บาลีวันละคำ

ลาสิกขา [1] (บาลีวันละคำ 391)

ลาสิกขา [1]

(บาลีผสมคำไทย)

สิกฺขา” ในภาษาบาลีหมายถึงการสำเหนียก, การเรียนรู้, การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจและฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตนหรือให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงความสมบูรณ์

ในคำว่า “ลาสิกขา” นี้ “สิกฺขา” หมายถึงระบบวิถีชีวิตของบรรพชิต เมื่อไม่สามารถอยู่ในวิถีชีวิตเช่นนั้นได้ ก็ออกไป เรียกว่า “ลาสิกขา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า

ลาสิกขา : ลาสึก, ลาจากเพศสมณะ”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายว่า

ลาสิกขา : ปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุ ต่อหน้าภิกษุด้วยกัน หรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้เข้าใจความ แล้วสละเพศภิกษุเสีย ถือเอาเพศที่ปฏิญญานั้น”

คำนี้มักพูดผิดเป็น “ลาสิกขาบท

สิกขาบท” หมายถึงศีลแต่ละข้อ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบวิถีชีวิตของบรรพชิต “ลาสิกขาบท” จึงอาจจะยังไม่ใช่ลาวิถีชีวิตของสมณะก็ได้

สิกฺขา” หมายถึงระบบวิถีชีวิตทั้งระบบของบรรพชิต

การออกจากความเป็นสมณะ หรือการสึก คำบาลีจึงใช้ว่า “สิกฺขาปจฺจกฺขาน” (สิก-ขา-ปัด-จัก-ขา-นะ) แปลว่า “การบอกคืนสิกขา” ไม่ใช่ “สิกฺขาปทปจฺจกฺขาน

คำลาสิกขาว่า “นโม ฯลฯ” ๓ จบ แล้วกล่าวว่า –

สิกฺขํ  ปจฺจกฺขามิ, คิหีติ  มํ  ธาเรถ” (ว่า ๓ ครั้ง)

แปลว่า “กระผมลาสิกขา, ขอท่านทั้งหลายจงจำกระผมไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์

อุดมการณ์ :

บวชอยู่ ก็ขอให้เป็นศรีแก่พระศาสนา

ลาสิกขา ก็ขอให้เป็นศรีแก่สังคม

บาลีวันละคำ (391)

10-6-56

ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา วินัย ปาติโมกข์ อุเทศ พระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ ลัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปัชฌายะ ผู้ร่วมอาจารย์

เพื่อนพรหมจารี

สิกฺขาปจฺจกฺขาน

ปจฺจกฺขาน นป.(พจนานุกรมศัพท์บาลี)

การกล่าวตู่, การบอกปัด, การบอกคืน.

ลาสิกขา (ประมวลศัพท์)

ปฏิญญาตนเป็นผู้อื่นจากภิกษุ ต่อหน้าภิกษุด้วยกัน หรือต่อหน้าบุคคลอื่นผู้เข้าใจความ แล้วสละเพศภิกษุเสีย ถือเอาเพศที่ปฏิญญานั้น, ละเพศภิกษุสามเณร, สึก;

คำลาสิกขาที่ใช้ในบัดนี้ คือ ตั้ง “นโม ฯลฯ” ๓ จบแล้วกล่าวว่า

        “สิกฺขํ ปจฺจกฺขามิ, คิหีติ มํ ธาเรถ” (ว่า ๓ ครั้ง)

        แปลว่า “กระผมลาสิกขา, ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำกระผมไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์”

(คิหีติ ออกเสียงเป็น [คิ-ฮี-ติ])

ลาสิกขา

  • ลาสึก, ลาจากเพศสมณะ.

อนึ่ง  ภิกษุใด  ถึงพร้อมซึ่งสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้ง

หลายแล้ว  ไม่บอกคืนสิกขา  ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง  เสพ

เมถุนธรรม  โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย  เป็นปาราชิก  หา

สังวาสมิได้.

สิกฺขาปจฺจกฺขานวาเรปิ กถญฺจ  ภิกฺขเวติอาทิ  สพฺพํ 

อตฺถโต  อุตฺตานเมว ฯ  ปทโต  ปเนตฺถาปิ  พุทฺธํ  ปจฺจกฺขามิ 

ธมฺมํ  สงฺฆํ  สิกฺขํ  วินยํ  ปาฏิโมกฺขํ อุทฺเทสํ  อุปชฺฌายํ  อาจริยํ 

สทฺธิวิหาริกํ  อนฺเตวาสิกํ  สมานูปชฺฌายกํ สมานาจริยกํ 

สพฺรหฺมจารึ  ปจฺจกฺขามีติ  อิมานิ  จุทฺทส  ปทานิ  สิกฺขา- 

ปจฺจกฺขานวจนสมฺพนฺเธน  ปวตฺตานิ ฯ  สพฺพปเทสุ  จ  วทติ 

วิญฺญาเปตีติ  วจนสฺส  อยมตฺโถ ฯ

๑.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า

๒.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม

๓.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์

๔.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา

๕.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย

๖.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์

๗.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ

๘.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ

๙.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์

๑๐.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระลัทธิวิหาริก

๑๑.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก

๑๒.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ

๑๓.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์

๑๔.ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี

มหาวิภังควัณณนา สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ หน้า ๓๕๖

ดูโพสในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย