บาลีวันละคำ

พสกนิกร (บาลีวันละคำ 389)

พสกนิกร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกคำอ่านว่า พะ-สก-กะ-นิ-กอน และ พะ-สก-นิ-กอน ให้ความหมายว่า “คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม

พสก” พจน.42 ว่า บาลีเป็น วส +

วส” (วะ-สะ) แปลว่า กำลัง, อำนาจ, การควบคุม, อิทธิพล

” (คะ) มาจากรากศัพท์ว่า “คม” (คะ-มะ) แปลว่า ไป, ถึง, อยู่

วส + = วสค (วะ-สะ-คะ) แปลว่า “ผู้อยู่ในอำนาจ

วสค” คำนี้ ภาษาบาลีไม่ใช้คำเดียวโดดๆ แต่จะมีคำขยายกำกับไว้เสมอว่า อยู่ในอำนาจของอะไร เช่น “มจฺจุวสค” = ตกอยู่ในอำนาจของความตาย

ฝรั่งแปล “วสค” (“วสานุค” “วสคต”) ไว้ชัดว่า being in somebody’s power

วสค” เสียงไทยเพี้ยนเป็น “วสก” แล้วแปลง เป็น : วสค = วสก = พสก

พสก” ความหมายเดิม “ผู้อยู่ในอำนาจ” ขยายความหมายเป็น “ผู้อยู่ในปกครอง” และในที่สุด ภาษาไทยลงตัวที่ “คนที่อยู่ในประเทศ” หรือประชาราษฎร

นิกร” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำส่วนย่อยให้อยู่ใกล้กัน” คือเอาส่วนย่อยหลายๆ ส่วนมาอยู่รวมกัน = ฝูง, กลุ่ม, หมู่, พวก, ประชุมชน, มหาชน

พสก + นิกร = พสกนิกร จึงหมายถึง ปวงประชาราษฎรที่พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในราชอาณาจักร

คนต่ำ-คำสูง :

เราใช้คำว่า “พสกนิกร” กับพระราชาเท่านั้น สื่อความหมายว่าพระราชาต้องทรงธรรม คือมีธรรมเป็นอำนาจ พสกนิกรจึงจะอยู่ในอำนาจนั้นอย่างร่มเย็นเป็นสุข

ผู้ปกครองที่ไม่มีธรรม กล้าหรือที่จะเรียกคนที่อยู่ในปกครองของตนว่า “พสกนิกร” ?

บาลีวันละคำ (389)

7-6-56

พสก, พสก-

 [พะสก, พะสกกะ-] น. ชาวเมือง, พลเมือง. (ป. วส + ค; ส. วศ + ค ว่า ผู้อยู่ในอํานาจ).

พสกนิกร

 [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม.

นิกร = หมู่, คณะ, กอง, หมวด, ฝูง (ศัพท์วิเคราะห์)

อวยวํ สมีเป กโรตีติ นิกโร หมู่ที่ทำส่วนย่อยให้อยู่ใกล้กัน คือให้อยู่รวมกัน

นิ ในอรรถว่า สมีป บทหน้า กรฺ ธาตุ ในความหมายว่าทำ อ ปัจจัย

นิกร (บาลี-อังกฤษ)

(สัน. นิกร, นิ+กโรติ Sk. nikara, ni+karoti)

กลุ่มชน a multitude

นิกร ป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ฝูง, กลุ่ม, หมู่, พวก, ประชุม, มหาชน.

นิกร

 [-กอน] น. หมู่, พวก. (ป.).

วส (บาลี-อังกฤษ)

กำลัง, อำนาจ, การควบคุม, อิทธิพล

pawer, authority, control, influence

วเสน เนื่องด้วย.., เพราะ..on account of, because

วสานุค อยู่ในอำนาจของคนใดคนหนึ่ง, ต้องอาศัย, อยู่ในบังคับบัญชา, เชื่อฟัง

being in somebody’s power, dependent, subjected, obedient

วสานุค

สงฺกปฺปานํ วสานุโค

(สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๓๗)

น เต มารวสานุคา

(สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๔๒๔, สุตตนิบาต กัปปมาณวกปัญหา ข้อ ๔๓๔)

ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา

(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ข้อ ๓๓, สัตตก-อัฏฐก-นวก- ข้อ ๑๓๖)

อิตฺถีรูปวสานุคา

(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ข้อ ๕๕)

อตฺถจินฺตาวสานุคา

(ปาราสริยเถรคาถา วีสตินิบาต ข้อ ๓๙๔)

ราคจิตฺตวสานุคา

(สีหาเถรีคาถา ข้อ ๔๑๑)

วส = ความใคร่, ความรัก, ความติดใจ, อำนาจ, ความเป็นใหญ่ (ศัพท์วิเคราะห์)

วสนํ วโส ความติดใจ

วส ธาตุ ในความหมายว่าติดใจ, ชอบใจ อ ปัจจัย

วสค ค.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

ผู้อยู่ในอำนาจ.

วสคต ค.

ผู้ตกอยู่ในอำนาจ.

วสค

กาเล เต อปฺปมชฺชนฺตา น มจฺจุวสคา สิยุง

(สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๒๕๕)

ยทา จ โยพฺพนูเปตา วิตกฺกวสคา อหํ

(ปฏาจาราเถริยาปทาน อปทาน ภาค ๒ ข้อ ๑๖๐)

(และนำไปอ้างใน ปฏาจาราเถรีคาถาวัณณนา ปรมัตถทีปนี หน้า ๑๗๗)

citizen (สอ เสถบุตร)

พลเมือง, คนในบังคับ

citizen (พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี)

นาคร, นาคริก, นครวาสี, ปุรวาสี

inhabitant วาสี, นิวาสี, รฏฺฐวาสิก, รฏฺฐวาสี

พสกนิกร

          เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๒๗ ที่เพิ่งผ่านมานี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานสิ่งของแก่ประชาชนในชุมชนแออัดหลายแห่ง ในการนี้ได้มีผู้บรรยายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจครั้งนี้ออกอากาศตลอดรายการ และในคำบรรยายที่กล่าวถึงประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จด้วยความจงรักภักดีอย่างคับคั่งในที่ทุกหนทุกแห่งที่เสด็จไปถึง มีคำว่า “พสกนิกร” อยู่ด้วยคำหนึ่ง ซึ่งผู้บรรยายได้ใช้อยู่บ่อย ๆ โดยออกเสียงว่า “พะ-สก-กะ-นิ-กอน” ทุกครั้ง

          คำนี้โดยทั่ว ๆ ไปมักจะออกเสียงว่า “พะ-สก-นิ-กอน” นาน ๆ จะได้ยินออกเสียงเป็น “พะ-สก-กะ-นิ-กอน” สักครั้งหนึ่ง การอ่านอย่างหลังนี้นับว่าถูกต้องตามหลักภาษาที่ว่าด้วยคำสมาส ซึ่งจำเป็นจะต้องออกเสียงคำท้ายแห่งส่วนหน้าของคำสมาสได้หน่อยหนึ่ง ทั้งนี้เพราะคำว่า “พสกนิกร” นั้นเกิดจากการนำคำว่า “พสก” กับ “นิกร” มาเข้าสมาสกัน

          คำว่า “พสก” (พะ-สก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “น. ชาวเมือง, พลเมือง.” และได้บอกที่มาไว้ด้วยว่า ถ้าเป็นรูปบาลีก็มาจาก วส+ค (วะ-สะ+คะ) ถ้าเป็นรูปสันสกฤตก็มาจาก วศ+ค (วะ-สะ+คะ) แปลว่า “ผู้อยู่ในอำนาจ” คำว่า “ค” ตัวนี้ ก็มาจากรากศัพท์ว่า “คม” (คะ-มะ) ซึ่งแปลว่า “ไป” “วสค” (วะ-สะ-คะ) ก็แปลว่า “ผู้ไปในอำนาจ” ซึ่งก็คือ “ผู้อยู่ในอำนาจ” นั่นเอง แล้วแปลง ว เป็น พ และแปลง ค เป็น ก “วสค” (วะ-สะ-คะ) จึงกลายเป็น “พสก” (พะ-สะ-กะ) อ่านแบบไทยก็เป็น “พะสก”

          ส่วนคำว่า “นิกร” ก็เป็นคำบาลีเช่นกัน แปลว่า “หมู่, พวก” เมื่อนำคำว่า “พสก” (พะ-สก) กับ “นิกร” (นิ-กอน) มาเข้าสมาสกันตามหลักก็ควรจะออกเสียงว่า “พะ-สก-กะ-นิ-กอน” แต่เรามักนิยมอ่านกันว่า “พะ-สก-นิ-กอน” มากกว่า  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มิได้ให้คำอ่านไว้ ให้ไว้แต่บทนิยามว่า “น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม.” แต่ในหนังสือ “อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร” เอกสารเผยแพร่ของราชบัณฑิตสถานได้ให้คำอ่านไว้ว่า “พะ-สก-นิ-กอน” ตามที่นิยมอ่านกันอยู่โดยทั่ว ๆ ไป  แต่ถ้าจะอ่านว่า “พะ-สก-กะ-นิ-กอน” ก็ไม่ถือว่าผิด.

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม

ที่มา : ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘. หน้า ๖๖-๖๗.

พสกนิกร (อ่านว่า พะ-สก-นิ-กอน)

            คำว่า พสกนิกร ประกอบด้วยคำว่า พสก กับ นิกร พสก หมายถึง ชาวเมือง คนที่อยู่ในประเทศนั้น นิกร แปลว่า หมู่ พสกนิกร จึงแปลว่า คนที่อยู่ในประเทศ หมายถึง คนที่อยู่ในประเทศทั้งคนที่ถือสัญชาติเดียวกันและคนต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารด้วย พสกนิกร เป็นประชาชนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งหมด เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรของพระองค์ให้มีความสุข และปราศจากทุกข์โศกโรคภัย

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย