บาลีวันละคำ

อสุรกาย – 1 ในอบายภูมิ (บาลีวันละคำ 3,498)

อสุรกาย – 1 ในอบายภูมิ

บางคนเป็นเมื่อตาย 

บางคนเป็นตั้งแต่ยังเป็นๆ

อ่านว่า อะ-สุ-ระ-กาย

แยกศัพท์เป็น อสุร + กาย 

(๑) “อสุร” 

บาลีอ่านว่า อะ-สุ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ไม่, ไม่ใช่) + สุรฺ (ธาตุ = สนุกสนาน; รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น  

: > + สุรฺ = อสุร + = อสุร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ไม่สนุกสนานเหมือนพวกเทวดา” (2) “ผู้ไม่รุ่งเรืองเหมือนพวกเทวดา

(2) ) อสุ (ลมหายใจ) + ปัจจัย

: อสุ + = อสุร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังมีลมหายใจ” (คือรอดตายจากการถูกพวกเทวดาจับโยนลงมาจากสวรรค์) 

(3) (ไม่) + สุรา (น้ำเมา, เหล้า), แปลง เป็น , “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ (สุ)-รา (สุรา > สุร)

: > + สุรา = อสุรา > อสุร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่ดื่มสุรา” (ตามเรื่องว่า อมนุษย์พวกนี้เดิมอยู่บนสวรรค์ ถูกเทวดามอมสุราแล้วขับตกสวรรค์ เมื่อรู้สึกตัวจึงร้องบอกกันว่า “น สุรํ ปิวิมฺหา น สุรํ ปิวิมฺหา = พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” ตั้งแต่นั้นมาจึงได้นามว่า “อสุร”)

อสุร” (ปุงลิงค์) หมายถึง เทพที่ตกต่ำ, อสูร; อมนุษย์พวกหนึ่งที่ปรากฏในเทพนิยาย (a fallen angel, a Titan; a class of mythological beings)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อสุร– : (คำนาม) อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).”

อสุร” มักใช้ในภาษาไทยเป็น “อสูร” (อะ-สูน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อสูร : (คำนาม) ยักษ์, ในบทกลอนใช้ว่า อสุรา อสุรี หรือ อสุเรศ ก็มี. (ป. อสุร).”

(๒) “กาย” 

บาลีอ่านว่า กา-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) กุ (สิ่งที่น่ารังเกียจ, สิ่งที่น่าเกลียด) + อาย (ที่มา, ที่เกิดขึ้น), “ลบสระหน้า” คือ อุ ที่ กุ (กุ > )

: กุ > + อาย = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นของสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย

(2) (อวัยวะ) + อายฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป), + ปัจจัย

: + อายฺ = กายฺ + = กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่เป็นไปแห่งอวัยวะทั้งหลาย

(3) กาย (ร่างกาย) + ปัจจัย, ลบ  

: กาย + = กายณ > กาย แปลตามศัพท์ว่า “ที่เกิดขึ้นแห่งส่วนย่อยทั้งหลายเหมือนร่างกาย” (คือร่างกายเป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ฉันใด “สิ่งนั้น” ก็เป็นที่รวมอยู่แห่งส่วนย่อยทั้งหลายฉันนั้น)

กาย” (ปุงลิงค์) หมายถึง ร่างกาย; กลุ่ม, กอง, จำนวนที่รวมกัน, การรวมเข้าด้วยกัน, ที่ชุมนุม (body; group, heap, collection, aggregate, assembly)

อสุร + กาย = อสุรกาย แปลว่า “กลุ่มของอสุระ” หมายถึง กายหรือหมู่อสูร (the body or assembly of the asuras)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต แปล “อสุรกาย” เป็นอังกฤษว่า

Asurakāya : the plane of Asura demons; demons.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

อสุรกาย : ‘พวกอสูร’ ภพแห่งสัตว์เกิดในอบายพวกหนึ่ง เป็นพวกมักหวาดสะดุ้ง ไร้ความรื่นเริง (ข้อ 4 ในอบาย 4).”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อสุรกาย : (คำนาม) สัตว์เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง เชื่อกันว่าชอบเที่ยวหลอกหลอนคน, คู่กับ เปรต. (ป.).”

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต มีคำว่า “อบาย” และ “อบายภูมิ” บอกไว้ว่า –

…………..

อบาย, อบายภูมิ : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑. นิรยะ นรก ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓. ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔. อสุรกาย พวกอสุรกาย; ดู คติ, ทุคติ.

…………..

ตามไปดูที่คำว่า “คติ” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ดังนี้ –

…………..

คติ : 1. การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง 2. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑. นิรยะ นรก ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓. เปตติวิสัย แดนเปรต ๔. มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล ๕. เทพ ชาวสวรรค์ ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึง อกนิษฐพรหม; ใช้คำเรียกเป็นชุดว่า: นิรยคติ ติรัจฉานคติ เปตคติ มนุษยคติ เทวคติ, ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี) ๒ คติหลังเป็น สุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

สำหรับทุคติ ๓ มีข้อสังเกตว่า บางทีเรียกว่า อบาย หรืออบายภูมิ แต่อบายภูมินั้นมี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน, อรรถกถากล่าวว่า (อุ.อ.๑๔๕; อิติ.อ.๑๔๕) การที่มีจำนวนไม่เท่ากัน ก็เพราะรวมอสุรกาย เข้าในเปตติวิสัยด้วย จึงเป็นทุคติ ๓; ดู อบาย 

คติ ๕ นี้ เมื่อจัดเข้าใน ภพ ๓ พึงทราบว่า ๔ คติแรกเป็นกามภพทั้งหมด ส่วนคติที่ ๕ คือ เทพ มีทั้งกามภพ รูปภพ และอรูปภพ (เทพนั้น แบ่งออกไปเป็น ก.เทวดาในสวรรค์ ๖ ชั้น อยู่ในกามภพ ข.รูปพรหม ๑๖ ชั้น อยู่ในรูปภพ และ ค.อรูปพรหม ๔ ชั้น อยู่ในอรูปภพ); เทียบ ภพ 

เมื่อจัดเข้าใน ภูมิ ๔ พึงทราบว่า ๔ คติแรกเป็นกามาวจรภูมิทั้งหมด ส่วนคติที่ ๕ คือ เทพ มีทั้งกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ (ทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้วใน ภพ ๓) แต่มีข้อพิเศษว่า ภูมิสูงสุด คือภูมิที่ ๔ อันได้แก่ โลกุตตรภูมินั้น แม้ว่าพวกเทพจะอาจเข้าถึงได้ แต่มนุษยคติเป็นวิสัยที่มีโอกาสลุถึงได้ดีที่สุด; เทียบ ภูมิ 

…………..

ตามไปดูที่คำว่า “ทุคติ” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ดังนี้ –

…………..

ทุคติ : คติไม่ดี, ทางดำเนินที่ไม่ดีมีความเดือดร้อน, ที่ไปเกิดอันชั่ว หรือที่ไปเกิดของผู้ทำกรรมชั่ว, แดนกำเนิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ มี ๓ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต; คติที่ไม่ดี คือ ทุคติ ๓ นี้ ตรงข้ามกับคติที่ดี คือ สุคติ ๒ (มนุษย์ และ เทพ) รวมทั้งหมดเป็น คติ ๕ 

ที่ไปเกิดหรือแดนกำเนิดไม่ดีนี้ บางทีเรียกว่า อบาย หรืออบายภูมิ (แปลว่า แดนซึ่งปราศจากความเจริญ) แต่อบายภูมินั้นมี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน, เหตุให้จำนวนไม่เท่ากันนั้น มีคำอธิบาย ดังที่อรรถกถาบางแห่งกล่าวไว้ว่า (อุ.อ.๑๔๕; อิติ.อ.๑๔๕) ในกรณีนี้ รวมอสุรกาย เข้าในจำพวกเปรตด้วย จึงเป็นทุคติ ๓; ตรงข้ามกับ สุคติ

อนึ่ง ในความหมายที่ลึกลงไป ถือว่านรก เปรต จนถึงติรัจฉาน ที่เป็นทุคติก็โดยเทียบว่ามีทุกข์เดือดร้อนกว่าเทวะและมนุษย์ แต่กำเนิดหรือแดนเกิดทั้งหมดทั้งสิ้น แม้แต่ที่เรียกว่าสุคตินั้น ไม่ว่าจะเป็นเทวดา หรือพรหมชั้นใดๆ ก็เป็นทุคติ ทั้งนั้น (เนตฺติ.๖๑/๔๕; ๑๐๖/๑๐๕) เมื่อเทียบกับนิพพาน เพราะคติเหล่านั้นยังประกอบด้วยทุกข์ หรือเป็นคติของผู้ที่ยังมีทุกข์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ทำตัวเลวร้าย เป็นอสุรกายในชาตินี้

: ถ้ายังทำตัวไม่ดี เป็นอสุรกายทุกภพทุกชาติ

#บาลีวันละคำ (3,498)

9-1-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *