บาลีวันละคำ

พิมฺพ (บาลีวันละคำ 344)

พิมฺพ

อ่านว่า พิม-พะ

พิมฺพ” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาลอกแบบมา” มีความหมายว่า รูปร่าง, แบบ, ทรวดทรง, รูปเปรียบ (ฝรั่งแปล “พิมฺพ” ว่า shape, image)

พิมฺพ” เดิมเป็นคำเรียก “รูปหุ่นที่ตกแต่งไว้” ธรรมดา “หุ่น” จะทำให้สวยงามขนาดไหนก็ย่อมได้ “พิมฺพ” จึงมีความหมายโดยนัยว่า “ร่างที่สวยงาม” และเป็นคำใช้เรียกสตรีที่มีรูปร่างงาม (ชื่อ “พิมพิลาไลย” น่าจะมีนัยเช่นนี้)

ไทยเอาคำว่า “พิมฺพ” มาใช้ว่า “พิมพ์” หมายถึงรูป, รูปร่าง, แบบ เช่น “หยอดวุ้นลงในพิมพ์” “หน้าตาเป็นพิมพ์เดียวกัน

นอกจากนี้ในภาษาไทย “พิมพ์” ยังหมายถึงการถ่ายแบบโดยใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่ความหมายของ “พิมฺพ” ในภาษาบาลี

คำฝรั่งที่เราพูดกันว่า print บาลีใช้ว่า “มุทฺทาเปติ = ถอดแบบ” และ publish บาลีว่า “ปกาเสติ = ประกาศให้ทราบ” ไม่ได้ใช้คำว่า “พิมฺพ” เหมือนในภาษาไทย

: สิ่งที่ออกมาจากพิมพ์ เราเลือกไม่ได้

: แต่เราเลือก “พิมพ์” ได้

บาลีวันละคำ (344)

21-4-56

พิมฺพ ๑ = วงเดือน, วงพระจันทร์, จันทรมณฑล (ศัพท์วิเคราะห์)

มญฺญเต ญายเต อเนนาติ พิมฺพํ สิ่งเป็นเหตุให้รู้จักดวงจันทร์

มนฺ ธาตุ ในความหมายว่ารู้ ว ปัจจัย แปลง ม เป็น พ, อ เป็น อิ, น เป็น ม, ว เป็น พ ลบสระที่สุดธาตุ

พิมฺพ ๒ = สิ่งพิมพ์, รูปเหมือน, ปฏิมา

วมียตีติ พิมฺพํ สิ่งอันเขาลอกเลียนมา

วมุ ธาตุ ในความหมายว่าสำรอก, อาเจียน, ลอกออก พ ปัจจัย, แปลง ว เป็น พ, อ เป็น อิ ลบสระที่สุดธาตุ

พิมฺพ (บาลี-อังกฤษ)

(นปุง.) (เทียบ สัน.โบราณ พิมฺพ cp. Class. Sk. bimba)

๑ ทรวดทรง, รูปเปรียบ ( = ปฏิมา) shape, image ( =paṭimā VvA 168) ในวลี จิตฺตกํ พิมฺพํ อ้างถึง ร่างกายมนุษย์ (“รูปหุ่นที่ตกแต่งไว้” ) = ร่างที่สวยงาม In phrase cittakataŋ bimbaŋ it refers to the human body (“the tricked-out puppet-shape” Brethren 303):

๒ ผลไม้ชนิดหนึ่ง มีสีแดง, ลูกตำลึง (เทียบ สัน. พิมฺพ และ พิมฺพี, ผลไม้จำพวกน้ำเต้า) the red fruit of Momordica monadelpha, a species of Amaranth [cp. Sk. bimba & bimbī, a kind of gourd] J iii.478;

กญฺจนพิมฺพวณฺณ มีสีดุจลูกตำลึงทอง of the colour of the golden Bimba Dhp. at VvA 168 takes it as bimba1=paṭimā; DhA i.387 (พิมฺพ+ผล, เกี่ยวกับริมฝีปากสีแดง ˚phala, with ref. to red lips).

พิมฺโพฏฺฐี = ริมฝีปากแดง (ดังผลตำลึงสุก)

พิมฺพ+โอหน (ส่วนที่สอง *อูหน วาหน “การนำไป”, หรือมิฉะนั้นก็เป็นรูปย่อของ โอทหน จาก อว + ธา, คือ โอธน โอหน “การวางลง”, หรือน่าจะเป็นไปได้มากกว่า คือ แทน อูหน อย่างที่พบใน อูหนติ ๒ ๒ จาก อุทฺ + หฺฤ การตั้งขึ้น, การยกขึ้น second part either= *ūhana vāhana “carrying,” or contracted form of odahana fr. ava+dhā, i. e. *odhana *ohana “putting down,” or still more likely for ūhana as seen in ūhanati2 2 fr. ud+hṛ raising, lifting up) หมอน a pillow Vin i.47 (bhisi˚);

พิมฺพ+ชาล (BR.พิมฺพชา bimbajā?) ต้นพิมพะ, ต้นตำลึง (ตามตัว. ถุงตาข่ายใส่ผลตำลึง) the Bimba tree, Momordica monadelpha (lit. net of b. fruits) J i.39; (เทียบ น.๔๙๘ รตฺต’องฺกุร-รุกฺขํ บางทีจะต้องใช้เป็น รตฺต-กุรวก = ต้นกุ่ม cp. p. 498 ratt’ ankura-rukkhaŋ probably with v. l. to be read ratta — kuravaka˚, see bimbi — jāla); Bu xvi.19.)

พิมพ์ n. vt. (สอ เสถบุตร)

a mold; a type; a matrix; to type = พิมพ์ดีด, to print (books, photographic negatives)

พิมพ์จำหน่าย vi.

to publish

publish : (พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี)

pacāreti ปจาเรติ; pakāseti ปกาเสติ; pākaṭīkaroti . pacārita ; pakāsita ; pākaṭīkata .

publishable : pākāṭīkattabba .

publisher : pakāsaka ปกาสก; pacāraka ปจารก.

कित्तेति ; kitteti ; To proclaim , to celebrate , to publish , to announce , to propound , to call

print : muddā มุทฺทา. muddaṅkana มุทฺทงฺกน. cittapaṭa จิตฺตปฏ. aṅketi องฺเกติ; muddāpeti มุทฺทาเปติ. aṅkita ; muddāpita .

printer : muddāpaka .

printing : muddaṅkana .

printing office : muddaṅkanālaya .

printing press : muddāyanta .

out of print : apuna-muddita .

พิมพ-, พิมพ์

 [พิมพะ-] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตาเป็นพิมพ์เดียวกัน.ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).

หุ่น

น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือแกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกายเป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจอะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.