํ  สงฺโฆ  อิมํ  กฐินทุสฺสํ  อิตฺถนฺนามสฺส  ภิกฺขุโน  ทเทยฺย  กฐินํ  อตฺถริตุํ  ฯ  เอสา  ญตฺติ  ฯ  

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนั้นเกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ.

สุณาตุ  เม  ภนฺเต  สงฺโฆ  อิทํ  สงฺฆสฺส  กฐินทุสฺสํ  อุปฺปนฺนํ  ฯ  สงฺโฆ  อิมํ  กฐินทุสฺสํ  อิตฺถนฺนามสฺส  ภิกฺขุโน  เทติ  กฐินํ  อตฺถริตุํ  ฯ  ยสฺสายสฺมโต  ขมติ  อิมสฺส  กฐินทุสฺสสฺส  อิตฺถนฺนามสฺส  ภิกฺขุโน  ทานํ  กฐินํ  อตฺถริตุํ  โส  ตุณฺหสฺส  ยสฺส  นกฺขมติ  โส  ภาเสยฺย  ฯ  

ท่านเจ้าข้า ขอสงจงพึงข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ทินฺนํ  อิทํ  สงฺเฆน  กฐินทุสฺสํ  อิตฺถนฺนามสฺส  ภิกฺขุโน  กฐินํ  อตฺถริตุํ  ฯ  ขมติ   สงฺฆสฺส  ตสฺมา  ตุณฺหี  ฯ  เอวเมตํ  ธารยามีติ  ฯ  

ผ้ากฐินผืนนี้สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั่นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลกฐินเป็นอันกราน อย่างนี้ไม่เป็นอันกราน.

กฐินไม่เป็นอันกราน

[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่ากฐินไม่เป็นอันกราน คือ:-

๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย.

๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า.

๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า. 

๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า.

๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า.

๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บต้น.

๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม.

๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังคุม.

๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต.

๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า.

๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า.

๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่นเท่านั้น.

๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ท่านิมิตได้มา.

๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา.

๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา.

๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน.

๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์.

๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ.

๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าสังฆาฏิเสีย.

๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอุตราสงค์เสีย.

๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากผ้าอันตรวาสกเสีย.

๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑลเสร็จในวันนั้น.

๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจากการกรานแห่งบุคคล. 

๒๘. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้กฐินก็ชื่อว่าไม่เป็นอันกราน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลกฐินไม่เป็นอันกราน.

กฐินเป็นอันกราน

[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่ากฐินเป็นอันกราน คือ:-

๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่.

๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่.

๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า.

๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล. 

๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ตกตามร้าน.

๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา.

๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา.

๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา.

๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เก็บไว้ค้างคืน.

๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้เป็นนิสสัคคีย์.

๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ทำกัปปะพินทุแล้ว.

๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ.

๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์.

๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก.

๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกิน ๕ ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑลเสร็จในวัน.

๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะการแห่งบุคคล. 

๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุอยู่ในสีมาอนุโมทนากฐินนั้น แม้อย่างนี้กฐินก็ชื่อว่าเป็นอันกราน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลกฐินเป็นอันกราน.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *