บาลีวันละคำ

เมตไตรย (บาลีวันละคำ 363)

เมตไตรย

อ่านว่า เมด-ไตฺร

เมตไตรย” บาลีเป็น “เมตฺเตยฺย” อ่านว่า เมด-เต็ย-ยะ

ผู้รู้บอกว่า รากศัพท์มาจาก “มิตฺต” = ผู้รักใคร่กัน, เพื่อน, มิตร หรือ “เมตฺตา” = ความรัก, ความเป็นเพื่อน, ความเห็นอกเห็นใจกัน, ความเป็นมิตร, การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้อื่น

สรุปความหมายของ “เมตฺเตยฺย” คือ เกี่ยวกับความรัก, ความเมตตา, ความปรารถนาดีหวังดีต่อกัน, ความเป็นเพื่อนรักกัน

เมตฺเตยฺย” เขียนอิงสันสกฤตเป็น “เมตไตรย” เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต คนไทยนิยมเสริมพระนามเป็น “พระศรีอริยเมตไตรย

“ศรี” บาลีเป็น “สิริ” = มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความมีเดช, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ

อริย” เขียนอิงสันสกฤตเป็น “อารย” = เจริญ, ประเสริฐ, ถูกต้อง, ดี, ดีเลิศ

พระศรีอริยเมตไตรย” หรือ “พระศรีอารยเมตไตรย” (โปรดสังเกต ถ้า – ต้อง –ริย, ถ้า อา– ต้อง –รย) มีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าผู้มีเมตตาอันประเสริฐเป็นมิ่งมงคล” นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “พระศรีอารย์” (พระ-สี-อาน) ความจริง “ศรีอารย์” เป็นสร้อยเสริม พระนามจริงคือ “เมตไตรย

ว่ากันว่าในยุค “พระศรีอารย์” โลกมนุษย์จะอุดมสมบูรณ์ และมีความสุขที่สุด

: ยุคพระศรีอารย์มีจริง ถ้ามนุษย์มองสรรพสิ่งว่าเป็น “เพื่อนรักของเรา

—————–

ลักษณะเฉพาะของรูปพระศรีอารย์ ก็คือ เป็นรูปพระสาวก (เศียรไม่มีเกตุมาลา) และถือบริขารลักษณะเป็นตาลปัตรบังหน้า

—————–

(ตอบคำถามของ ปริญญ์ สระปัญญา)

บาลีวันละคำ (363)

11-5-56

อาจารย์ครับ อยากทราบคำว่า “พระศรีอาริยเมตไตรย์” หรือ “อริยเมตไตรย์” หรืออย่างไหนเขียนถูกต้องครับ แล้วคำว่า “อมิตตาพุทธ” เขียนอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ(คำถามของ ปริญญ์ สระปัญญา ๑๑ พ.ค.๕๖)

พระองค์มีหลายพระนาม เช่น อมิตายุส แปลว่า พระผู้มีอายุกาลไม่มีประมาณ และอมิตาภะ แปลว่า พระผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ เป็นพระธยานิพุทธะ

กตปุญฺเญหิ เสวียเตติ สิริ สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้ซ่องเสพ

สิ ธาตุ ในความหมายว่าเสพ คบหา, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

กตปุญฺญปุคฺคเล  นิสฺสิยตีติ สิริ สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

สิ ธาตุ ในความหมายว่าอาศัย, ร ปัจจัย, อิ อิตถีลิงค์

(ศัพท์วิเคราะห์)

สิริ (พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ศรี, โชค

สิริ (บาลี-อังกฤษ)

ความสวยสดงดงาม, ความสวยงาม splendour, beauty

โชค, ศรี, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง  luck, glory, majesty, prosperity

เทพธิดาแห่งโชคลาภ the goddess of luck

ห้องบรรทม (สิริคพฺภ สิริสยน) the royal bed — chamber

สิริ ๑

  ก. ผสม เช่น สามีภรรยาสิริอายุเข้าด้วยกัน ๑๕๐ ปี, รวม เช่น สิริอายุได้ ๗๒ ปี.

สิริ ๒, สิรี

  น. ศรี, มิ่งขวัญ, มงคล, เช่น สิริราชสมบัติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ มงคล เป็น สิริมงคล; สวย, งาม, เช่น ทรงมีพระสิริโฉม. (ป.; ส. ศฺรี).

ศรี ๑

  [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).

ศรี ๒

  [สี] น. พลู. (ม.); (ราชา) หมากพลู เรียกว่า พระศรี.

ศรี ๓

  [สี] น. ผู้หญิง. (ข. สี).

ศรี ๔

  [สี] (กลอน) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี. (อภัย).

อริย (บาลี-อังกฤษ)

๑ (ทางเชื้อชาติ) อารยัน

๒ (ทางสังคม) ผู้ดี, เด่น, อริยชาติ, สกุลสูง

๓ (ทางจริยศาสตร์) ตามประเพณีและอุดมคติของชนเผ่าอารยัน, ได้รับความยกย่องโดยชาวอารยัน, คนทั่วๆ ไปเห็นชอบ ฉะนั้น : ถูกต้อง, ดี, ดีเลิศ

(n.) ariyan, nobleman, gentleman (opp. servant); (adj.) arīyan, well-born, belonging to the ruling race, noble, aristocratic, gentlemanly

อริยะ

เจริญ, ประเสริฐ, ผู้ไกลจากข้าศึกคือกิเลส, บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น; ดู อริยบุคคล

อารย-, อารยะ

 [อาระยะ-] ว. เจริญ. (ส.; ป. อริย).

เมตไตรย

 [เมดไตฺร] น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. (ป. เมตฺเตยฺย; ส. เมไตฺรย).

เมตฺเตยฺย ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

พระอริยเมตไตรย์, พระพุทธเจ้าในอนาคต.

มตฺเตยฺย, เมตฺเตยฺย (บาลี-อังกฤษ)

คารวะมารดา, รักมารดา

reverential towards one’s mother, motherloving

เมตฺตา = เมตตา, ไมตรี, ความรัก, ความเอ็นดู (ศัพท์วิเคราะห์)

มิชฺชติ สินิยฺหตีติ เมตฺตา ธรรมชาติที่รักใคร่

มิท ธาตุ ในความหมายว่ารักใคร่ ต ปัจจัย อา.อิตฺ.ลบ ท ซ้อน ต อิ เป็น เอ

มิตฺเต ภวา มิตฺตสฺส วา เอสาติ เมตฺตา ธรรมชาติที่มีอยู่ในมิตร หรือธรรมชาติของมิตร. มิตฺต + ณ + อา

เมตฺติ = ไมตรี, เมตตา, ความรัก, ความเอ็นดู

มิชฺชติ สินิยฺหตีติ เมตฺติ ธรรมชาติที่รักใคร่

มิท ธาตุ ในความหมายว่ารักใคร่ ติ ปัจจัย ลบ ท ซ้อน ต อิ เป็น เอ

มิตฺเต ภวา เมตฺติ ธรรมชาติที่มีอยู่ในมิตร มิตฺต + ณ + อิ

มิตฺต = มิตร, เพื่อน (ศัพท์วิเคราะห์)

– มิชฺชติ สิเนเหตีติ มิตฺโต ผู้รักใคร่กัน

มิท ธาตุ ในความหมายว่ารักใคร่ ต ปัจจัย ลบสระที่สุดธาตุ แปลง ทฺ เป็น ตฺ

– มิโนติ อนฺโต ปกฺขิปตีติ มิตฺโต ผู้ใส่เข้าข้างใน คือเก็บความลับไว้ได้

มิ ธาตุ ในความหมายว่าใส่เข้า ต ปัจจัย ซ้อน ต

– สพฺพคุยฺเหสุ มิยติ ปกฺขิปิยตีติ มิตฺโต ผู้อันเพื่อนใส่เข้าไปในความลับทุกอย่าง หมายถึงคนที่เพื่อนบอกความลับให้รู้

มิ ธาตุ ในความหมายว่าใส่เข้า ต ปัจจัย ซ้อน ต

– มิทติ พนฺธติ อตฺตนิ ปรนฺติ มิตฺโต ผู้ผูกคนอื่นไว้ในตน

มิท ธาตุ ในความหมายว่าผูก ต ปัจจัย ลบสระที่สุดธาตุ แปลง ทฺ เป็น ตฺ

เมตตา (ประมวลศัพท์)

ความรัก, ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (ข้อ ๙ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๒ ในอารักขกรรมฐาน ๔); ดู แผ่เมตตา

เมตฺตา (บาลี-อังกฤษ)

ความรัก, ความเป็นเพื่อน, ความเห็นอกเห็นใจกัน, ความเป็นมิตร, การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้อื่น love, amity, sympathy, friendliness, active interest in others.

เมตฺต เป็นมิตร, มีคุณประโยชน์, กรุณา friendly, benevolent, kind

เมตฺตจิตฺต kindly thought, a heart full of love

เมตตา

น. ความรักและเอ็นดู, ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข, เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).

ศรีอารยเมตไตรย (ประมวลศัพท์)

พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะอุบัติขึ้นในภายหน้า หลังจากสิ้นศาสนาพระโคดมแล้ว ในคราวที่มนุษย์มีอายุยืน ๘๐,๐๐๐ ปี นับเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ ๕ แห่งภัทรกัปนี้, เรียกว่า พระศรีอริยเมตไตรย หรือเรียกสั้นๆ ว่า พระศรีอารย์ บ้าง, พระนามเดิมในภาษาบาลีว่า    “เมตฺเตยฺย”; ดู พระพุทธเจ้า ๕

พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แห่งภัทรกัปปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสป พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอารย์ หรือ พระศรีอริยเมตไตรย)

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *