พทฺธสีมา (บาลีวันละคำ 333)
พทฺธสีมา
อ่านว่า พัด-ทะ-สี-มา
ภาษาไทยเขียนเป็น “พัทธสีมา” อ่านเหมือนกัน
“พทฺธสีมา” ประกอบด้วย พทฺธ + สีมา = พทฺธสีมา
“พทฺธ” เป็นคุณศัพท์ แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาผูกแล้ว” มีความหมายว่า สิ่งที่ถูกผูก, อยู่ในความผูกพัน, ติดบ่วง, ถูกกับดัก, เอามารวมกัน, มัดเข้าด้วยกัน, ต่อโยงกัน, รวมกันเป็นกลุ่ม, ทำให้มั่นคง, ตั้งหลักแหล่ง, ตกลงกัน, ตกลงใจ, กำหนดขึ้น
“สีมา” แปลว่า เขต, แดน, ขอบเขต ในที่นี้หมายถึงเขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน ซึ่งในทางพระวินัยทำได้ 2 วิธี คือ
1 ใช้สิ่งที่มีอยู่ทางธรรมชาติ เช่น จอมปลวก ต้นไม้ ทางน้ำ เป็นเครื่องกำหนดเขต เรียกสีมาชนิดนี้ว่า “อพัทธสีมา” แปลว่า “เขตที่ไม่ได้ผูก (= กำหนด) ขึ้นใหม่”
2 สงฆ์กำหนดเขตขึ้นใหม่ เรียกสีมาชนิดนี้ว่า “พัทธสีมา” แปลว่า “เขตที่ผูก” นิยมใช้หินทำเป็นลูกกลมที่เรียกว่า “ลูกนิมิต” เป็นเครื่องหมายเขต โดยฝังดินเพื่อมิให้เคลื่อนที่
พิธีกำหนดเขตขึ้นใหม่ นิยมเรียกว่า “ผูกพัทธสีมา”
เขตที่ผูกพัทธสีมาแล้วก็คือที่เราเรียกกันว่า “โบสถ์” นั่นเอง
บัตรเชิญไปร่วมอนุโมทนางานบวชสมัยก่อนยังนิยมใช้คำว่า “อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัด….”
(ดูเพิ่มเติมที่คำ : สีมา)
เขตแดน : ถ้าผูกไว้ไม่ดี ระวังจะเสียทีคนมาแก้เอาไป
บาลีวันละคำ (333)
10-4-56
พัทธสีมา
“แดนผูก” ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง โดยจัดตั้งนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้; ดู สีมา
เขตกำหนดความพร้อมเพรียงสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์, เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่คือ
๑. พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง
๒.อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่เขตที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา หรือที่มีอย่างอื่นในทางธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่ (ประมวลศัพท์)
พทฺธ (บาลี-อังกฤษ)
(ก.กิ. ของ พนฺธติ pp. of bandhati)
1. ผูก (bound), อยู่ในความผูกพัน bound, in bondage M i.275; S i.133; iv.91;
2. ติดบ่วง, ถูกกับดัก snared, trapped J ii.153; iii.184; iv.251, 414.
3. ทำให้มั่นคง, ตั้งหลักแหล่ง, ผูก, รัด, ผูกพัน (ให้อยู่กับที่) made firm, settled, fastened, bound (to a cert. place) KhA 60 (˚pitta, opp. abaddha˚).
4. ตกลงกัน, ได้มา contracted, acquired Vin iii.96.
5. ผูก, ติดหรือแนบ bound to, addicted or attached to Sn 773 (bhavasāta˚, cp. Nd1 30).
6. เอามารวมกัน, นวดหรือคลุก, ทำเป็นก้อน (พูดถึงอาหาร) put together, kneaded, made into cakes (of meal) J iii.343; v.46; vi.524.
7. มัดเข้าด้วยกัน, ต่อโยงกัน, รวมกันเป็นกลุ่ม bound together, linked, clustered DhA i.304 kaṇṇika˚ (of thoughts).
8. กำหนด, ตกลง (พูดถึงใจ) set, made up (of the mind) DhA i.11 (mānasaŋ te b.).
พทฺธ ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
ผูก, มัด, รัด, ตั้งใจไว้
สีมา (บาลี-อังกฤษ)
เขต, ขอบเขต, ตำบล
สีมา อิต..(พจนานุกรมศัพท์บาลี)
สีมา, เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์, เขตชุมนุมของสงฆ์, เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑ พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง ๒ .อพัทธสีมา แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่เขตที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา หรือที่มีอย่างอื่นในทางธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่
พัทธ-, พัทธ์
[พัดทะ-, พัด] ก. ผูก, ติด, เนื่อง. (ป.).
พัทธสีมา
น. เขตที่สงฆ์กำหนดผูกขึ้นเพื่อใช้ทำสังฆกรรม มีขนาดพอจุภิกษุที่นั่งห่างกันคืบหนึ่ง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป.
พนฺธ (บาลี-อังกฤษ)
(คุณ.) (เทียบ เวท. พนฺธ จาก พนฺธฺ cp. Vedic bandha, fr. bandh)
1 ห่วง, ตรวน bond, fetter It 56 (abandho Mārassa, not a victim of M.);
2 ผู้มัดหรือผูกรวมกันไว้ (ในคำว่า อสฺสพนฺธ อัศวรักษ์, คนเลี้ยงม้า) one who binds or ties together, in assa˚ horsekeeper, groom J ii.98;
3 การผูกชนิดหนึ่ง a sort of binding: มณฺฑลพนฺธ มีการเย็บเป็นวงกลม (ร่มกันแดด) maṇḍala˚ with a circular b. (parasol) Vin iv.338, สลากพนฺธ มีการเย็บติดกับซี่ (พูดถึงร่ม) salāka˚ with a notched b. ibid.
4 เชือกผูก, โซ่ a halter, tether Dpvs i.76. — Cp. vinibandha.
ข้อมูลเดิม
สีมา
อ่านตรงตัวว่า สี-มา
ภาษาไทยมักใช้ว่า “เสมา” (เส-มา)
“สีมา” แปลว่า แดน, ขอบเขต, ตำบล (ฝรั่งแปล “สีมา” ว่า parish ด้วย)
“สีมา” ในทางวินัยของสงฆ์หมายถึงเขตที่สงฆ์กำหนดไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ห้องประชุมของสงฆ์”
ตามความหมายนี้ “สีมา” ก็คือสถานที่ซึ่งเรารู้จักกันว่า “โบสถ์” นั่นเอง
สีมา แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1 “พัทธสีมา” (พัด-ทะ-) แปลตามศัพท์ว่า “แดนที่ผูกแล้ว” ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง โดยทำนิมิตคือสิ่งที่เป็นเครื่องหมายกำหนดเอาไว้ (ก็คือที่เราเรียกกันว่า “ลูกนิมิต” และงานที่รู้จักกันดีคืองานปิดทองฝังลูกนิมิต) จะเข้าใจง่ายๆ ว่า พัทธสีมาก็คือโบสถ์ที่สร้างเสร็จแล้วและทำพิธีฝังลูกนิมิตแล้ว – อย่างนี้ก็ได้
2 “อพัทธสีมา” (อะ-พัด-ทะ-) แปลตามศัพท์ว่า “แดนที่ไม่ได้ผูก” หมายถึงใช้สิ่งที่มีอยู่ในทางธรรมชาติ เช่น ลำธาร ต้นไม้ จอมปลวก เป็นแนวกำหนดบริเวณที่สงฆ์จะใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรม – ตามความหมายนี้ จะเข้าใจง่ายๆ ว่าเป็น “โบสถ์ชั่วคราว” ก็ได้ (อพัทธสีมา จะมีในระยะแรกที่การประดิษฐานคณะสงฆ์ยังไม่เป็นหลักฐานมั่นคง ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว)
คำที่เกี่ยวข้องกับ “สีมา” ที่น่ารู้อีกคำหนึ่ง คือ “วิสุงคามสีมา”
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
บาลีวันละคำ (106)
22-8-55