บาลีวันละคำ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ (บาลีวันละคำ 3,533)

เนวสัญญานาสัญญายตนะ

อรูปพรหมชั้นที่สี่

อ่านว่า เน-วะ-สัน-ยา-นา-สัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ 

เนวสัญญานาสัญญายตนะ” เขียนแบบบาลีเป็น “เนวสญฺญานาสญฺญายตน” อ่านว่า เน-วะ-สัน-ยา-นา-สัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ แยกศัพท์เป็น เนวสญฺญานาสญฺญา + อายตน 

(๑) “เนวสญฺญานาสญฺญา” 

อ่านว่า เน-วะ-สัน-ยา-นา-สัน-ยา ประกอบรูปขึ้นจาก + เอว + สญฺญา + + อสญฺญา

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ – 

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น (อะ) 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน (อะ-นะ)

ในที่นี้มี “” 3 ตัว –

(1) ตัวแรกสนธิกับ เอว 

: + เอว = เนว 

(2) ตัวที่สองอยู่ระหว่าง สญฺญา กับ อสญฺญา 

: สญฺญา + + อสญฺญา = สญฺญานาสญฺญา 

(3) ตัวที่สามสมาสกับ สญฺญา คำหลัง “สญฺญา” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงต้องแปลง เป็น (อะ) ตามสูตรข้างต้น

: + สญฺญา = นสญฺญา > อสญฺญา 

(ข) “เอว” อ่านว่า เอ-วะ เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” บาลีไวยากรณ์ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จัดไว้ในหมวดนิบาตบอกปฏิเสธ แปลว่า “นั่นเทียว” “เท่านั้น” “นั่นแหละ” = only 

(ค) “สญฺญา” อ่านว่า สัน-ยา รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน) + ญา (ธาตุ = รู้) แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ญฺ (สํ > สญฺ) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ

: สํ > สญฺ + ญา + กฺวิ = สญฺญากฺวิ > สญฺญา (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติเป็นเครื่องจำ” 

สญฺญา” ในบาลีมีความหมายหลายอย่าง คือ –

(1) ความรู้สึก, ความรับรู้, ความจำได้, ความหมายรู้ (sense, consciousness, perception)

(2) ความสังเกตจดจำ, ความสุขุม, ความตระหนัก (sense, perception, discernment, recognition)

(3) แนวความคิด, ความคิด, ความเข้าใจ (conception, idea, notion)

(4) สัญญาณ, กิริยาท่าทาง, เครื่องแสดง, เครื่องหมาย (sign, gesture, token, mark)

(5) ความประทับใจที่เกิดจากความรู้สึกและการจำได้, ความรู้สึกว่ามีบางสิ่งที่เหมือนกัน (เช่นเห็นคนหนึ่งแล้วนึกถึงอีกคนหนึ่ง) (sense impression and recognition)

ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัญญา : (คำนาม) (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (คำกริยา) ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความตกลงกัน, เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).”

การประสมคำ :

เนว ( + เอว) + สญฺญา = เนวสญฺญา (เน-วะ-สัน-ยา) แปลว่า “มีสัญญาก็หาไม่” (มีสัญญาก็ไม่ใช่)

+ อสญฺญา = นาสญฺญา (นา-สัน-ยา) แปลว่า “ไม่มีสัญญาก็หาไม่” (ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

เนวสญฺญา + นาสญฺญา = เนวสญฺญานาสญฺญา (เน-วะ-สัน-ยา-นา-สัน-ยา) แปลว่า “มีสัญญาก็หาไม่ ไม่มีสัญญาก็หาไม่” (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เนวสญฺญานาสญฺญา” ว่า neither consciousness nor unconsciousness (ความรู้สึกตัวก็มิใช่ ความไม่รู้สึกตัวก็มิใช่)

(๒) “อายตน” 

อ่านว่า อา-ยะ-ตะ-นะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ยตฺ (ธาตุ = พยายาม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: อา + ยตฺ = อายตฺ + ยุ > อน = อายตน (อา-ยะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ผู้ต้องการผลพยายาม” (ผู้ต้องการผลอันใดอันหนึ่ง ไปลงมือพยายามทำกิจเพื่อผลนั้นในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า “ที่เป็นที่ผู้ต้องการผลพยายาม”)

(2) อา (ผล)+ ตน (ธาตุ = ขยาย, แผ่ไป) + (อะ) ปัจจัย

: อาย + ตนฺ = อายตนฺ + = อายตน (อา-ยะ-ตะ-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายผลของตนไป” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “อายตน” ว่า อายตนะ, ที่อยู่, ที่เกิด, ที่ประชุม, เหตุ, บ่อเกิด, เทวาลัย, เจดีย์, ลัทธิ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “อายตน” ไว้ดังนี้ –

(1) stretch, extent, reach, compass, region; sphere, locus, place, spot; position, occasion (ระยะ, เขต, ปริมณฑล, ดินแดน, ถิ่น, สถานที่, จุด; ตำแหน่ง, โอกาส) 

(2) exertion, doing, working, practice, performance (ความพยามยาม, การกระทำ, การทำงาน, การปฏิบัติ, การประกอบ) 

(3) sphere of perception or sense in general, object of thought, sense-organ & object; relation, order (ขอบเขตของความเข้าใจหรือความรู้สึกโดยทั่วๆ ไป, สิ่งที่คิดถึง, สิ่งที่รับรู้ และธรรมารมณ์; ความสัมพันธ์, ลำดับ) 

ในที่นี้ “อายตน” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

อายตนะ : (คำนาม) เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).”

พึงทราบว่า ตามที่พจนานุกรมฯ บอกไว้นี้เป็นเพียงความหมายหนึ่งเท่านั้นของคำว่า “อายตน” ในบาลี

เนวสญฺญานาสญฺญา + อายตน = เนวสญฺญานาสญฺญายตน (เน-วะ-สัน-ยา-นา-สัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ) แปลว่า “ภูมิแห่งผู้บรรลุฌานกำหนดอารมณ์ว่ามีสัญญาก็หาไม่ ไม่มีสัญญาก็หาไม่” 

เนวสญฺญานาสญฺญายตน” ใช้ในภาษาไทยเป็น “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” (เน-วะ-สัน-ยา-นา-สัน-ยา-ยะ-ตะ-นะ) คำนี้ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายคำว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

เนวสัญญานาสัญญายตนะ : ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔

…………..

และที่คำว่า “อรูป” พจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ มีคำอธิบายดังนี้ –

…………..

อรูป : ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

…………..

เนวสัญญานาสัญญายตนะ” จัดอยู่ในภูมิที่เรียกว่า “อรูปาวจรภูมิ” ชั้นของพรหมผู้ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน คือที่เรียกรวมว่า “อรูปพรหม” และเป็นอรูปพรหมชั้นที่สี่อันเป็นชั้นสุดท้าย

ภูมิของอรูปพรหมมี 4 ระดับ คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

และเป็นอันว่า “โลกิยภูมิ” อันประกอบด้วยกามาวจรภูมิ 11 (คือ อบายภูมิ 4 = นรก, กำเนิดดิรัจฉาน, แดนเปรต, อสุรกาย และกามสุคติภูมิ 7 = มนุษย์, จาตุมหาราชิกา, ดาวดึงส์, ยามา, ดุสิต, นิมมานรดี, ปรนิมมิตวสวัตดี) รูปาวจรภูมิ 16 (คือรูปพรหม 16 ชั้น) และอรูปาวจรภูมิ 4 (คืออรูปพรหม 4 ชั้น) ก็หมดลงเพียงนี้ 

ต่อจากนี้ก็เป็น “โลกุตตรภูมิ” คือภูมิแห่งอริยบุคคล 4 คู่ 8 จำพวก มีโสดาบันเป็นต้น มีพระอรหันต์เป็นที่สุด

พึงทราบว่า “โลกิยภูมิ” มีทั้ง “ภูมิ” คือระดับจิต และ “ภพ” คือที่ไปเกิด ส่วน “โลกุตตรภูมิ” มีแต่ “ภูมิ” คือระดับจิต แต่ไม่มี “ภพ” คือโลกที่อยู่ของชีวิต

…………..

ดูก่อนภราดา!

อะไรเอ่ย

: ไม่ยึดไว้ก็ไม่ได้ ถ้ายังอยู่ในสังสารวัฏ

: ไม่ปล่อยไปก็ไม่ได้ ถ้าไม่อยู่ในสังสารวัฏ

#บาลีวันละคำ (3,533)

13-2-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *