บาลีวันละคำ

อัตนัย-ปรนัย (บาลีวันละคำ 1,199)

อัตนัย-ปรนัย

อ่านว่า อัด-ตะ-ไน / ปะ-ระ-ไน

ประกอบด้วยคำว่า อัต, ปร, นัย

(๑) “อัต

บาลีเป็น “อตฺต” (อัด-ตะ) มาจากรากศัพท์ดังนี้ :

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้)

๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ)

๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตติที่หนึ่ง (อตฺต เป็นรูปคำเดิม อตฺตา เป็นรูปคำที่แจกวิภัตติ)

อตฺตา” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul) หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

อตฺตา ในภาษาไทยเขียนเป็น “อัตตา” ในที่นี้ใช้เป็น “อัตต” และเพราะสมาสกับคำอื่นจึงตัด ออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมในคำไทย จึงเป็น “อัต-”

(๒) “ปร

บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ว่า “เบียดเบียน”) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ และ มฺ ที่สุดธาตุ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” ความหมายเดิมคือ “ปรปักษ์” ซึ่งหมายถึงผู้ที่อยู่อีกข้างหนึ่ง หรืออยู่คนละข้างกัน ซึ่งตามปกติย่อมพอใจที่จะเบียดเบียนคือทำร้ายกัน

จากความหมายเดิมนี้ “ปร” จึงหมายถึง อีกข้างหนึ่ง, โพ้น; เหนือ, อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (on the further side of, beyond; over, another, other)

(๓) “นย

บาลีอ่านว่า นะ-ยะ รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป, รู้) + ปัจจัย, แผลง อี ที่ นี เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย

: นี > เน > นย + = นย แปลตามศัพท์ว่า (1) “การเป็นไป” (2) “อุบายเป็นเครื่องแนะนำ” (3) “วิธีที่พึงแนะนำ” (4) “วิธีเป็นเหตุให้รู้” หมายถึง หนทาง, วิธีการ, แผน, วิธี (way, method, plan, manner)

นย” ในภาษาไทยใช้ว่า “นัย” (ไน) พจน.54 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง

(2) ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้

(3) ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย

(4) แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย

(5) แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง

การผสมคำและความหมายในภาษาไทย :

(1) อัต + นัย = อัตนัย แปลตามศัพท์ว่า “(คำตอบ) ที่เป็นแนวความคิดของตนเอง” = คำตอบเป็นข้อความของผู้ตอบเอง

(2) ปร + นัย = ปรนัย แปลตามศัพท์ว่า “(คำตอบ) ที่เป็นแนวความคิดของคนอื่น” = คำตอบเป็นข้อความของคนอื่น (คือผู้ถามหรือผู้ออกข้อสอบ) ตอบไว้ให้เลือก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) อัตนัย : (คำวิเศษณ์) ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดงความคิดเห็นของตนเองว่า การสอบแบบอัตนัย, คู่กับ ปรนัย, จิตวิสัย ก็ว่า. (อ. subjective).

(2) ปรนัย : (คำวิเศษณ์) วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคําถามที่ต้องการคําตอบตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.

ข้อสังเกตฝากถึง พจน.42 – 54 :

๑ พจน.42 :

ที่คำว่า “อัตนัย” คำนิยามมีวงเล็บ (อ. subjective) ไว้ด้วย

ที่คำว่า “ปรนัย” ก็ควรจะมีวงเล็บ (อ. objective) ไว้ด้วย แต่ไม่มี

๒ พจน.54 :

ซึ่งปรับปรุงมาจาก พจน.42 ก็ยังคงความลักลั่นนี้ไว้เหมือนเดิม

ชีวิตเหมือนข้อสอบ –

: ไม่มีความรู้ ยากที่จะทำข้อสอบ

: ไม่มีความรู้สึกผิดชอบ ยากที่จะทำความดี

————

(ได้แรงบันดาลใจจาก –อัตนัย ปรนัย– โพสต์ของ Saiporn Jaemkham เมื่อวานนี้)

10-9-58

ต้นฉบับ