บาลีวันละคำ

สายสิญจน์ (บาลีวันละคำ 337)

สายสิญจน์

สาย” เป็นคำไทย แต่ “สิญจน์” (สิน) เป็นบาลี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า

สายสิญจน์ : ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น 3 เส้น หรือ 9 เส้น ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง

สิญจน์” เขียนแบบบาลีเป็น “สิญฺจน” อ่านว่า สิน-จะ-นะ แปลตามศัพท์ว่า “การรดน้ำ” หมายถึงการรดน้ำในพิธี เช่น หลั่งน้ำสังข์ในพิธีแต่งงาน, การรดน้ำในพิธีสถาปนา เช่นที่เรียกว่า “สรงมุรธาภิเษก” คือรดน้ำที่ศีรษะของผู้ได้รับสถาปนาเป็นพระราชา รวมไปถึงพิธีอื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำ เช่นการประพรมน้ำพระพุทธมนต์

ในพิธีที่มีการทำ “น้ำมนต์” เดิมทีพระสงฆ์จะจับภาชนะใส่น้ำไว้ด้วยในระหว่างเจริญพระพุทธมนต์ แต่ถ้ามีพระสงฆ์หลายรูป ก็ไม่สามารถเข้ามาจับภาชนะได้หมดทุกรูป จึงใช้ด้ายผูกที่ภาชนะแล้วให้พระสงฆ์จับด้ายแทน เป็นกิริยาว่าได้จับภาชนะใส่น้ำนั้นด้วยแล้ว จึงเรียกด้ายนั้นว่า “สายสิญจน์” แปลว่า “ด้าย (ผูกภาชนะใส่) น้ำสำหรับประพรม

ต่อมาแม้จะใช้ด้ายชนิดนี้เพื่อการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการรดน้ำ ก็ยังเรียกติดปากว่า “สายสิญจน์

สิญฺจน” เขียนแบบไทยว่า “สิญจน” น่าจะอ่านว่า สิน-จน แต่เราการันต์ที่ “” ทำให้ “” ไม่ออกเสียงไปด้วย จึงอ่านว่า –สิน

ถ้าสงสัยว่า “สายสิญจน์” สะกดอย่างไร จำง่ายง่ายๆ ว่า -สิญ-จน ก็ได้

: รดด้วยน้ำใจที่ใสสนิท ศักดิ์สิทธิ์กว่ารดน้ำมนต์

บาลีวันละคำ (337)

14-4-56

สายสิญจน์

น. ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น ๓ เส้น หรือ ๙ เส้น ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง.

สิญจ-, สิญจน์

 [สินจะ-, สิน] ก. รดนํ้า; รดนํ้ามนต์, สรงมุรธาภิเษก. (ป., ส.).

สิญฺจก รดน้ำ, ผู้ซึ่งประพรมน้ำ

สิญฺจติ ประพรม, วิดน้ำเรือ

สิญฺจนก (คุณ) ประพรมน้ำ

เสก ประพรม

อภิสิญฺจติ ประพรม, อภิเษก (เป็นพระราชา)

อภิสิตฺต ๑ ประพรม, เจิม ๒ ได้รับการอภิเษก (เป็นพระราชา), ทำพิธีสถาปนา

อภิเสก การเจิม, การอภิเษก, การทำพิธีสถาปนา

อภิเสจน (ก) การชำระล้าง, การขัดสีฉวีวรรณ (ข) การอภิเษก

อภิเสเจติ (เหตุ.) ให้ทำการประพรมหรือให้ทำพิธีสถาปนา

โอสิญฺจติ ๑ เทลง หรือรด, ประพรม ๒ วิด (น้ำ), ทำให้หมด, ไข (น้ำ)