บาลีวันละคำ

เทพนิยาย (บาลีวันละคำ 3,500)

เทพนิยาย

มนุษย์เล่าเรื่องเทวดา

อ่านว่า เทบ-พะ-นิ-ยาย

ประกอบด้วยคำว่า เทพ + นิยาย

(๑) “เทพ

บาลีเป็น “เทว” อ่านว่า เท-วะ รากศัพท์มาจาก ทิวฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง, เล่น, สนุก, เพลิดเพลิน) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ทิ-(วฺ) เป็น เอ (ทิวฺ > เทว

: ทิวฺ + = ทิว > เทว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ของตน” (2) “ผู้เพลิดเพลินด้วยเบญจกามคุณ” 

ความหมายของ “เทว” ที่มักเข้าใจกัน คือหมายถึง เทพเจ้า, เทวดา 

แต่ความจริง “เทว” ในบาลียังมีความหมายอีกหลายอย่าง 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เทว” ไว้ดังนี้ –

(1) good etc. (สิ่งที่ดี และอื่นๆ)

(2) a god, a deity, a divine being (เทวดา, เทพเจ้า, เทพ)

(3) the sky, rain-cloud, rainy sky, rain-god (ท้องฟ้า, เมฆฝน, ท้องฟ้ามีฝน, เทพแห่งฝน) 

ในที่นี้ “เทว” ใช้ในความหมายตามข้อ (2) คือเทวดาหรือเทพเจ้า 

เทว” เมื่อใช้ในภาษาไทยแปลง เป็น ตามสูตรที่นิยมทั่วไป เช่น – 

วร > พร 

วิวิธ > พิพิธ 

: เทว > เทพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “เทพ” ไว้ 3 คำ บอกไว้ดังนี้ – 

(1) เทพ ๑, เทพ– : (คำนาม) เทวดา. (ป., ส. เทว).

(2) เทพ ๒ : (คำนาม) คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น เทพทอง เทพชาตรี เทพบรรทม เทพนิมิต เทพรัญจวน.

(3) เทพ ๓ : (คำนาม) สมณศักดิ์พระราชาคณะสูงกว่าชั้นราช ตํ่ากว่าชั้นธรรม เรียกว่า ชั้นเทพ เช่น พระเทพโมลี.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความคำว่า “เทพ” ไว้ดังนี้ –

…………..

เทพ : เทพเจ้า, ชาวสวรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ 

๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = พระราชา, พระเทวี พระราชกุมาร 

๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย

๓. วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย

…………..

(๒) “นิยาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

นิยาย : (คำนาม) เรื่องที่เล่ากันมา.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้คำนิยามใหม่เป็นว่า –

นิยาย : (คำนาม) เรื่องที่แต่งขึ้น.”

พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่าคำว่า “นิยาย” เป็นภาษาอะไร แต่รูปคำอาจอธิบายให้เป็นบาลีได้ ดังต่อไปนี้

นิยาย” บาลีอ่านว่า นิ-ยา-ยะ รากศัพท์มาจาก นิ (ขึ้น, ออก) + อยฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ , ลง อาคมหน้าธาตุ ( + อยฺ = ยยฺ) ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ยฺ) เป็น อา (อยฺ > อายฺ)

: นิ + + อยฺ = นิยย + = นิยยณ > นิยย > นิยาย แปลตามศัพท์ว่า (1) “วิธีเป็นเครื่องแสดงเนื้อความออกมา” (2) “วิธีที่ยกเรื่องราวขึ้นแสดง” หมายถึง การบรรยายเรื่อง, การเล่าเรื่อง, เรื่องเล่า (narration, recount, tale)

โปรดทราบว่านี่เป็นการอธิบายรูปศัพท์ตามหลักภาษาบาลี และแสดงความหมายตามที่เข้าใจกันในภาษาไทย แต่ในคัมภีร์ยังไม่พบศัพท์ที่มีความหมายเช่นนี้

เทพ + นิยาย = เทพนิยาย แปลตามประสงค์ว่า “เรื่องราวของเทวดา

คำว่า “เทพนิยาย” ถ้าอ่านตามหลักภาษาต้องอ่านว่า เทบ-พะ-นิ-ยาย (มีเสียง -พะ- ด้วย) แต่เท่าที่ฟังอ่านกันทั่วไป อ่านว่า เทบ-นิ-ยาย (ไม่มี -พะ- )

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “เทพนิยาย” ไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ –

เทพนิยาย : (คำนาม) เรื่องราวหรือตํานานเกี่ยวกับเทวดา.” 

อภิปรายขยายความ :

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “เทพนิยาย” เป็นอังกฤษว่า a fairy tale, a myth; mythology

คำอังกฤษที่น่าจะใช้กันมากเมื่อพูดถึง “เทพนิยาย” คือ myth 

ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติ myth เป็นคำไทยว่า “เรื่องปรัมปรา

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล myth เป็นภาษาไทยว่า

1. เรื่องนิทานเกี่ยวกับอภินิหารของผู้วิเศษ เช่น รามเกียรติ์ 

2. เรื่องโกหก

แต่ก็มีคำที่ออกมาจาก myth คือ mythology พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลเป็นไทยว่า “เทพนิยาย

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล myth เป็นบาลีดังนี้: 

(1) purāvuttakathā ปุราวุตฺตกถา (ปุ-รา-วุด-ตะ-กะ-ถา) = เรื่องเก่าที่เล่ากันมา, เรื่องโบราณ

(2) itihītiha อิติหีติห (อิ-ติ-ฮี-ติ-หะ) = “ได้ยินมาว่าดังนี้” เรื่องที่เล่าขานกันมา, เรื่องปรัมปรา

(3) micchāpabandha มิจฺฉาปพนฺธ (มิด-ฉา-ปะ-พัน-ทะ) = เรื่องแต่งที่ไม่จริง

และมีคำที่ออกมาจาก myth บางคำที่ควรฟังไว้ประดับความรู้ ดังนี้:-

mythic; mythical: 

(1) porāṇika โปราณิก (โป-รา-นิ-กะ) = เกี่ยวกับเรื่องเก่า

(2) devakathāyutta เทวกถายุตฺต (เท-วะ-กะ-ถา-ยุด-ตะ) = เกี่ยวกับการเล่าเรื่องเทวดา, เกี่ยวกับเทพนิยาย

mythological: 

(1) devakathāyatta เทวกถายุตฺต (เท-วะ-กะ-ถา-ยุด-ตะ) = เกี่ยวกับการเล่าเรื่องเทวดา, เกี่ยวกับเทพนิยาย

(2) ākhyānavisayaka อาขฺยานวิสยก (อา-เขีย-นะ-วิ-สะ-ยะ-กะ) = ประมวลเรื่องราวที่เล่าขานกันมา

mythologist: 

purāvuttavidū ปุราวุตฺตวิทู (ปุ-รา-วุด-ตะ-วิ-ทู) = ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโบราณ

mythology: 

ākhyāna อาขฺยาน (อา-เขีย-นะ) = เรื่องที่เล่าขานกันมา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เทวดาจะมีจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด

: แต่เทวธรรมอันประเสริฐนั้นมีจริง

#บาลีวันละคำ (3,500)

11-1-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *