บทความเกี่ยวกับศาสนา-ภาษา-สังคม

งานบอกกล่าวชวนกันรักษาพระธรรมวินัย

งานบอกกล่าวชวนกันรักษาพระธรรมวินัย (๖)

งานบอกกล่าวชวนกันรักษาพระธรรมวินัย (๖)

————————————

นิพพานก็เป็นอนัตตา บัญญัติก็เป็นอนัตตา ชัดอยู่แล้ว

ไม่ควรหลบไปอ้างคำแปลที่ผิดว่า “บัญญัติ คือนิพพาน”

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ มีคาถาเป็นคำสรุประบุชัดไว้

(วินย.๘/๘๒๖/๒๒๔) ดังนี้

อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา……….ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา

นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติอนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ

แปลว่า : “สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพาน และบัญญัติ เป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้”

แต่ในข้อเขียนที่เอานิพพานเป็นอัตตานั้น ยกข้อความในพระไตรปิฎกตรงนี้มาอ้าง

แต่แทนที่จะแปลว่า “นิพพานและบัญญัติ เป็นอนัตตา

กลับอ้างคำแปลที่ผิดเป็นว่า “บัญญัติ คือนิพพานเป็นอนัตตา” ซึ่งเป็นคำแปลที่ผิดทั้งคำ ผิดทั้งความ ผิดทั้งพยัญชนะ ตั้งแต่ผิดไวยากรณ์ และผิดทั้งอรรถหรืออัตถะอย่างเห็นได้ชัด

เรียกได้ว่าเป็นการแปลที่ผิดโดยทั้งบิดคำและบิดความ

————————————

ดู “ธรรมกาย” แท้ของพระพุทธเจ้า

เข้าใจ “อนัตตา” ให้ตรงตามจริง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

หน้า ๔ 

……………………

ดาวน์โหลดหนังสือ:

http://www.watnyanaves.net/th/book_search

๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๑

๑๑:๕๖

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *