บาลีวันละคำ

พระพุทธเจ้าน้อย (บาลีวันละคำ 345)

พระพุทธเจ้าน้อย

(คำเรียกผิด)

มีผู้พูดถึง “พระพุทธเจ้าน้อย” รูปที่ประกอบคำเรียกเป็นรูปเด็ก แต่มีลักษณะที่รู้ได้ว่าเป็นพระพุทธรูป ทำให้มีผู้เข้าใจว่าเด็กนั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเรียกว่า “พระพุทธเจ้าน้อย

การเรียกขานพระพุทธเจ้า ท่านมีหลักดังนี้ –

1 ในพระชาติที่กำลังบำเพ็ญบารมี หลังจากตั้งความปรารถนาพุทธภูมิในชาติที่เป็นสุเมธดาบสเป็นต้นมา จนถึงเป็นพระเวสสันดรเป็นชาติสุดท้าย ท่านเรียกว่า “พระโพธิสัตว์” (โพธิสตฺต)

2 ตั้งแต่ประสูติจนกระทั่งอภิเษกสมรส ท่านเรียกว่า “พระกุมาร” (กุมาร)

3 ตั้งแต่อภิเษกแล้วจนเสด็จออกบรรพชา ท่านเรียกว่า “เจ้าชาย” (ราชกุมาร)

4 ตั้งแต่เสด็จออกบรรพชาจนได้ตรัสรู้ ท่านเรียกว่า “พระมหาบุรุษ” (มหาปุริส)

5 คำเรียกที่ใช้เป็นกลางๆ ตั้งแต่ประสูติจนถึงก่อนตรัสรู้คือ “พระมหาสัตว์” (มหาสตฺต = บุคคลผู้ยิ่งใหญ่) และ “พระมหาบุรุษ” (มหาปุริส = บุรุษผู้ยิ่งใหญ่)

6 ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วเป็นต้นไป ท่านจึงเรียกว่า “พระพุทธเจ้า” (พุทฺธ) และเรียกด้วยพระคุณนามอื่นๆ อีก เช่น “พระศาสดา (สตฺถา) “พระผู้มีพระภาค”(ภควา) “พระสัพพัญญู” (สพฺพญฺญู) “พระพิชิตมาร” (วิชิตมาร) เป็นต้น

ข้อเท็จจริงที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องคือ ตั้งแต่ประสูติจนกระทั่งก่อนตรัสรู้ ท่านยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าน้อย” : สิ่งบอกเหตุว่า โรคอ่อนประวัติศาสตร์ กำลังระบาดในหมู่ชาวพุทธ

บาลีวันละคำ (345)

22-4-56

พระพิชิตมาร (วิชิตมาร)

ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอุทาน (มหาตัณหาสังขยสูตร) หน้า ๕๖๓

ตํ  ธีรํ  พนฺธนา  มุตฺตนฺติ  ตํ  จตุพฺพิธสมฺมปฺปธานวีริยโยเคน  วิชิตมารตฺตา  ธีรํ  ตโต  เอว  สพฺพกิเลสาภิสงฺขารพนฺธนโต  มุตฺตํ ฯ

ปรมัตถทีปนี ภาค ๒ อรรถกถาเถรคาถา (วังคีสเถรคาถา) หน้า ๘๔๘

วิชิตสงฺคามนฺติ  วิชิตกิเลสสงฺคามตฺตา  วิชิตมารพลตฺตา  วิชิตสงฺคาม ฯ

มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์ (ปทุมุตตร) หน้า ๓๔๗

ตโต  กปฺเปสุ จ อสงฺเขฺยยฺเยสุ วีติวตฺเตสุ 

อิโต  กปฺปสตสหสฺสมตฺถเก  เอกสฺมึ  กปฺเป  เอโก  วิชิตมาโร 

โอหิตภาโร  เมรุสาโร  อสสาโร  สตฺตสาโร  สพฺพโลกุตฺตโร 

ปทุมุตฺตโร  นาม  พุทฺโธ  โลเก  อุทปาทิ ฯ

พระพุทธเจ้าน้อย

จำนวนคนอ่านล่าสุด 1188 คน   วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8144 ข่าวสดรายวัน

คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรมไทย

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระพุทธเจ้าน้อยที่ปรากฏอยู่นี้ “ไม่ใช่พระพุทธรูป” และไม่เป็นพระพุทธรูปปางใด แต่เป็นปฏิมากรที่เกี่ยวข้องกับประวัติพระพุทธเจ้า ตั้งชื่อเรียกขานกันเต็มๆ ว่า “พระโพธิสัตว์ราชกุมาร” ซึ่งในความจริงยังไม่เป็นพระโพธิ สัตว์ เพราะการจะเป็นพระโพธิสัตว์ต้องผ่านกระบวนทางจิตใจและการอุทิศตัวเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลก ยังมีอีกหลาย ขั้นตอนที่จะขอกล่าวถึงในตอนข้างหน้า

แต่เหตุที่นำเรื่องนี้มาเขียนแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น ก็เพื่อเสริมสร้างสติปัญญา ได้เคยกล่าวมาแล้วว่าพระพุทธรูปปางต่างๆ ก็คือ การเล่าถึงพุทธประวัติ ในการแสดงธรรมะในเรื่องสำคัญในแต่ละเหตุการณ์ ใช้การแสดงออกที่เป็นคติและสัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ที่เป็นพุทธศาสนิกชนได้เตือนตนและเข้าใจเข้าถึงคติแห่งธรรมที่พระพุทธรูปนั้นได้แสดงออกมา

ที่เรียกว่าพระพุทธเจ้าน้อยนั้น ไม่อาจนับเป็นพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ได้ เพราะยังมิได้เป็นทั้งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์

หากแต่สัญลักษณ์ของรูปที่เป็นเด็กชี้นิ้วขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกเพียงตำนานในพระพุทธประวัติว่า เมื่อ สิทธัตถะกุมาร กำเนิดขึ้นนั้นได้ก้าวเดินบนดอกบัวไป 7 ก้าว ซึ่งมีผู้แปลความหมายไปว่าเป็นการก้าวเดินของพระ พุทธเจ้าไปยัง 7 แคว้นนคร เพื่อแสดงธรรมและเปล่งวาจาว่าเราเป็นเลิศในโลกนี้ เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็น ผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี ซึ่งเป็นเรื่อง “อภินิหาร” ไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงธรรมแต่ประการใด

ความพยายามที่จะอธิบายต่อว่า พระพุทธเจ้าน้อยจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการเตือนสติมนุษย์ ให้หันกลับมาทบทวนถึงเป้าหมายชีวิตของตัวเองในภาพรวมว่า เกิดมาทำไม จุดหมาย อันประเสริฐของชีวิตที่มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้คืออะไร และการร่วมหล่อองค์พระพุทธเจ้าน้อยจึงมีนัยแห่งความหมายอีกประการของการหลอมรวมใจไทยเป็นหนึ่งเดียว เพื่อเตือนสติคนไทยให้หันมาทบทวนถึงการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมต่างๆ อันจัก เป็นแก่นสารของชีวิตที่ติดตัวเราไปก่อนลาจากโลกนี้ อีกด้วย

จึงเป็นการพยายาม “ลากความเข้าเรื่อง” ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้แสดงเพื่อประโยชน์สุขของสัตว์โลกแต่ประการใด

ในฐานะพุทธศาสนิกชนฝ่ายเถรวาท ไม่ปรารถนาเห็นอะไรที่งอกเงยความเชื่อในพุทธศาสนาที่ปิดกั้นความจริงทางปัญญา

หน้า 5

ที่มา

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNakUzTURNMU5nPT0=