บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

งานบอกกล่าวชวนกันรักษาพระธรรมวินัย

งานบอกกล่าวชวนกันรักษาพระธรรมวินัย (๔)

งานบอกกล่าวชวนกันรักษาพระธรรมวินัย (๔)

————————————

ดังที่ทราบกันดี ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสว่า “โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ธรรมและวินัย ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย จักเป็นศาสดาของพวกเธอ” จึงได้ถือกันมาว่าเป็นหน้าที่ของเหล่าพุทธบริษัท โดยเฉพาะพระสงฆ์ ที่จะรักษาธรรมวินัยนั้น ทั้งโดยปฏิบัติด้วยตนเอง และดำรงสืบทอดหลักคำสั่งคำสอนที่รักษาไว้ในพระไตรปิฎก โดยมีคัมภีร์ที่แวดล้อม เช่นอรรถกถาฏีกาช่วยพิทักษ์ความแม่นยำและมั่นคง

เนื่องด้วยคัมภีร์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นภาษาบาลี ชาวพุทธจึงมีหน้าที่เพิ่มขึ้นในการศึกษาให้รู้เข้าใจภาษาบาลีนั้น และสื่อสารพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง ตั้งต้นแต่แปลให้ถูกให้ตรง ถ้ามีความเผลอไผลผิดพลาด ก็ช่วยกันบอกกล่าว โดยไม่ต้องมัวถือสากัน จะได้เป็นการส่วนรวมที่มุ่งเพื่อจะรักษาพระธรรมวินัยนั้นเป็นที่หมาย

หนังสือนี้เกิดมีมาอย่างไร ได้เล่าไว้ในต้นเรื่องแล้ว ขอย้ำเพื่อความเข้าใจว่า การที่บอกกล่าวกันไม่ใช่เป็นเรื่องของความคิดเห็น แต่เป็นเรื่องความถูกตรงแม่นยำแห่งหลักคำสอนที่ยกมาแสดง โดยเฉพาะคำแปลที่พึงช่วยกันตรวจสอบบอกกันให้มั่นใจได้ ยกตัวอย่างเทียบเคียงง่ายๆ อย่างเรื่องที่เอามาเล่ากันว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีบอกแก่ชาวบ้านที่มาชุมนุมว่า สุกร คือหมาน้อยธรรมดา อย่างนี้ถึงจะไม่ถือสากัน แต่ก็ควรรู้เข้าใจว่าเป็นการแปลความหมายที่ไม่ถูกต้อง และก็ช่วยกันบอกเล่าให้แก้ไข จะได้มีสมบัติที่ดีอันคงอยู่เป็นของแท้

————————————

ดู “ธรรมกาย” แท้ของพระพุทธเจ้า

เข้าใจ “อนัตตา” ให้ตรงตามจริง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

หน้า จ – ปรารภ

……………………

ดาวน์โหลดหนังสือ:

http://www.watnyanaves.net/th/book_search

๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๑

๐๙:๕๑

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *