บาลีวันละคำ

อัษฎางคประดิษฐ์ (บาลีวันละคำ 2,375)

อัษฎางคประดิษฐ์

อ่านว่า อัด-สะ-ดาง-คะ-ปฺระ-ดิด

แยกคำเป็น อัษฎางค + ประดิษฐ์

(๑) “อัษฎางค

บาลีเป็น “อฏฺฐงฺค” (อัด-ถัง-คะ) ประกอบด้วยคำว่า อฏฺฐ + องฺค

(ก) “อฏฺฐ” (อัด-ถะ) เป็น แปลว่า แปด (จำนวน 8)

(ข) “องฺค” (อัง-คะ) รากศัพท์มาจาก องฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป; รู้) + ปัจจัย

: องฺคฺ + = องค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างที่เดินได้” (2) “เหตุเป็นเครื่องรู้ที่เกิด” คือทำให้รู้ต้นกำเนิด (3) “ส่วนอันเขารู้ว่าเป็นอวัยวะ

องฺค” ในบาลีหมายถึง ส่วนของร่างกาย, แขนขา, ชิ้นส่วน, ส่วนประกอบ, เหตุ, เครื่องหมาย (part of the body, a limb, part, member, cause, reason, status symbol); ส่วนประกอบของทั้งหมด หรือของระบบ หรือขององค์ (a constituent part of a whole or system or collection)

ในที่นี้ “องฺค” หมายถึง ส่วนของร่างกาย

(๒) “ประดิษฐ์

บาลีเป็น “ปติฏฺฐิต” (ปะ-ติด-ถิ-ตะ) รากศัพท์มาจาก ปฏิ (คำอุปสรรค = เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) + ฐา (ธาตุ = หยุดการไป, ยืน, ตั้งอยู่, วางไว้) + ปัจจัย, แปลง ปฏิ เป็น ปติ, ซ้อน ฏฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (ปฏิ > ปติ + ฏฺ + ฐา), ลบสระหน้า คือ อา ที่ ฐา (ฐา > ), ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (ฐา > + อิ + )

: ปฏิ > ปติ + ฏฺ + ฐา = ปติฏฺฐา > ปติฏฺฐ + อิ + + ปติฏฺฐิต แปลตามศัพท์ว่า “ตั้งไว้โดยเฉพาะ”  

ปติฏฺฐิต” เป็นคำกริยาและใช้เป็นคุณศัพท์ได้ บางกรณีก็ใช้เป็นคำนามได้ด้วย

ปติฏฺฐิต” เป็นกริยาและคุณศัพท์ หมายถึง ตั้งอยู่เฉพาะ, ตั้งมั่น, จัด, นำมาเรียงกัน, ยืนอยู่, มีที่พึ่งพิง, เป็นหลักฐาน, ตั้งขึ้น (established in, settled, fixed, arrayed, stayed, standing, supported, founded in)

ปติฏฺฐิต” เป็นคำนาม หมายถึง การจัดแจง, การปรับให้เรียบร้อย (arrangement, settling)

ในที่นี้ “ปติฏฺฐิต” ใช้เป็นคำนาม

ปติฏฺฐิต” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประดิษฐ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประดิษฐ-, ประดิษฐ์ : (คำกริยา) ตั้งขึ้น, จัดทําขึ้น, คิดทําขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. (คำวิเศษณ์) ที่จัดทําขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทําขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺฐ; ป. ปติฏฺฐ).”

การประสมคำ :

(1) อฏฺฐ + องฺค = อฏฺฐงฺค แปลว่า “องค์แปด” หมายถึง อวัยวะ 8 แห่ง

(2) อฏฺฐงฺค + ปติฏฺฐิต = อฏฺฐงฺคปติฏฺฐิต (อัด-ถัง-คะ-ปะ-ติด-ถิ-ตะ) แปลว่า “การตั้งไว้อย่างตั้งใจซึ่งองค์แปด

อฏฺฐงฺคปติฏฺฐิต” ในภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “อัษฎางคประดิษฐ์” เป็นชื่อเรียกวิธีกราบแบบหนึ่งโดยให้อวัยวะ 8 แห่งสัมผัสกับพื้น

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 คำว่า “กราบ” หน้า 408-409 อธิบายลักษณะการกราบแบบ “อัษฎางคประดิษฐ์” ไว้ดังนี้ –

…………..

… ยังมีการแสดงความเคารพอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า อัษฎางคประณาม หรืออัษฎางคประดิษฐ์ คือการแสดงความเคารพด้วยวิธีนอนพังพาบเหยียดมือเหยียดเท้าออกไปเต็มเหยียด ให้อวัยวะแปดแห่ง คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้ง ๒ หน้าอก ๑ เข่าทั้ง ๒ และปลายเท้าทั้ง ๒ จดพื้น บางแห่งกล่าวว่า อัษฎางคประณาม คือ มือ ๒ หน้าอก ๑ หน้าผาก ๑ ตา ๒ คอ ๑ กลางหลัง ๑ รวมเป็น ๘ หรืออีกนัยหนึ่งว่า มือทั้ง ๒ หน้าอก ๑ หน้าผาก ๑ เข่า ๑ เท้า ๑ วาจา ๑ ใจ ๑ รวมเป็น ๘ วิธีแสดงความเคารพดังกล่าวนี้ นิยมใช้กันอยู่ในประเทศอินเดีย แม้ชาวตะวันตกบางแห่งก็ยังนิยมใช้อยู่ เรียกว่า Prostration ถือว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด

…………..

ดูก่อนภราดา!

โก  นุ  โถมยตี  สมฺมา-

ปฏิปตฺติมนุตฺตรํ

โย  สทฺโธ  ส  จเร  ธมฺมํ

ยญฺเจ  เกวลวนฺทนํ.

ศาสดาคนไรหนอที่สรรเสริญความประพฤติดีปฏิบัติชอบ

ว่าประเสริฐกว่าการบูชาด้วยอามิส

ผู้ใดมีศรัทธาก็จงประพฤติธรรมความดีเข้าเถิด

การกราบไหว้แต่อย่างเดียวจะทำอะไรได้

ที่มา: วิสาขภาษิต

สามเณรบุญรอด สุชีโว ป.ธ.7 วัดกันมาตุยาราม

ประพันธ์ พ.ศ.2480

#บาลีวันละคำ (2,375)

13-12-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย