บาลีวันละคำ

อนาทร (บาลีวันละคำ 325)

อนาทร

บาลีอ่านว่า อะ-นา-ทะ-ระ ไทยอ่านว่า อะ-นา-ทอน

อนาทร” มาจาก + อาทร = อนาทร

” (นะ) แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี

อาทร” แปลว่า ความเอื้อเฟื้อ, การให้ความสำคัญ, ความเอาใจใส่, ความห่วงใย (ดูคำว่า “อาทร”)

+ อาทร น่าจะเป็น “นอาทร” หรือ “นาทร” แต่กฎบาลีไวยากรณ์บอกว่า “” เมื่อประสมข้างหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ (อ- อา- อิ- อี- อุ- อู- เอ- โอ-) ต้องแปลงเป็น “อน” (อะ-นะ)

อาทร” ขึ้นต้นด้วยสระ อา– จึงต้องแปลง เป็น อน : = อน + อาทร = อนาทร แปลว่า ไม่เอื้อเฟื้อ, ไม่เอาใจใส่, ไม่พะวง, ไม่ห่วงกังวล, ไม่เดือดร้อนด้วย, ไม่เห็นความสำคัญ

ในภาษาไทยมักใช้ “อนาทร” ในความหมายว่า เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ แต่ใช้ในความปฏิเสธว่า “ไม่อนาทร” “อย่าอนาทร” หมายความว่า ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน อย่าร้อนอกร้อนใจ

อันที่จริง “อนาทร” แปลว่า “ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน” อยู่แล้ว ใช้คำปฏิเสธว่า “ไม่-” เข้าไปอีก จึงเป็นปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ = ยอมรับ หรือไม่ปฏิเสธ แต่ก็ใช้กันเช่นนี้ นับว่าเป็นคำที่ “ผิดจนถูก” ไปแล้ว

สัจจะโลก : ทำผิดกันทั่วไป ยิ่งถูกมาก

สัจจะธรรม : ทำผิดกันทั่วไป ยิ่งทุกข์มาก

บาลีวันละคำ (325)

2-4-56

อนาทร ๑

 [อะนาทอน] น. ความไม่เอื้อเฟื้อ, ความไม่เอาใจใส่, ความไม่พะวง. (ป., ส.).

อนาทร ๒

 [อะนาทอน] ก. เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่อนาทร อย่าอนาทร หมายความว่า ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน อย่าร้อนอกร้อนใจ.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย