เนาว์ (บาลีวันละคำ 341)
เนาว์
(บาลีเปลี่ยนรูป)
“เนาว์” เป็นคำไทยที่เปลี่ยนรูปมาจากคำบาลีว่า “นว” (นะ-วะ)
“นว” มีความหมาย 2 อย่าง คือ ใหม่ (new) และ 9,จำนวนเก้า (nine) (ดูคำว่า “นว” บาลีวันละคำ (237) 1-1-56)
เมื่อออกเสียง “นะ” แล้วต่อด้วย “วะ” จะต้องห่อริมฝีปาก ทำให้เกิดเสียง “เอา” แทรกกลางเป็น นะ-เอา-วะ หรือ เนา-วะ และเสียง “วะ” จะแผ่วหายไปได้ง่าย เหลือแต่ “เนา” เราจึงใส่การันต์ที่ “ว” เป็น “เนาว์” อ่านว่า “เนา” ตามธรรมชาติของการเปล่งเสียง
เขียน “เนาว์” อ่าน “เนา” ก็ไปพ้องเสียงกับ “เนา” ที่ไม่มีการันต์ คือ
เนา = เย็บห่าง ๆ พอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป
เนา = อยู่
เนา = เรือ, สําเภา, เภตรา
เนา = วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับวันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา
จำสูตรสั้นๆ : “เนาว์ใหม่เนาว์เก้า เนาบาลีมีวอ (เนาว์) เนาอื่นมีแต่ นอ กับ เอา”
คำบางคำ : เปลี่ยนรูปได้ แต่ความหมายไม่เปลี่ยน
คนบางคน : เปลี่ยนวัยได้ แต่นิสัยไม่เปลี่ยน
บาลีวันละคำ (341)
18-4-56
นว บาลี แปลว่า ใหม่ (new) และแปลว่า เก้า (nine) ไทยเอาใช้ แผลงเป็น เนาว เราอ่านแบบสะดวกปากว่า เนา ก็เลยต้องใส่การันต์ที่ ว
ส่วน เนา ที่แปลว่า อยู่ เขียน เ-น-า ไม่มี ว ทั้งนี้โดยมิได้คำนึงว่าภาษาเดิมจะออกเสียงว่า โนว หรือว่าอันใดก็ตาม
ทั้งหมดนี้ ว่าตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งเป็นมาตรฐานกลาง
ส่วนท่านผู้ใดเห็นว่า “อยู่” ควรเขียนว่า “เนาว์” ก็เรียนเชิญตามสบายครับผม
ประมาณ 1 นาทีที่แล้ว · ถูกใจ · 3
บันทึกเมื่อ ๑๖ เมย.๕๖ ๒๓๒๐
เนา ๑
ก. เย็บห่าง ๆ พอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป.
เนา ๒
ก. อยู่. (ข.).
เนา ๓
(แบบ) น. เรือ, สําเภา, เภตรา. (ส.).
เนา ๔
น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา.
เนาว- ๑
[เนาวะ-] (แบบ) ว. ใหม่. (ป. นว).
เนาว- ๒
[เนาวะ-] (แบบ) ว. เก้า, จํานวน ๙. (ป. นว).
เนาวนิต
[-วะนิด] น. นพนิต, เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ป., ส. นวนีต).
เนาวรัตน์
ดู นวรัตน์.