บาลีวันละคำ

สงกรานต์ [1] (บาลีวันละคำ 336)

สงกรานต์ [1]

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สงกรานต์ : เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ 13-14-15 เมษายน วันที่ 13 คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 คือวันเนา และวันที่ 15 คือวันเถลิงศก”

และบอกว่าคำนี้มาจากสันสกฤตว่า “สงฺกฺรานฺติ” (สัง-กฺราน-ติ)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกว่า –

สงฺกฺรานฺติ : (คำนาม) ‘สังกรานติ, สังกรานติ์’ คติของดวงอาทิตย์หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากภูจักร์หนึ่งไปสู่อีกภูจักร์หนึ่ง; คติหรือการไป; the passage of the sun or other planetary bodies from one sign of the zodiac into another; passage or going.”

สงฺกฺรานฺติ” บาลีเป็น “สงฺกนฺติ” ประกอบด้วย สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) + กมฺ (ธาตุ = ก้าวไป, เคลื่อนที่ไป) + ติ (ปัจจัย = การ-, ความ-)

กรรมวิธีทางไวยากรณ์

: สํ > สงฺ + กมฺ = สงฺกม + ติ > (:- + ติ =) นฺติ = สงฺกนฺติ

สงฺกนฺติ” มีความหมายว่า ผ่านไป, ข้ามไป, ไปด้วยกัน, เชื่อมหรือร่วมกัน, เปลี่ยนไป, ส่งต่อไป, อพยพไป, เคลื่อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

สงฺกนฺติสงฺกฺรานฺติ” เราเอามาเขียนเป็น “สงกรานต์” ( การันต์ ไม่ใช่ ติ) ความหมายทางวิชาการคือ เวลาที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ความหมายที่เข้าใจกันคือ เทศกาลปีใหม่ไทย

สงกรานต์ :

อย่าให้ความเป็นไทยย้ายออกไปจากชีวิต

แม้ดวงอาทิตย์จะย้ายราศี

บาลีวันละคำ (336)

13-4-56

สงฺกนฺต = สงกรานต์, การเคลื่อนย้าย (ศัพท์วิเคราะห์)

สํ สุฏฺฐุ กมตีติ สงฺกนฺโต การก้าวไปพร้อม

สํ บทหน้า กมฺ ธาตุ ในความหมายว่าก้าวไป, เคลื่อน ต ปัจจัย, แปลงนิคหิตเป็น งฺ, ต เป็น นฺต, ลบที่สุดธาตุ, หรือ มฺ กับ ต เป็น นฺต

สงกรานต์ ๑

 [-กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกําหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ).

สงกรานต์ ๒

 [-กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.

สงกรานต์ ๒ (พจน.54)

 [-กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.

สงฺกฺรานฺติ (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

น. ‘สังกรานติ, สังกรานติ์’ คติของดวงอาทิตย์หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่นจากภูจักร์หนึ่งไปสู่อีกภูจักร์หนึ่ง; คติหรือการไป; the passage of the sun or other planetary bodies from one sign of the zodiac into another; passage or going

ภูจกฺร

น. ‘ภูจักร์,’ วิษุมณฑล, หรือวิษุวัทวฤตต์; (in astronomy) the equinoctial line.

equinoctial (อีควินอค-แฌ็ล) adj. (สอ เสถบุตร)

เกี่ยวกับกลางวันกลางคืนเท่ากันเช่น equinoctial storm (พายุ) ซึ่งมีในฤดูกลางวันกลางคืนเท่ากัน

สงฺกนฺติ (บาลี-อังกฤษ)

(อิต.จาก สงฺกมติ fr. sankamati)

การผ่านไป, ทางเดิน transition, passage

สงฺกนฺต (ก.กิ. ของ สงฺกมติ pp. of sankamati)

ไปด้วยกัน (–), ข้ามไป, เชื่อมหรือร่วมกัน gone together with ( — ˚), gone over to, joined

สงฺกมติ (สํ + กมติ)

(๑) ดำเนินต่อไป, ผ่านไป (กรรม.กา.), เข้าร่วม to go on, to pass over to (acc.), to join (… รุกฺขา รุกฺขํ สงฺกมติ ปีนต้นไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง climb fr. tree to tree)

(๒) อพยพไป to transmigrate

สงฺกาเมติ (เหตุ Caus)

๑ ส่งต่อไป, ทำให้ไป, ย้ายหรือเคลื่อนไป to pass over, to cause to go, to move, to shift

๒ เข้ามาด้วยกัน (ความรู้สึกทางใจ) to come in together (sensations to the heart)

สงฺกนฺต ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ก้าวไปแล้ว, เปลี่ยนไปแล้ว.

สงฺกนฺติก ค.

เคลื่อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย