บาลีวันละคำ

โพธิรุกฺข (บาลีวันละคำ 346)

โพธิรุกฺข

อ่านว่า โพ-ทิ-รุก-ขะ

โพธิรุกฺข” คือ โพธิ + รุกฺข

โพธิ” แปลว่า ความรู้อันยอดเยี่ยม, การตรัสรู้, ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงมี (อันเป็นเหตุให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า), ปัญญาเครื่องตรัสรู้, โพธิญาณ

รุกฺข” แปลว่า ต้นไม้

โพธิรุกฺข” จึงแปลว่า ต้นไม้ที่พระมหาบุรุษประทับนั่งภายใต้แล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกกันสั้นๆ ว่า “ต้นไม้ตรัสรู้” ในภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤตว่า “โพธิพฤกษ์” อ่านว่า โพ-ทิ-พฺรึก (รุกฺข = พฤกษ์)

ปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจ

1 พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้เมื่อประทับนั่งใต้ต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นไม้นั้นก็ได้นามเรียกว่า “โพธิรุกฺขโพธิพฤกษ์” เช่น ประทับนั่งใต้ต้นกากะทิงแล้วตรัสรู้ ต้นกากะทิงก็ได้นามว่า “โพธิพฤกษ์

2 “โพธิพฤกษ์” ของพระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ในบาลีเรียกว่าต้น “อัสสัตถะ” เราจึงเรียกต้นอัสสัตถะว่า “โพธิพฤกษ์ต้นโพ

ปัญหาเกี่ยวกับการเขียนและอ่าน

1 เมื่อเรียกสั้นๆ ว่า “ต้นโพ” พจน.42 กำหนดให้เขียนว่า “-โพ” ไม่ใช่ “ต้นโพธิ์” (ไม่มี ธิ) พจน.42 บอกว่า “โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก”

2 ถ้า “-โพธิ” อยู่ท้ายคำ เช่นเรียกว่า “โพศรีมหาโพธิ” อ่านตามหลักนิยมว่า -สี-มะ-หา-โพด (ธิ เป็นตัวสะกด ไม่มีการันต์)

3 ถ้าใส่การันต์ที่ ธิ เช่น “ศรีมหาโพธิ์” อ่านว่า -สี-มะ-หา-โพ (ธิ์ ไม่ออกเสียง)

โพธิแบบโลก : รู้เพื่อรู้

โพธิแบบธรรม : รู้เพื่อหลุด

บาลีวันละคำ (346)

23-4-56

โพธิ (บาลี-อังกฤษ)

๑ ความรู้อันยอดเยี่ยม, การตรัสรู้, ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงมี

๒ ต้นไม้ตรัสรู้, ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์, ต้นไม้จำพวกไทร ซึ่งพระโคดมพุทธเจ้าบรรลุพระโพธิญาณ

โพธิ อิต.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ปัญญาเครื่องตรัสรู้, โพธิญาณ; ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อโพธิ.

โพธิพฤกษ์ (ประมวลศัพท์)

ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้ อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยาได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวันโดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนางสังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้นใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร

อัสสัตถพฤกษ์ (ประมวลศัพท์)

ต้นไม้อัสสัตถะ, ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ที่พระมหาบุรุษ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ; ดู โพธิ์

อสฺสตฺถ ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ต้นอัสสัตถพฤกษ์, ต้นโพธิ์, เบาใจ

โพ ๑

น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus religiosa L. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้น ไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก.

perfect knowledge

supreme knowledge

enlightenment

โพธิ-, โพธิ์

 [โพทิ-, โพ] น. ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).

โพธิบัลลังก์

น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. (ป. โพธิปลฺลงฺก).