บาลีวันละคำ

“ทอง” (บาลีวันละคำ 343)

 “ทอง

บาลีเรียกว่าอะไร?

คำว่า “ทอง” หรือ “ทองคำ” บาลีใช้ศัพท์ดังต่อไปนี้ –

1 กญฺจน (กัน-จะ-นะ) ไทยใช้ว่า กาญจน แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุที่สุกปลั่ง

2 กนก (กะ-นะ-กะ) ไทยใช้เหมือนกัน อ่านว่า กะ-หฺนก แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุที่แวววาวโดยสภาพของตน

3 กมฺพุ (กำ-พุ) แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุอันผู้คนชอบ” “วัตถุอันผู้คนระวัง คือรักษาไว้อย่างดี

4 จามีกร (จา-มี-กะ-ระ) ไทยใช้เหมือนกัน อ่านว่า จา-มี-กอน แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุที่ทำเป็นรูปดอกจามี” “วัตถุที่ทำด้วยไฟ

5 จารุ (จา-รุ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่เที่ยวไปแห่งจิต” (คือเป็นที่สนใจของคน), “สิ่งที่วนเวียนอยู่ในใจโดยเป็นของน่าชอบใจ

6 ชมฺพุนท, ชมฺพูนท (ชำ-พุ-นะ-ทะ, ชำ-พู-นะ-ทะ) ไทยใช้ว่า ชมพูนท (ชม-พู-นด), ชมพูนุท (ชม-พู-นุด) แปลตามศัพท์ว่า “ทองคำที่เกิดจากเมล็ดของลูกหว้าที่หล่นลงไปในแม่น้ำชัมพุนที

7 ชาตรูป (ชา-ตะ-รู-ปะ) แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุที่เกิดดียิ่ง” “วัตถุที่เกิดงดงาม” “วัตถุที่คงรูปที่เกิดไว้ได้ทุกเมื่อไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น

8 นิกฺข (นิก-ขะ) แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุที่เมื่อถูกนำออกมาย่อมเปล่งปลั่ง

9 สุวณฺณ (สุ-วัน-นะ) ไทยใช้ว่า สุวรรณ อ่านว่า สุ-วัน, สุ-วัน-นะ แปลตามศัพท์ว่า “โลหธาตุที่มีสีงดงาม

10 โสณฺณ (โสน-นะ) ไทยใช้ว่า โสณ อ่านว่า โส-นะ แปลตามศัพท์ว่า “ธาตุที่สุกใสอย่างดี

11 หิรญฺญ (หิ-รัน-ยะ) ไทยใช้ว่า หิรัญ อ่านว่า หิ-รัน, หิ-รัน-ยะ แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุอันคนแสวงหากันเพราะเป็นของล้ำค่า” “วัตถุที่ดึงดูดใจสัตวโลก” “วัตถุที่ถึงความล้ำค่า” (ศัพท์นี้ปกติแปลว่า “เงิน” แต่มีในบางที่แปลว่า “ทอง”)

12 หริ (หะ-ริ) แปลตามศัพท์ว่า “ธาตุที่ดึงจิตของชาวโลกไปหาตน” (คือเป็นที่ถูกใจของชาวโลก)

13 เหม (เห-มะ) ไทยใช้เหมือนกัน อ่านว่า เห-มะ และ เหม ( สะกด) แปลตามศัพท์ว่า “ธาตุที่ดำรงไปตลอดกาลนาน

: ความรู้ มีค่ายิ่งกว่าทองคำ

บาลีวันละคำ (343)

20-4-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย