บาลีวันละคำ

สุทธาวาส (บาลีวันละคำ 3,534)


สุทธาวาส

“ที่พำนักของผู้สะอาด”

อ่านว่า สุด-ทา-วาด

ประกอบด้วยคำว่า สุทธ + อาวาส

(๑) “สุทธ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สุทฺธ” (สุด-ทะ, มีจุดใต้ ทฺ) รากศัพท์มาจาก สุธฺ (ธาตุ = สะอาด) + ปัจจัย, แปลง เป็น ทฺธ, ลบ ธฺ ที่สุดธาตุ, อีกนัยหนึ่งว่า แปลง กับ ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺธ 

: สุธฺ > สุ + > ทฺธ = สุทฺธ 

: สุธฺ + = สุธต (> + = ทฺธ) > สุทฺธ 

สุทฺธ” แปลตามศัพท์ว่า “หมดจดจากมลทินมีราคะเป็นต้น” มีความหมายดังนี้ – 

(1) สะอาด, บริสุทธิ์ (clean, pure) 

(2) ได้รับการชำระ, มีจิตบริสุทธิ์ (purified, pure of heart) 

(3) ธรรมดา, เพียง, ไม่เจือปน, ไม่มีสิ่งใดนอกจาก (simple, mere, unmixed, nothing but) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

สุทธ-, สุทธ์ : (คำวิเศษณ์) หมดจด, สะอาด; ล้วน, แท้. (ป.).”

หลักภาษาที่ควรทราบ :

ในภาษาบาลี “สุทฺธ” (สุด-ทะ) เป็นคำกริยาและคุณศัพท์ แปลว่า “บริสุทธิ์แล้ว” “สิ่งที่บริสุทธิ์” “ผู้บริสุทธิ์” 

คำที่คล้ายกันคือ “สุทฺธิ” (สุด-ทิ) เป็นคำนาม แปลว่า “ความบริสุทธิ์” 

แต่ในภาษาไทยเราใช้ “-สุทธิ” แทน “-สุทธ” จนเคยมือ อย่างคำว่า “ผู้บริสุทธิ์” (-ธิ์) ที่ถูกควรสะกดว่า “ผู้บริสุทธ์” (-ธ์) แต่ก็ไม่นิยมสะกดเช่นนั้น 

(๒) “อาวาส

บาลีอ่านว่า อา-วา-สะ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป) + วสฺ (ธาตุ = อยู่) + ปัจจัย

ทบทวนหลักการทางไวยากรณ์ของ ปัจจัย :

(1) ปัจจัย หรือปัจจัยที่เนื่องด้วย (เช่น เณ ณฺย) ลงแล้ว “ลบ ณ ทิ้งเสีย” 

(2) มีอำนาจ “ทีฆะต้นธาตุ” คือธาตุที่มี 2 พยางค์ ถ้าพยางค์แรกเสียงสั้นก็ยืดเป็นเสียงยาว (อะ เป็น อา, อิ เป็น อี, อุ เป็น อู) ในที่นี้ วสฺ ธาตุ “” เสียงสั้น จึงยืดเป็น “วา” 

: อา + วสฺ = อาวสฺ + = อาวสณ > อาวส > อาวาส แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มาอยู่” = มาถึงตรงนั้นแล้วก็อยู่ จึงเรียกที่ตรงนั้นว่า “อาวาส” หมายถึง การพักแรม, การพักอยู่, การอาศัยอยู่, การอยู่; ที่อยู่, ที่พำนัก (sojourn, stay, dwelling, living; dwelling-place, residence)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “อาวาส” ไว้ดังนี้ –

อาวาส : (คำนาม) วัด เช่น เจ้าอาวาส ที่อยู่ เช่น พุทธาวาส (พุทธ + อาวาส) คือ ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หมายถึง โบสถ์ วิหาร สังฆาวาส (สังฆ + อาวาส) คือ ที่อยู่ของพระสงฆ์; ผู้ครอบครอง เช่น ฆราวาส (ฆร + อาวาส) คือ ผู้ครอบครองเรือน หรือผู้อยู่ครองเรือน. (ป., ส.).”

ขยายความ :

ตามหลักเดิมอันถือกันว่าเป็นมาตรฐานกลาง ท่านแบ่งผัง “อาวาส” เป็น 3 เขต ตามแนวแห่งพระรัตนตรัย คือ –

1 เขตที่มีโบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พระธาตุ เรียกว่า “พุทธาวาส

2 เขตที่มีศาลาการเปรียญ หอไตร หอสวดมนต์ เรียกว่า “ธัมมาวาส

3 เขตที่เป็นกุฏิที่พระสงฆ์อยู่ เรียกว่า “สังฆาวาส

สุทฺธ + อาวาส = สุทฺธาวาส (สุด-ทา-วา-สะ) แปลว่า “ที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุทฺธาวาส” ว่า pure abode, name of a heaven and of the devas inhabiting it (ที่อยู่อันบริสุทธิ์, ชื่อของสวรรค์ และเทพเจ้าผู้อาศัยอยู่)

บาลี “สุทฺธาวาส” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สุทธาวาส” (ไม่มีจุดใต้ ) อ่านว่า สุด-ทา-วาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

สุทธาวาส : (คำนาม) ชื่อพรหมโลกซึ่งเป็นที่ที่พระอนาคามีไปเกิด. (ป.).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายของ “สุทธาวาส” ไว้ดังนี้ –

…………..

สุทธาวาส : ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ ที่เกิดของพระอนาคามี ได้แก่ พรหม ๕ ชั้นที่สูงสุดในรูปาวจร คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา

…………..

อภิปรายขยายความ :

ความหมายของ “สุทธาวาส” ที่ว่า “เป็นที่ที่พระอนาคามีไปเกิด” พึงเข้าใจว่า พระอนาคามีเป็นพระอริยบุคคลที่สิ้นกามราคะแล้ว เมื่อดับชีพจึงไม่เกิดในกามาวจรภูมิหรือกามภพ กล่าวคือมนุษย์และสวรรค์ แต่เพราะยังมีกิเลสที่ละเอียดเหลืออยู่ จึงต้องเกิดอีก แต่เกิดในภูมิที่สูงขึ้นคือ รูปาวจรภูมิ หรือรูปพรหม 16 ชั้น แต่ก็เกิดเฉพาะใน 5 ชั้นที่สูงสุด คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิษฐ์ ชั้นใดชั้นหนึ่ง

และพึงเข้าใจว่า รูปพรหมทั้ง 5 ชั้นที่พระอนาคามีไปเกิดนี้ไม่ใช่ภพภูมิอมตนิรันดร คือไม่ได้แปลว่า ผู้เป็นพระอนาคามีทั้งปวงจะไปสถิตอยู่ที่นั่นตลอดกาลนิรันดรแบบชีวิตอมตะ แต่หมายถึงเป็นภพภูมิที่พักระหว่างทางเพื่อบรรลุภูมิแห่งพระอรหันต์เป็นที่สุด 

และเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วก็สิ้นภพจบชาติ ไม่มีภพภูมิไหนๆ ที่จะต้องไปสถิตเป็นชีวิตอมตะอีกต่อไป อย่างที่บางสำนักเข้าใจว่ามีภพภูมิเช่นนั้นและสอนกันว่าอย่างนั้น

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความ “อนาคามี” ไว้ดังนี้ –

…………..

อนาคามี : พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน) ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะถึงสิ้นอายุ ๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้นิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ.

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าจิตใจบริสุทธิ์สะอาด

: ทุกแห่งก็เป็นสุทธาวาสอยู่ในตัว

#บาลีวันละคำ (3,534)

14-2-65

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *