บาลีวันละคำ

อสัญญีสัตว์ (บาลีวันละคำ 3,524)

อสัญญีสัตว์

รูปพรหมชั้นที่สิบเอ็ด

อ่านว่า อะ-สัน-ยี-สัด เขียนแบบบาลีเป็น “อสญฺญีสตฺต” อ่านว่า อะ-สัน-ยี-สัด-ตะ แยกศัพท์เป็น อสญฺญี + สตฺต

(๑) “อสญฺญี” 

อ่านว่า อะ-สัน-ยี รากศัพท์มาจาก + สญฺญา + อี ปัจจัย

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้ “สญฺญา” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงแปลง เป็น  

(ข) “สญฺญา” อ่านว่า สัน-ยา รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน) + ญา (ธาตุ = รู้) แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ญฺ (สํ > สญฺ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ

: สํ > สญฺ + ญา + กฺวิ = สญฺญากฺวิ > สญฺญา (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติเป็นเครื่องจำ” 

สญฺญา” ในบาลีมีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) ความรู้สึก, ความรับรู้, ความจำได้, ความหมายรู้ (sense, consciousness, perception)

(2) ความสังเกตจดจำ, ความสุขุม, ความตระหนัก (sense, perception, discernment, recognition)

(3) แนวความคิด, ความคิด, ความเข้าใจ (conception, idea, notion)

(4) สัญญาณ, กิริยาท่าทาง, เครื่องแสดง, เครื่องหมาย (sign, gesture, token, mark)

(5) ความประทับใจที่เกิดจากความรู้สึกและการจำได้, ความรู้สึกว่ามีบางสิ่งที่เหมือนกัน (เช่นเห็นคนหนึ่งแล้วนึกถึงอีกคนหนึ่ง) (sense impression and recognition)

ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัญญา : (คำนาม) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (คำกริยา) ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความตกลงกัน, เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).”

(ค) สญฺญา + อี ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ (สญฺ)-ญา (สญฺญา > สญฺญ)

: สญฺญา > สญฺญ + อี = สญฺญี (สัน-ยี) แปลว่า “ผู้มีความรู้สึก

: + สญฺญี = นสญฺญี > อสญฺญี (อะ-สัน-ยี) แปลว่า “ผู้ไม่มีความรู้สึก” (unconscious) 

บาลี “อสญฺญี” ในภาษาไทยใช้เป็น “อสัญญี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

อสัญญี : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสัญญา, หมดความรู้สึก, สลบ. (ป.).”

(๒) “สัตว์

บาลีเป็น “สตฺต” (สัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก สญฺช (ธาตุ = ติด, ข้อง) + ปัจจัย, ลบ ญฺช (สญฺช > ), ซ้อน ระหว่างธาตุกับปัจจัย 

: สญฺช > + ตฺ + = สตฺต แปลตามศัพทว่า (1) “ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น” (2) “ผู้ยังผู้อื่นให้ติดข้อง” (3) “ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะของผู้ติดข้อง

ความหมายข้อ (3) หมายถึงว่าแม้ผู้ปราศจากกิเลสไม่ติดข้องอะไรอีกแล้ว ก็ยังเรียกว่า “สตฺต” ตามสำนวนนิยม 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สตฺต” ว่า a living being, creature, a sentient & rational being, a person (สัตว์โลก, สัตว์, สิ่งที่มีความรู้สึกและมีเหตุผล, คน)

สตฺต” สันสกฤตเป็น “สตฺตฺว” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สัตว์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัตว-, สัตว์ : (คำนาม) สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).”

อสญฺญี + สตฺต = อสญฺญีสตฺต (อะ-สัน-ยี-สัด-ตะ) แปลว่า “สัตว์ผู้ไม่มีความรู้สึก

ในบาลี “อสญฺญีสตฺต” เป็นคุณศัพท์ขยายคำว่า “เทวา” (เทวดาทั้งหลาย) เปลี่ยนรูปเป็น “อสญฺญีสตฺตา” (อะ-สัน-ยี-สัด-ตา)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อสญฺญีสตฺตา” ว่า unconscious beings Name of a class of Devas (พวกสัตว์ที่ปราศจากความรู้สึก, ชื่อของเทวดาจำพวกหนึ่ง) 

พึงทราบว่า ในคัมภีร์บาลี คำนี้ใช้เป็น “อสญฺญสตฺตา” (อะ-สัน-ยะ-สัด-ตา) ก็มี

อสญฺญีสตฺตา” ในที่นี้ใช้ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เป็น “อสัญญีสัตว์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ – 

อสัญญีสัตว์ : (คำนาม) พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา ดังมีกล่าวไว้ในไตรภูมิกถา. (ป. อสญฺญีสตฺต).”

ที่พจนานุกรมฯ บอกว่า “ดังมีกล่าวไว้ในไตรภูมิกถา” นับว่าอ้างหลักฐานที่มายังไม่ถึงที่สุด เพราะ “อสัญญีสัตว์” หรือ “อสญฺญีสตฺต” หรือ “อสญฺญสตฺตา” นั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์บาลี

ขยายความ :

คัมภีร์สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ อธิบายลักษณะของพรหม “อสัญญีสัตว์” หรือ “อสญฺญสตฺตา” ไว้ดังนี้ 

(ในที่นี้ยกคำบาลีมากำกับไว้ด้วยเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับคำแปล ท่านที่ไม่ถนัดคำบาลีขอให้อ่านเฉพาะคำแปลภาษาไทย)

…………..

อสญฺญสตฺตานนฺติ  สญฺญาวิรหิตสตฺตานํ  ฯ

คำว่า อสญฺญสตฺตานํ ได้แก่ สัตว์ที่ปราศจากสัญญา (คือไม่มีความรู้สึก)

เอกจฺเจ  หิ  ติตฺถายตเน  ปพฺพชิตฺวา  จิตฺตํ  นิสฺสาย  รชฺชนทุสฺสนมุยฺหนานิ  นาม  โหนฺตีติ  จิตฺเต  โทสํ  ทิสฺวา

จริงอยู่ สมณพราหมณ์บางพวกบวชในลัทธิต่างๆ เห็นโทษในจิตว่า เพราะอาศัยจิต ชื่อว่าความยินดี ความยินร้าย และความหลงใหลจึงเกิดมี ดังนี้

อจิตฺตกภาโว  นาม  โสภโณ  ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานเมตนฺติ  สญฺญาวิราคํ  ชเนตฺวา  

แล้วจึงยังสัญญาวิราคะ (ความหมดยินดีในความรู้สึกตัวหรือความจำได้หมายรู้) ให้เกิด กำหนดใจว่า ชื่อว่าความเป็นผู้ไม่มีจิตเป็นสิ่งที่ดีงาม และนั่นเป็นนิพพานในปัจจุบันทันตาเห็น ดังนี้ 

ตตฺรูปคํ  สมาปตฺตึ  ภาเวตฺวา  ตตฺถ  นิพฺพตฺตนฺติ

แล้วเจริญสมาบัติเข้าถึงสัญญาวิราคะนั้น จึงไปบังเกิดในภพที่ไม่มีสัญญานั้น

เตสํ  อุปปตฺติกฺขเณ  เอโก  รูปกฺขนฺโธเยว  นิพฺพตฺตติ  ฯ

ในขณะที่พรหมเหล่านั้นเกิด รูปขันธ์อย่างเดียวเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น

ฐตฺวา  นิพฺพตฺโต  ฐิตโกว  โหติ

พรหมเหล่านั้น เมื่อยืนเกิด ก็ย่อมยืนอยู่ท่านั้นแหละ

นิสีทิตฺวา  นิพฺพตฺโต  นิสินฺโนว

เมื่อนั่งเกิด ก็ย่อมนั่งอยู่ท่านั้นแหละ

นิปชฺชิตฺวา  นิพฺพตฺโต  นิปนฺโนว  ฯ

เมื่อนอนเกิด ก็ย่อมนอนอยู่ท่านั้นแหละ

จิตฺตกมฺมรูปกสทิสา  หุตฺวา ปญฺจ  กปฺปสตานิ  ติฏฺฐนฺติ  ฯ

เป็นดังเช่นรูปจิตรกรรม ดำรงอยู่ในภพนั้นตลอด 500 กัป

เตสํ  ปริโยสาเน  โส  รูปกาโย  อนฺตรธายติ

ในที่สุดแห่ง (อายุของ) พรหมเหล่านั้น รูปกายนั้นย่อมอันตรธานไป

กามาวจรสญฺญา  อุปฺปชฺชติ

กามาวจรสัญญาย่อมเกิดขึ้น

เตน  อิธ  สญฺญุปฺปาเทน  เต  เทวา  ตมฺหา  กายา  จุตาติ  ปญฺญายนฺติ  ฯ

เพราะเหตุที่มีกามาวจรสัญญาเกิดขึ้นนั้น พรหมเหล่านั้นเมื่อเคลื่อนจากรูปกายนั้นแล้วย่อมมีปรากฏขึ้นในโลกนี้ ดังนี้

ที่มา: สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ หน้า 836

…………..

อสญฺญสตฺตา” หรือ “อสญฺญีสตฺต” หรือ “อสัญญีสัตว์” นี้ คำคนเก่าท่านเรียกว่า “พรหมลูกฟัก” หมายความว่า นอนกลิ้งอยู่เหมือนฟักแฟง ไม่มีจิตใจที่จะรับรู้อารมณ์ใดๆ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รับรู้อย่างรู้ทัน

: ปลอดภัยกว่าปิดกั้นการรับรู้

#บาลีวันละคำ (3,524)

3-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *