บาลีวันละคำ

ขตฺติย – กษัตริย์ (บาลีวันละคำ 314)

ขตฺติยกษัตริย์

ขตฺติย” มีรากศัพท์มาจาก เขตฺต (เขด-ตะ = นา) + อิย (อิ-ยะ = ผู้เป็นใหญ่) = ขตฺติย สันสกฤตเป็น “กฺษตฺริย” เราเขียนตามรูปสันสกฤตเป็น “กษัตริย์” (กะ-สัด) แปลว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งนา

คำนี้มีปฐมเหตุจากการตั้งชุมชนของมนุษย์แต่ดึกดำบรรพ์ ที่ต้องอาศัยพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก เมื่อถูกมนุษย์พวกอื่นรบกวน ต้องมีคนที่คอยป้องกันเพื่อให้ชุมชนเพาะปลูกได้อย่างปลอดภัย

จึงเรียกคนที่ทำหน้าที่ป้องกันนี้ว่า “ขตฺติยกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งนา” ในความหมายดั้งเดิมคือ “ผู้ทำหน้าที่ปกป้องที่นาให้พ้นจากการรุกราน เพื่อให้คนอื่นๆ ทำนาได้อย่างสะดวกปลอดภัย”

ในการทำหน้าที่ปกป้องนี้ย่อมหลีกไม่พ้นที่จะต้องต่อสู้กับศัตรู ดังนั้น “ขตฺติยกษัตริย์” จึงมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “สายเลือดนักรบ

แผ่นดินไทยนี้ ตั้งแต่อดีตตราบจนปัจจุบัน สถาบันกษัตริย์ยังดำรงความหมายเดิมของ “ขตฺติยกษัตริย์” ไว้อย่างครบถ้วน คือ “ผู้สละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน”

บาลีวันละคำ (314)

21-3-56

ขตฺต = กษัตริย์, นักรบ, ผู้ป้องกันประเทศ (ราชญฺญ ขตฺติย พาหุช มุทฺธาภิสิตฺต) (ศัพท์วิเคราะห์)

ขฏฺฏตีติ ขตฺโต ผู้ป้องกันเขตแคว้น

ขฏฺฏ ธาตุ ในความหมายว่าป้องกัน อ ปัจจัย, แปลง ฏฺฏ เป็น ตฺต

ขตฺติย = กษัตริย์, พระเจ้าแผ่นดิน (ราชญฺญ ขตฺต พาหุช มุทฺธาภิสิตฺต) (ศัพท์วิเคราะห์)

ขตฺตสฺสาปจฺจํ ขตฺติโย เชื้อสายของนักรบ

ขตฺต + อิย

เขตฺตานํ อธิปติภูตตฺตา ขตฺติโย ผู้เป็นเจ้าของนา, ผู้เป็นใหญ่ของพวกชาวนา

เขตฺต + อิย ลบ เอ

ขตฺติย (บาลี-อังกฤษ)

(มาจาก ขตฺต = กฺษตฺร “มีสมบัติ” สัน. กฺษตฺริย der. fr. khatta=kṣatra “having possessions”; Sk. kṣatriya)

พหุ.กรรต.กา. ขตฺติยาเส pl. nom. also khattiyāse J iii.441.

รูปย่อเป็น ขตฺย A shortened form is khatya J vi.397.

อิต. ขตฺติยา ขตฺตี และ ขตฺติยี f. khattiyā A iii.226 — 229, khattī D. i.193, and khattiyī.

กลุ่มหนึ่งในบรรดาหมู่ชนหรือเผ่าชนที่มีกำเนิดมาจากพวกอารยัน เป็นตำแหน่งอันสูงสุดของสังคม. ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งแยกสังคมในสมัยพุทธกาล ได้บรรยายไว้ใน  และได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อไรก็ตามที่อ้างถึงการแบ่งตามสังคม พวกกษัตริย์จะมาอันดับแรกเสมอ. A member of one of the clans or tribes recognised as of Aryan descent. To be such was to belong to the highest social rank. The question of such social divisions in the Buddha’s time is discussed in Dialogues i.97 — 107; and it is there shown that whenever they are referred to in lists the khattiyas always come first.

ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ Khattiyo seṭṭho jane tasmiŋ D i.199=ii.97=M i.358=S i.153, ii.284.

คำร้อยกรองอันเป็นที่ชอบกันนี้ นัยว่าเป็นคำรับสั่งของเทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งเสริมต่อไปว่า ผู้ใดก็ตามที่มีปัญญาและความเป็นธรรมเพียบพร้อมสมบูรณ์ ย่อมประเสริฐกว่าทุกๆ คน. This favourite verse is put into the mouth of a god; and he adds that whoever is perfect in wisdom and righteousness is the best of all.

ในเรื่องเกียรติภูมิทางด้านสังคมแห่งพวกกษัตริย์ โปรดดูต่อไป On the social prestige of the khattiyas see further M ii.150 — 157; iii.169; A ii.86; S i.71, 93; Vin iv.6 — 10.

ทางด้านศาสนา On the religious side of the question D iii.82; 93; M i.149, 177; ii.84; S i.98.

ความมั่งคั่งมิได้รับการพิจารณาเลย. มีกษัตริย์จำนวนน้อยมากที่เป็นผู้มั่งคั่งตามความเห็นของคนสมัยนั้นในประเทศนั้น. กษัตริย์เช่นนั้นถูกกล่าวถึงใน . ทั้งพระราชาและหัวหน้าเผ่าทั้งหมดจัดเป็นกษัตริย์. Wealth does not come into consideration at all. Only a very small percentage of the khattiyas were wealthy in the opinion of that time and place. Such are referred to at S i.15. All kings and chieftains were khattiyas D i.69, 136; iii.44, 46, 61; A i.106; iii.299; iv.259.

ธา.ป.๒๙๔ เรียกกษัตริย์ว่า พระราชา (ราชาโน), อ้างไว้ใน เน.ป.๑๖๕

Khattiyas are called rājāno Dhp 294, quoted Netti 165.

กฺษตฺร (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

น. ‘กษัตร์,’ ชายชาตินักรบ; ร่างกาย, ตัว; a man of the military class; the body.

กฺษตฺรินฺ (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

น. ‘กษัตริน,’ ชายชาตินักรบ; a man of the military class or tribe.

กฺษตฺริย (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

น. ‘กษัตริย,’ นรหรือสตรีชาตินักรบ; a man or woman of the military tribe.

กษัตริย์

 [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย).ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย