บาลีวันละคำ

พืช (บาลีวันละคำ 365)

พืช

อ่านว่า พืด

บาลีเป็น “พีช” (พี-ชะ) และ “วีช” (วี-ชะ)

พีช-วีช” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เกิดโดยพิเศษ” “สิ่งที่เป็นเหตุเกิดแห่งสิ่งทั้งหลาย” หมายถึงส่วนของสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ คือ พืชพันธุ์, พันธุ์ไม้, หน่อ, เมล็ดพืช, เชื้อ, น้ำกาม, ไข่ และหมายโดยนัยถึง พื้นฐาน มูลเหตุ ปัจจัย ที่ทำให้เกิดผลอื่นๆ ตามมา

พีช-วีช” ยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือ องคชาต หรืออวัยวะเพศชาย

พีช-วีช” ใช้ในภาษาไทยเป็น “พืช” (สระ อี เปลี่ยนเป็นสระ อือ เป็นตัวสะกด) พจน.42 บอกความหมายว่า เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ

คำพิเศษที่เราได้ยินคือ “พืชมงคล” (พืด-ชะ-มง-คน) พระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดมนต์เพื่อความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า “พระราชพิธีพืชมงคล” เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์

พิธี “พืชมงคล” ในคัมภีร์บาลีใช้คำว่า “วปฺปมงฺคล” (วับ-ปะ-มัง-คะ-ละ) เขียนแบบไทยเป็น “วัปปมงคล” (วับ-ปะ-มง-คน) แปลว่า “พิธีมงคลเนื่องด้วยการเพาะปลูก

: ถ้าเข้าใจกฎแห่งพืช ก็จะเข้าใจกฎแห่งกรรม :-

ยาทิสํ  วปเต  พีชํ     ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ

กลฺยาณการี  กลฺยาณํ      ปาปการี  จ  ปาปกํ.

หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

บาลีวันละคำ (365)

13-5-56

พีช-วีช” ที่คงรูปคงเสียงในภาษาไทย คือคำว่า “พีชคณิต” (พี-ชะ-คะ-นิด) ถ้าแปลความตามศัพท์ก็คือ การคำนวณที่เป็นพื้นฐานก่อให้เกิดระบบคณิตศาสตร์อื่นๆ (พจน.42 นิยามว่า “คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย”

๑ พีช = พืช, เหตุ, ปัจจัย, พืชพันธุ์, หน่อ (วีช) (ศัพท์วิเคราะห์)

วิเสเสน ชายเตติ พีชํ สิ่งที่เกิดโดยวิเศษ

วิ บทหน้า ชน ธาตู ในความหมายว่าเกิด กฺวิ ปัจจัย ทีฆะ อิ เป็น อี แปลง ว เป็น พ ลบ น และ กฺวิ

วิชายนฺติ วิรุหนฺติ เอเตนาติ พีชํ สิ่งที่เป็นเหตุเกิดแห่งสิ่งทั้งหลาย (เหมือน วิ.ต้น)

๒ พีช = องคชาต, อวัยวะเพศชาย (องฺคชาต วตฺถคุยฺห เมหน นิมิตฺต วรงฺค ลิงฺค)

ปจฺจเยหิ วินา ชายตีติ พีชํ อวัยวะที่เกิดโดยปราศจากปัจจัย

วิ บทหน้า ชน ธาตู ในความหมายว่าเกิด กฺวิ ปัจจัย ทีฆะ แปลง ว เป็น พ อิ เป็น อี ลบ น และ กฺวิ

วีช (บาลี-อังกฤษ)

เมล็ดพืช, เชื้อ, น้ำกาม, ไข่

seed, germ, semen, spawn

วีช (สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน)

พืช, มูล, น้ำกามของบุรุษ, ที่รองรับ

seed, cause, a receptacle

วป (ธ.) หว่านพืช, สร้าง, โกน, ถัก, ทอ, สาน

วป (น.) การโกน, การหว่านพืช, การทัก ทอ สาน, แอ่ง, หลุม, โพรง

วปน (น) การหว่านพืช, การโกน, พืชหรือน้ำกามแห่งชาย (semen virile)

วปฺปมงฺคลทิวโส

อรรถกถามหาสัจจกสูตร ปปัญจสูทนี ภาค ๒ หน้า ๔๘๐

วปฺปมงฺคลาที่สุ

สารัตถปกาสินี ภาค ๑ อรรถกถาพรหมสังยุต สคาถวรรค หน้า ๓๓๗

วัปป-, วัปปะ

 [วับปะ-] น. การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล; ฝั่งน้ำ. (ป. วป ว่า ผู้หว่านพืช; ส. วปฺร ว่า ฝั่งน้ำ ทุ่งที่หว่านพืชไว้ ทุ่ง).

พีชคณิต algebra (สอ เสถบุตร)

algebra พีชคณิต (พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี)

พีชคณิต

 [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.

พืช

น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พืชพันธุ์ ก็ใช้. (ป. พีช; ส. วีช); พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้.

พืชคาม

 [พืดชะ-] น. พันธุ์ไม้. (ป. พีชคาม).

พืชชั้นต่ำ

น. พืชเซลล์เดียว และเซลล์นั้นทําหน้าที่เลี้ยงตัวเองได้ เช่น ไข่หินหรือดอกหิน ผักไก.

พืชชั้นสูง

น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง.

พืชพันธุ์

น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป; (โบ; กลอน) กําพืด เช่น ด้วยพืชพันธุ์มันไม่น่าจะอาลัย. (ขุนช้างขุนแผน).

พืชมงคล

 [พืดชะ-, พืด-] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.

จรด

 [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง.

จรดพระนังคัล

ก. จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ.

แรกนา, แรกนาขวัญ

น. ชื่อพิธีเริ่มไถนา, ถ้าทําเป็นทางราชการ เรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า พระราชพิธีแรกนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ.

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๙๐๓

[๙๐๓] อภยํ  ยาจมานานํ              ภยเมว  ททาสิ  โน

ปฏิคฺคณฺหาม  เต  เอกํ        อภยํ  โหตุ  เต  ภยํ

ยาทิสํ  ลภเต  พีชํ             ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ

กลฺยาณการี  กลฺยาณํ ปาปการี  จ  ปาปกํ

ปวุตฺต  ตาต  เต  พีช   ผล  ปจฺจนุโภสฺสสีติ ฯ

(พวกฤๅษีกล่าวว่า)

ท่านให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้นแก่พวกเราผู้ขออภัย

พวกเราขอรับเอาแต่อภัยอย่างเดียว

ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น

คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว

แน่ะพ่อ ท่านหว่านพืชลงไว้แล้ว

ท่านจักต้องเสวยผลของมัน.

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย